ผมเชื่อว่าการมีเว็บไซต์เดียวนี้เป็นเรื่องที่ง่ายมาก เพราะเดียวนี้มีทั้งบริการ Blog หรือเว็บไซต์สำเร็จรูปเต็มไปหมด แต่จุดที่น่าสนใจคือ จะมีสักกี่คนที่ทำเว็บขึ้นแล้วมาแล้วประสบความสำเร็จ และเช่นกันการ ปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้เว็บประสบความสำเร็จได้ คือ คุณต้องรู้และสามารถวัดผลได้ว่าเว็บไซต์ที่คุณทำไปแล้วนั้น จะมีเป้าหมายที่ชัดเจน และวิธีการในการวัดผลนั้นได้ วันนี้เรามาลองดูกันว่า ในรูปแบบของการวัดผลของเว็บไซต์จะมีวิธีการ และรูปแบบการวัดยังไงบ้าง
การวัดผลด้านธุรกิจ (Business metrics)
***************************************************************************************************************
การวัดผลการทำธุรกิจบนเว็บไซต์ สามารถวัดผลได้ไม่ยาก โดยเราสามารถเก็บข้อมูล และนำข้อมูลที่ได้จากเว็บไซต์มาวิเคราะห์ว่าการทำธุรกิจหรือการค้าของเราได้ผลเป็นยังไงบ้าง โดยการดูมีหลายๆ ข้อได้แก่
- ผลตอบแทนจากการลงทุน ROI (Return on Investment)
เป็นการคำนวนทางการเงินง่ายๆ เพื่อดูว่า การลงทุนทำธุรกิจไปแล้วเราคุ้มหรือไม่ หลายๆ คนเค้ามักจะดูค่า ROI กันครับ ROI คือการ เอา กำไรสุทธิ หารด้วย เงินลงทุนทั้งหมด นั่นเอง แล้ว x 100 ได้เป็น % ออกมาROI = (Net Profit / Cost) x 100
เช่น ขายสินค้าราคา 100 บาท ได้ 1 ชิ้น ต้นทุน 80 บาท แสดงว่าจะได้กำไร 100-80=20 บาท
ROI = (20/80)x100
ROI = 25%แต่ถ้า ROI ติดลบแสดงว่า ขายทุนครับ ROI ยิ่งเยอะ แสดงว่ากำไรเยอะครับ อิอิ
- ยอดขาย (Sales)
วิธีการที่ง่ายที่สุดคือการดู "ยอดขาย" หากธุรกิจคุณมียอดขายมาก นั้นก็หมายความว่า ธุรกิจเว็บไซต์คุณกำลังดำเนินไปได้ด้วยดี แต่จริงๆ แล้วการดูแต่ยอดขายอย่างเดียวอาจจะไม่สะท้อนผลประกอบการ หรือการทำงานมากนักเท่าไร เพราะ หาก "ยอดขายเยอะ" แต่ปรากฏว่า "ต้นทุน (Cost)" เยอะตามด้วย อาจจะส่งผลให้ ภาพรวมของธุรกิจของคุณติดลบ หรือขาดทุนได้เช่นกัน - โอกาสการขาย (Leads)
บางครั้งเว็บไซต์ของคุณอาจจะไม่ได้ขายของ ดังนั้นการวัดผลด้วยยอดขายอาจจะไม่สามารถทำได้ ดังนั้นบางเว็บไซต์ ก็อาจจะวัดผลด้วยการได้ "โอกาสการขาย" หรือ "รายชื่อคนทีน่าจะเป็นลูกค้า" (Leads) ว่ามีเข้ามามากน้อยแค่ไหน ซึ่ง Leads นั้นมีโอกาสสามารถเปลี่ยนไปเป็น "ยอดขาย" ได้ - การแปลงหน่วยวัด (Conversions)
การดูอัตราการเปลี่ยนแปลงจาก ผู้ชม (Visitor) ไปเป็น ลูกค้า (Customer) ว่าจะตัวเลขและอัตราที่เท่าไร หากเป็นในรูปแบบของการค้าขายผ่านเว็บไซต์ Conversion Rate คือ อัตราส่วนการซื้อ ต่อจำนวนคลิกConversion Rate = (Number of sales / Number of Clicks) x 100
