เดียวนี้หลายคนชอบซื้อสินค้าออนไลน์ กันเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะกระแสการเลือกซื้อตุ๊กตาเฟอร์บี้ทางออนไลน์ หรือโซเชี่ยลมีเดีย เพราะว่าถูกกว่า เร็วกว่า และหาซื้อที่อื่นไม่ได้แล้ว จึงเป็นช่องทางที่หลายๆ อยากจะสั่งซื้อกัน แต่หลายคนก็ยังกังวล และไม่ค่อยมั่นใจกับเว็บไซต์ หรือคนที่ขายผ่านทางโซเชี่ยลมีเดีย อย่าง เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ หรือ อินสตาร์แกรม ว่างหากคุณซื้อไปแล้วและจ่ายเงินไปแล้ว คุณจะได้สินค้าหรือไม่ วันนี้ผมมีเทคนิคในการเลือกซื้อทางออนไลน์ เพื่อทำให้คุณมั่นใจมากขึ้น
A.) เช็กจากเว็บไซต์ร้านค้า
- หากซื้อสินค้าผ่านทาง Instagram หรือ Facebook, Social Network ควรจะขอ Facebook หรือ Social Network ของเจ้าของจริงๆ เพื่อยืนยันการมีตัวตนของผู้ที่ขาย นอกเหนือจากแอคเค้าที่เค้าใช้ขายของ
- หากเค้ามีเว็บไซต์ เช็กชื่อเว็บไซต์ว่าน่าเชื่อถือหรือเปล่า พวกชื่อเว็บทีลงท้ายด้วย .cc ค่อนข้างน่ากลัวเพราะเป็นชื่อโดเมนที่แจกฟรี และเช็กชื่อเว็บว่าชื่อเว็บนี้จดหรือตั้งมานานแล้วหรือยัง สำหรับ .com เช็กได้ที่ http://dawhois.com สำหรับชื่อเว็บที่ลงท้ายด้วย .th เช็กได้ที่ http://thnic.co.th/whois หากเว็บที่เปิดมานานแล้ว เกิน 6 เดือนขึ้นไป ก็จะมีความน่าเชื่อมากกว่าเว็บที่เพิ่งเปิดมาเพียงไม่กี่เดือน (ส่วนใหญ่เว็บที่หลอกลวงจะเปิดได้ในช่วงเวลาสั้นๆ)
- หากเป็นผู้ที่ขายกับผู้ให้บริการที่มีชื่อเสียงก็จะมีความน่าเชื่อถือระดับนึง เพราะผู้ให้บริการจะมีการตรวจสอบร้านค้ามาก่อน เช่น http://ชื่อร้าน.tarad.com หากจะตรวจสอบก็ติดต่อกับผู้บริการได้เลย เพื่อตรวจสอบข้อมูลเจ้าของร้าน
- เช็กการพูดคุยและโต้ตอบกันก่อนหน้านี้ ของผู้ขายหรือเว็บนั้นๆ ดูว่ามีคนเข้าไปเขียนตอบอะไรบ้าง อัตราการโต้ตอบในเว็บหรือโซเชี่ยลมีเดียเร็วแค่ไหน หรือกระทู้ล่าสุดที่่ตอบคือเมื่อวันไหน? เพราะหากคำถามถูกทิ้งไม่ได้ตอบไว้นาน หรือในอาจจะมีแต่คนเข้าไปด่า แบบนี้ก็อย่าไปซื้อกับเว็บหรือคนๆ นั้นเลยครับ และต้องเช็กว่ามีผู้เคยได้รับสินค้าแล้วหรือยังด้วย เพราะจะสามารถตรวจสอบตัวตนของเจ้าของนั้นได้ (ระวัง Account ที่เพิ่งสร้างขึ้นมาใหม่ๆ)
- ตรวจสอบดูความใหม่ของสินค้าหน้าเว็บไซต์ และการอัพเดทเว็บไซต์ หากเว็บไซต์มีการอัพเดทเป็นประจำ เช่นมีสินค้าใหม่ๆ, มีการเปลี่ยนแปลงโปรโมชั่น การแปลี่ยนแปลงข่าวสารหน้าเว็บเป็นประจำ ก็แสดงให้เห็นว่าเจ้าของร้านดูแลหน้าเว็บไซต์เป็นประจำ ทำให้เรามั่นใจได้มากขึ้น
- ดูว่ามีลูกค้าที่เคยซื้อสินค้ากับร้านนี้หรือไม่ ลองเช็กได้ทางเว็บบอร์ดของทางร้าน (หากมี) หรือลอง email ติดต่อไปหาคนที่เคยซื้อไป ว่าบริการของร้านค้าเป็นอย่างไรบ้าง เราจะได้มั่นใจมากขึ้น
- ต้องระวังหากสินค้ารายการนั้นมีราคาถูกมากจนเกินไป (แบบไม่น่าเชื่อ) ต้องระวังให้ดี และยิ่งหากข้อสังเกตุตามข้อที่ผ่านมา ไม่ครบถ้วนในการตรวจสอบ ก็อาจจะเข้าข่ายน่ากลัวได้เช่นกัน
B.) ตรวจสอบข้อมูลของเจ้าของเว็บไซต์ร้านค้า
- เบอร์ติดต่อของร้านค้าที่ หากมีเบอร์ที่เป็น 02 หรือ เบอร์บ้านจะมีความน่าเชื่อถือมากกว่า เพราะมีที่อยู่หลักแหล่งแน่นอน
