ช่วงเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมประเทศไทยในเดือน ตุลาคม 2545 นี้พบว่ากระทบกับคนไทยหลายๆ ทั้งเกือบครึ่งประเทศ และสิ่งที่น่าสนใจมากๆ คือ การสื่อสารของคนไทยเริ่มเปลี่ยนไป จากเดิมคอยแต่รับฟังข่าวสารผ่านทางทีวี วิทยุ หนังสือพิมพ์ แต่หลังจากเมื่อเราเริ่มมี Social Network มันเริ่มกลายเป็นช่องทางในการสื่อสาร เวลาเกิดเหตุการณ์สำคัญๆ เกิดขึ้น เพราะผู้คนต่างต้องการข้อมูลข่าวสารที่ "เร็ว" ตามทันเหตุการณ์ จะให้ไปนั่งรอฟังข่าวจากทีวีหรือวิทยุก็อาจจะไม่ได้มานั่งเฝ้าสื่อพวกนี้กันทั้งวัน ดังนั้นการติดตามข้อมูลข่าวสารที่รวดเร็วทันทีที่ข่าวหรือเหตุการณ์เกิดขึ้น ช่องทาง Social Network จึงเป็นช่องทางที่คนไทยเริ่มหันไปใช้ และสื่อสารผ่านช่องทางนี้กันมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะยิ่งความไม่่ตรงไปตรงมาของ รัฐบาลในการให้ข้อมูลทำให้การรับข้อมูลทางออนไลน์ ยิ่งได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
ผมเฝ้าสังเกตุจำนวนคนไทย ที่ส่งข้อความผ่านทวิตเตอร์ พบว่าก่อนหน้าเกิดเหตุการณ์น้ำท่วม คนไทยมีคนส่งข้อความผ่านทางทวิตเตอร์เฉลี่ยวันละ 1.5 ล้านข้อความ แต่ในภายหลังเกิดเหตุการณ์น้ำท่วม พบว่าจำนวนคนไทยส่งข้อความผ่านทางทวิตเตอร์เพิ่มขึ้นเป็น 2.2 ล้านข้อความ หรือเพิ่มถึง 47% จากช่วงเวลาปกติภายในไม่กี่วัน นับว่าเป็นอัตราการเพิ่มขึ้นที่รวดเร็วมาก ส่วนตัวผมเองใช้การค้นหาผ่านทางทวิตเตอร์เพื่อตรวจสอบดูว่า พื้นที่ในกรุงเทพที่ผมสนใจดูว่าน้ำท่วมแล้วหรือยัง จากการพูดคุยของคุณในทวิตเตอร์ ซึ่งเราจะได้ข้อมูลที่รวดเร็วกว่า เว็บไซต์ หนังสือพิมพ์ วิทยุ หรือ แม้แต่การค้นหาผ่าน กูเกิ้ลซึ่งส่วนใหญ่ข้อมูลจากกูเกิ้ลจะใช้เวลาหลายชั่วโมงหรือเป็นวันๆ เพื่อเก็บมูลจากเว็บต่างๆ เข้ามาในระบนให้คนค้นหาได้ นั้นหมายถึงข้อมูลน้นล้าหลังไปแล้ว ดังนั้นการค้นหาข้อมูลผ่านโซเชี่ยลเน็ตเวิรก์ เป็นการหาข้อมูลรวดเร็วยิ่งการวิธีการใดๆ เพราะเป็นการค้นหาแบบทันที (Real Time) ผ่านการพูดคุยและข้อมูลของคุณที่สื่อสารกัน ทำให้เราสามารถทราบถึงข้อมูลเหล่านั้นได้ทันที ภายในหลังจากเหตุการณ์ต่างๆ ได้เกิดขึ้นไปเพียงไม่กี่นาที แต่ก็ต้องใช้วิจารณญานให้มากๆ ในการรับ บอกต่อด้วย เพราะมันเป็นสื่อที่มีข่าวลือเกิดขึ้นได้มากมายเช่นเดียวกัน
กราฟอัตราการเพิ่มขึ้นของคนไทยที่ส่งข้อความและจำนวนคนใช้