เช่น จาก 100 คนคลิกเข้ามา มีคนซื้อ 5 คน แสดงว่า Conversion Rate = 5% ถ้า Conversion Rate ยิ่งเยอะยิ่งดีครับ
- จำนวนผู้สมัคร (Subscribers)
บางเว็บไซต์ใช้จำนวนผู้สมัครเข้ามาเป็นสมาชิกในเว็บไซต์ เป็นตัววัดผลว่า เว็บไซต์นี้ได้ผลมากน้อยแค่ไหน ส่วนใหญ่จะไม่ใช่กับเว็บไซต์ E-Commerce หรือเว็บค้าขาย (เพราะมักจะวัดจากยอดขายมากกว่า) ซึ่งการมี จำนวนสมาชิกเป็นสมาชิกเป็นจำนวนมาก นั้นหมายถึง เว็บไซต์นั้นจะมีมูลค่ามากขึ้น จากจำนวนคนที่เข้ามา และฐานข้อมูลลูกค้าที่มีอยู่ บางครั้งใช้เป็นการวัดจำนวน email ที่มีสมัครเข้ามาในแคมเปญ หรือบางครั้งจะวัดจากจำนวนคนที่รับ Feed RSS ว่ามีจำนวนมากเท่าไร
การวัดผลด้านการใช้งานเว็บไซต์ (Usability metrics)
***************************************************************************************************************
สำหรับการออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ให้คนเข้ามาใช้งาน บางครั้งเราไม่สามารถใช้วิธีการวัดผลในเชิงธุรกิจได้ เพราะบางครั้งเว็บไซต์บางเว็บ ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อสำหรับการค้า แต่เราจะมีวิธีการวัดผลอย่างไรบ้าง เพื่อให้รู้ถึงผลลัพย์ของการทำงานของเรา
ตัวอย่างของการเก็บสถิติการเข้าและใช้งานเว็บไซต์ (ของ Truehits.net)
- คนที่กลับมาที่เว็บไซต์อีกครั้ง (Returning visitors)
ในอินเทอร์เน็ต คุณสามารถวัดผลและทราบได้ว่า เว็บไซต์ของคุณมี "คนที่เคยมาที่เว็บไซต์ของคุณแล้ว" กลับมาอีกครั้งหรือเปล่า ด้วยเทคโนโลยีการใช้ "คุกกี้ (Cookie)" และการใช้เครื่องมือวัดผล-เก็บสถิติเว็บไซต์ ก็จะทำให้คุณสามารถรู้ได้ทันทีไม่ยาก ซึ่งหากลูกค้ากลับมาบ่อย มากเท่าไร นั้นหมายถึงเว็บไซต์ของคุณ มีความน่าสนใจ ที่ดึงดูดลูกค้าเก่าให้กลับมาได้ เช่นคุณมีคนเข้าเว็บไซต์วันละ 1000 คน (UIP) มีลูกค้าเก่า 50 คน นั้นหมายถึง Returning Visitors = 5%
- จำนวนหน้าต่อการเปิดดูต่อคน (Pageviews per visit)
เป็นการวัดผู้ที่เข้ามาเว็บไซต์ของคุณต่อครั้งว่า เค้าเปิดหน้าเว็บไซต์กี่หน้า (Pageview) เพราะยิ่งจำนวนหน้าเยอะ แสดงว่าเว็บไซต์คุณมีคนชื่นชอบมาก - การใช้เวลาต่อหน้า (Time on page)
เป็นการวัดว่า ผู้ที่เข้ามาเว็บไซต์ใช้เวลาในการเปิดหน้าเว็บไซต์ของคุณ ต่อหน้านานเท่าไร ทั้งนี้และทั้งนั้นมันขึ้นอยู่กับรูปแบบของเว็บไซต์ด้วย เช่นเว็บไซต์ข่าว อาจจะมีการใช้เวลาต่อหน้านาน เพราะคนต้องใช้เวลาอ่านนาน แต่หากเป็นเว็บบอร์ดหรือเว็บที่ไม่ค่อยมีข้อมูลเท่าไร คนก็จะใช้เวลาต่อหน้าน้อยลงเท่านั้น - เวลาที่ใช้ในเว็บไซต์ (Time on site)
เป็นช่วงเวลาทั้งหมดที่ต่อผู้ใช้ 1 คนใช้เวลาในเว็บไซต์คุณ โดยทั่วไปยิ่งนานเท่าไรยิ่งดี แต่ส่วนใหญ่แล้วเวลาทั่วไปที่คนส่วนใหญ่จะใช้อยู่ในเว็บไซต์ 1 เว็บประมาณ 5 นาที หรือบางเว็บก็ประมาณ 30 วินาที - อัตราการออกนอกเว็บ (Bounce rate)
อัตราการออกนอกเว็บ (Bounce rate) คือค่าเปอร์เซนต์ ของคนที่เข้ามาในเว็บไซต์แค่หน้าเดียว แล้วเค้าออกจากหน้านั้นไปทันที ไม่ได้กดเข้าไปหน้าอื่นๆ ต่อ ซึ่งมันจะหมายถึงคุณภาพของเว็บไซต์ หรือเว็บไซต์ของคุณอาจจะไม่ตรงกับความต้องการของผู้ที่เข้ามา ทำให้เค้ากดออกไป หรือปิดหน้าเว็บไซต์นั้นๆ ดังนั้นการทำหน้าเว็บไซต์ที่น่าสนใจ ดึงดูดคนจะทำให้อัตราการออกนอกเว็บ ลดน้อยลง ยกตัวอย่างเช่น เว็บไซต์คุณมีคนเข้ามาเว็บไซต์ คุณวันละ 10,000 คน แล้วพบกว่ามีอัตรา การออกนอกเว็บ (Bounce rate) 95% น้นหมายถึง คุณจะมีคนที่เข้ามาเว็บไซต์คุณจริงๆ แค่ 500 คนเท่านั้น - การเลิกซื้อของระหว่างทาง (Form/shopping cart abandonment rate)
จากการทำเซอร์เวย์ของ Bizrate และ NPD group พบกว่า คนซื้อของออนไลน์ส่วนใหญ่จะยกเลิกการซื้อของระหว่างออนไลน์อยู่ถึง 75% วิธีการง่ายๆ ที่จะเช็กว่าคนเลิกซื้อของระหว่างทาง โดยติดตั้งระบบตรวจสอบ เมื่อมีคนกดเข้ามาที่ฟอร์ม ก็เริ่มบันทึกเลย และตรวจสอบว่าฟอร์มแต่ละฟอร์ม มีการซื้อของจนจบหรือไม่ ถ้าจบก็จะมีการยืนยัน เท่านี้คุณก็จะทราบตัวเลขนี้ได้ไม่ยากแล้ว - Links clicked (heat maps)
การศึกษาดูว่าผู้ที่เข้าที่เว็บไซต์ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการคลิกตรงไหนบ้างในหน้าเว็บไซต์ของคุณ ดูจะเป็นสิ่งหนึ่งที่คุณสามารถรู้ได้ไม่ยากเลย ซึ่งบริการ Heat Maps หรือ แผนที่วัดความร้อน หรือจุดไหนที่คนนิยมคลิก (ส่วนไหนคลิกคลิกเยอะก็มีสีเข้ม) ทำให้คุณรู้ได้ว่า ในหน้าเว็บไซต์ ส่วนไหนของหน้าเว็บคนนิยมคลิก ทำให้คุณสามารถและวางตำแหน่งที่ถูกต้องและเหมาะสมกับผู้ใช้เว็บได้
ดูตัวอย่าง Heat Map ได้ที่
– http://truehits.net/clickmap/help.php
– http://www.fusestats.com/heatmaps.cfmภาพตัวอย่าง Heat Map ของเว็บแห่งหนึ่ง
- การวัดจากการมองบ่อย (Eyetracking)
บางครั้งคุณอาจจะไม่ต้องการคน "คลิก" ในหน้าเว็บไซต์ของคุณก็ได้ คุณอาจจะต้องการ "การมอง" หรืออ่านมากกว่า แต่จะทำอย่างไรคุณถึงจะรู้ว่า ตำแหน่งไหนในหน้าเว็บไซต์ของคุณมีคนดูมากที่สุด ด้วยรูปแบบของ Eyetracking คือการตรวจสอบว่า ในหน้าเว็บไซต์ของคุณ ตำแหน่งไหนมีคนดูมากสุด โดยรูปแบบการแสดงผลจะคล้ายๆ Heat Maps (อ่านเพิ่มได้ที่ http://www.useit.com/eyetracking)