และผมยังได้ศึกษาต่อถึงพฤติกรรมคนไทยที่ใช้ทวิตเตอร์พบข้อมูลการเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงเวลา 1 ปีที่ผ่านมา เป็นการเก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนตุลาคม 2553 (ปีก่อน) พบว่าคนไทยใช้ทวิตเตอร์วันละประมาณ 38,500 คน เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนตุลาคม 2554 มีคนใช้ทวิตเตอร์มากขึ้น 122,778 คน โตขึ้นมากถึง 257.94% จากปีก่อนเลยทีเดียว และยังพบว่าคนไทยส่งข้อความผ่านทวิตเตอร์ 376,761 ข้อความ/วัน เมื่อเดือนตุลาคม 2553 แต่เดือนตุลาคม 2554 คนไทยทวีตเพิ่มมากขึ้นถึง 2,205,706 ข้อความ/วัน โตมากขึ้น 571% ทำให้ตัวเลขอัตราเฉลี่ยคนไทยเฉลี่ยส่งข้อความผ่านทวิตเตอร์ 10 ข้อความ/คน/วันในเดือนตุลา 53 เพิ่มเป็น 18 ข้อความ/คน/วัน เพิ่มขึ้น 87.64% ในตุลาคม 2554
และสิ่งที่น่าสนใจของโลกโซเชียลเน็ตเวิรก์ในช่วงน้ำท่วมอีกอย่างหนึ่ง จากเหตุการณ์ที่ คุณศศิน เฉลิมลาภ เลขามูลนิธิสืบ นาคะเสถียร ออกมาวิเคราะห์เเนวทางการจัดน้ำท่วมกรุงเทพ ผ่านทางยูทูป (Youtube) จากผู้ชายคนนึงที่คนทั่วประเทศแทบจะไม่รู้จัก กลายเป็นคนที่คนทั่วประเทศต่างให้ความสนใจจากการวิเคราะห์ข้อมูลเรื่องน้ำท่วมของคุณศศินผ่านช่องทางอินเทอร์เน็ต ทำให้จำนวนคนดูคลิปของคุณศศินมีมากมายหลายล้านคนภายในเวลาไม่กี่วัน (ตัวเลขคนดูจากหลายๆคลิปรวมกัน) ซึ่งส่งผลทำให้แนวความคิดของคุณศศิน เข้าถึงต่อคนไทยจำนวนมาก ซึ่งส่งผลให้คุณศศินเข้าไปมีบทบาทในสื่ออื่นๆ ทั้งทีวี วิทยุ หนังสือพิมพ์ และต้องยอมรับว่ามีผลต่อการแก้ปัญหาการเหตุการณ์น้ำท่วมประเทศไทยครั้งนี้ด้วยเช่นกัน นอกจากนี้จำนวนคนที่เข้าไปติดตามใน เฟซบุ๊คของคุณศศิน เพิ่มขึ้นมาอย่ารวดเร็ซเพียงเวลาไม่กี่วันคนเข้าติดต่อมากมากถึง 2 หมื่นกว่าคนแล้ว พร้อมกับข้อความให้กำลังใจ สนับสนุน แสดงความคิดเห็นผ่านช่องทางนี้ด้วย

ต้องยอมรับว่า การรับรู้ข่าวสารของเมืองไทยผ่านทางโซเซียลเน็ตเวิรก์ กำลังเริ่มได้รับความนิยมอย่างจาก จากเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย หลายคนต่างยอมรับว่า เป็นแหล่งข้อมูลที่ สด ด่วน รวดเร็ว ดังนั้นการปรับตัวของคนไทยกับสื่อๆ นี้กำลังจะเริ่มมีให้เห็นอย่ากมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง แล้วคุณละเริ่มรับข่าวสารผ่านช่องทางโซเชี่ยลเน็ตเวิรก์แล้วหรือยัง แต่อย่างเพิ่งไปเชื่อมันหมดละ ชั่งใจไว้นิด ก่อนจะติดสินใจอะไรครับ
Like this:
ถูกใจ กำลังโหลด...
Related