ตัวอย่างของหน้าเว็บที่ทำการศึกษาด้วย EyeTracking
การวัดผลด้าน SEO
***************************************************************************************************************
การวัดผลเชิง Search Engine Optimization หรือการปรับแต่งเว็บให้ติด Search Engine มากขึ้น มาดูกันว่าเค้าใช้อะไรเป็นตัววัดบ้าง
- จำนวนเว็บที่ลิงค์กลับหาเว็บคุณ (Backlinks)
การที่เว็บไซต์ของคุณมีเว็บไซต์อื่นทำลิงค์มาหาเว็บไซต์คุณ เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เว็บไซต์ของคุณมี มูลค่าทาง Search Engine มากขึ้น (ค่า Page Rank จะมีมากขึ้น) ซึ่งคุณสามารถเช็กว่าเว็บไซต์ของคุณมีเว็บไซต์ไหนบ้างลิงค์มาหาคุณ โดยเพียงแค่ใช้คำสั่ง link:domain.com ในช่องค้นหาของ Search Engine ได้เลย คุณก็จะสามารถรู้ได้ว่า มีเว็บไหนบ้างลิงค์มาหาคุณ และมีจำนวนเท่าไรตัวอย่างการเ็ช็กจำนวนเว็บว่ามีกี่เว็บลิงค์มาหาเรา จากตัวอย่างด้านล่างจะเห็นว่ามี 133 เว็บที่ลิงค์มาหาเรา
- คุณภาพของลิงค์ที่มาหาคุณ (Quality of backlinks)
การที่มีเว็บลิงค์มาหาคุณเยอะ นั้นอาจจะไม่ดีเท่า การมีเว็บดีๆ มีคุณภาพทำลิงค์มาหาเว็บไซต์ของคุณ ดังนั้น การมีลิงค์หรือแลกลิงค์จากเว็บที่มีค่า Page Rank สูงๆ จะส่งผลให้ ลิงค์ที่เข้ามาที่เว็บไซต์ของคุณมีคุณภาพมากขึ้นด้วย - วันที่ Google เก็บข้อมูลคุณไว้ (Google cache date)
คุณสามารถเช็กว่า Google เก็บหน้าเว็บไซต์ของคุณไว้นานเท่าไร แล้วง่ายๆ โดยเมื่อผลลัพย์การค้นหาเจอเว็บไซต์ของคุณ ให้กดที่ "หน้าที่ถูกเก็บไว้" หรือ "Cache" แล้วสังเกตุด้านบนของหน้าเว็บจะแสดงวันที่ๆ google เข้าไปเก็บข้อมูลจากเว็บไซต์ของคุณล่าสุด หากวันที่เก็บเกิน 1 เดือนนั้นหมายถึง google ไม่ค่อยได้เข้ามาในเว็บไซต์คุณเท่าไร ซึ่งหมายถึงการเปลี่ยนแปลงข้อมูลของเว็บไซต์คุณใน google ก็ต่ำลงตามด้วยภาพของการเก็บข้อมูลของหน้าเว็บเอาไว้ ดูจากภาพด้านล่างจะเห็นว่า google เก็บเว็บนี้วันที่ 3 ม.ค.2009 เวลา 6.58
- ความถี่ในการมาของ Google bot
Google Bot มาหาเว็บไซต์คุณบ่อยเท่าไร มาบ่อยดีไหม? คำตอบนี้ ต้องขึ้นอยู่กับรูปแบบของเว็บไซต์ของคุณ ว่ามีการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลบ่อยหรือไม่ ถ้าหากมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลในเว็บไซต์บ่อยๆ Google Bot ก็ควรมาบ่อยๆ แต่หากไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลง ก็ไม่จำเป็นให้ google bot มาบ่อยก็ได้ คุณสามารถสั่งให้ Google Bot มาบ่อยหรือไม่บ่อยได้ด้วยบริการ http://google.com/webmasters - หน้าที่ถูก Google indexed ไว้
ยิ่งมีจำนวนหน้ามากเท่าไร ที่ google ได้เก็บเอาไว้ (indexing) นั้นหมายถึงโอกาสที่คนจะค้นหาเจอเว็บไซต์ของคุณ ก็มีมากขึ้นเช่นกัน คุณสามารถเช็กได้ว่า google เก็บเว็บไซต์คุณไว้กี่หน้าแล้ว ด้วยคำสั่ง site:domain.comภาพของจำนวนหน้าเว็บที่ถูก google index เอาไว้ ในภาพด้านล่างจะเห็นว่า มี 7,470 เว็บ
- การเช็กอันดับเว็บใน Alexa.com และ Compete.com
การดูจากอันดับเว็บไซต์ของเรา หรือคู่แข่งอาจจะเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่คุณสามารถ "รู้ได้คร่าวๆ" ว่าคู่แข่งหรือเว็บไซต์ของคุณ อยู่อันดับที่เท่าไรในโลกนี้ รวมถึงมีคนเข้าและ page view เท่าไรผ่านบริการ ของ alexa.com หรือcompete.comได้เหมือนกัน
ตัวอย่างภาพของการเก็บข้อมุลโดย alexa.com
การวัดผลเว็บด้าน Social Media metrics
***************************************************************************************************************
สำหรับเว็บไซต์ที่เป็น Social Media การวัดผลสำหรับเว็บไซต์ประเภทนี้ ก็มีเครื่องมือและวิธีวัดผลที่น่าสนใจ และเป็นรูปแบบใหม่ที่สามารถนำมาวัดผลได้อย่างชัดเจน โดยวิธีการวัดผลของเว็บประเภทนี้ จะใช้วิธี เช่น
- การดูว่ามีการ bookmarks เว็บนี้ใน Social Bookmark เท่าไร?
ยิ่งมีเว็บไซต์ถูก bookmark ในเว็บบรรดา Social Bookmark ยิ่งมีมากเท่าไร นั้นหมายถึง เว็บไซต์เว็บไซต์เว็บนั้นเป็นที่น่าสนใจ และคน bookmark ไว้เป็นจำนวนมาก โดยเว็บประเภทนี้ได้แก่ delicious.com หรือ เป็นต้นภาพตัวอย่างของ delicious.com กับการ bookmark เว็บเอาไว้ที่นี่ แล share คนอื่นๆ ได้ทั่วโลก
- เว็บไซต์ถูก Submit ในเว็บ Social News
คล้ายๆ กับข้อเมื่อกี้ ยิ่งเว็บนั้นถูกใส่เข้าไปใน เว็บ Social News มากเท่าไรนั้นหมายถึงการเป็นรู้จักและมีคนลิงค์เข้ามาเราก็จะมีมากขึ้นเช่นกัน โดยตัวอย่างของเว็บ Social News ได้แก่ Digg.com, Reddit.com, Bloglines.com, Furl.com, propeller.com, Technorati.com, mixx.com - มีการพูดถึงใน Twitter
หากเว็บไซต์นั้นมีการพูดถึง หรือคุยกันใน Twitter.com ได้มากเท่าไร นั้นคือการบอกต่อ ปากต่อปาก Buzz & Viral Marketing อย่างดีเลย ยิ่งคนที่เอาเว็บนั้นไปพูดมีคน "ตาม (follow)" อยู่เยอะมากเท่าไรนั้นหมายการกระจายข้อความก็จะไปไกลได้มากเท่านั้น
ทั้งหมดนี้เป็นเพียงบางส่วนของ "การวัดผล" เว็บไซต์ในแต่ละรูปแบบ และแต่ละวิธีการ ซึ่งจะช่วยทำให้คุณสามารถวัดผล วางแผนงานการพัฒนา หรือดูแลเว็บไซต์ของคุณได้แล้วละครับ หากใครมีอะไรแนะเพิ่มเติมก็สามารถแนะนำได้เลยนะครับ