- ในเว็บไซต์ควรมีที่อยู่ของธุรกิจแสดงอยู่ เพื่อบ่งบอกว่าร้านค้าหรือเจ้าของร้านอยู่ที่ไหน จะดีกว่าเว็บไซต์ที่ไม่แสดงข้อมูลที่อยู่จริงๆ
- ดูว่ามี ชื่อจริง นามสกุลจริง ของเจ้าของร้านแสดงอยู่ไหม หากมีชื่อจริง หรือเลขบัญชีธนาคารที่เราต้องจ่ายเงินไปให้ ลองใช้ชื่อเหล่านั้นค้นหาตรวจสอบใน Google ก่อนว่ามีประวัติอย่างไรมาบ้าง เพราะหากเป็นชื่อหรือบัญชีที่เคยโกงมาก่อน ก็อาจจะเจอคนอื่นๆ มาพูดถึงหรือบ่นถึงไว้ในที่อื่นๆ เช่นกัน
- หากเว็บไซต์นั้นๆ มีการจดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจ กระทรวงพาณิชย์ก็จะน่าเชื่อถือมากขึ้น เช็กและตรวจสอบได้ที่ http://www.dbd.go.th/edirectory
C.) การซื้อและชำระสินค้า
- ชำระเงินด้วยบัตรเครดิต (หากร้านค้ารองรับ) เพราะหากมีปัญหา เราสามารถดึงเงินกลับได้เพราะเป็นชำระเงินแบบ “เครดิต” ซึ่งแตกต่างกับการจ่ายเงินสด หรือโอนเงิน เพราะหากจ่ายไปแล้ว แล้วผู้ขายเอาเงินออกไป ก็ยากที่จะไปเอาเงินคืน
คำแนะนำอื่นๆ
- หากยังไม่มั่นใจกับเว็บไซต์เว็บน้ัน ให้ลองซื้อของชิ้นที่ราคาถูกๆ ไปก่อน หากบริการดีและน่าเชื่อถือ แล้วค่อยเพิ่มจำนวนการซื้อหรือราคาของสินค้าเพิ่มมากขึ้น
- ลองถามชื่อเว็บไซต์กับคนอื่นๆ ที่เค้าอาจจะเคยซื้อ หรือรู้จักร้านนี้มาก่อน เช่นตามเว็บบอร์ดต่างๆ
- เดียวนี้การซื้อสินค้ากับ ช้อปปิ้งมอลล์ออนไลน์ ที่ภายในมีร้านค้ามากมายอยู่ และมีการการันตี ว่าคุณจะได้ของแน่นอน หากไม่ได้ทางเว็บไซต์ช้อปปิ้งมอลล์ จะคืนเงินให้กับคุณ ทำให้คุณมั่นใจได้มากขึ้น ตัวอย่างเช่น TARAD.com การันตี “มั่นใจได้ของชัวร์” หากไม่ได้ของ TARAD.com ยินดีจ่ายเงินคืนคุณสูงสุด 5 หมื่นบาทเลยทีเดียว
คำแนะนำการซื้อสินค้าทางออนไลน์อย่างไรให้มั่นใจ
- หากเจอสินค้าที่ราคาถูกกว่าราคาท้องตลาดมากๆจนผิดสังเกตุให้ตรวจสอบกับผู้ซื้อให้มั่นใจเสียก่อนอย่าโลภเห็นของถูกจนโอนเงินไปให้ก่อนผู้ร้ายมักตั้งราคาสินค้าให้ถูกกว่าท้องตลาดเพื่อโน้นน้าวให้คุณสนใจและซื้อ
- หลีกเลี่ยงการจ่ายเงินจำนวนมากๆ ให้กับคนที่เราไม่เคยซื้อของด้วยมาก่อน หากต้องการทำจริง ขอให้ไปเจอหน้า แล้วมอบเงินให้กันดีกว่า (ส่วนใหญ่ ผู้ร้ายมักหลีกเลี่ยงการพบหน้ากันจริงๆ จะมีเทคนิคการโน้มน้าวให้คุณโอนเงินไปให้ก่อน ระวัง)
- เมื่อพบหน้า (หากได้พบจริงๆ) ขอเอกสารยืนยันการซื้อ หรือติดต่อ เช่น สำเนาบัตรประชาชน หรือเอกสารยืนยันการซื้อสินค้า หรือขอถ่ายภาพของเค้าเอาไว้
- ลองสั่งซื้อของจำนวนน้อยๆ ก่อน เพื่อสร้างความมั่นใจว่า ผู้ค้าคนนั้น ส่งของจริง และมีตัวตนจริงๆ (หากเป็นคนโกง เค้าจะพยายามให้คุณสั่งของทีละมากๆ ระวังเอาไว้)
- อย่าไว้ใจแค่ social network ของผู้ขาย เพราะบางคนมีหลายแอ็คเค้า พยายามขอแอ็คเค้าจริงๆ ที่เค้าใช้ ที่สามารถเห็น เพื่อนๆ และพฤติกรรมของเค้าจริงๆ ได้ (หากเค้าจริงใจ เค้าต้องให้)
- ดูว่ามี ชื่อจริง นามสกุลจริง ของเจ้าของร้านแสดงอยู่ไหม หากมีชื่อจริง หรือเลขบัญชีธนาคารที่เราต้องจ่ายเงินไปให้ ลองใช้ชื่อเหล่านั้นค้นหาตรวจสอบใน Google ก่อนว่ามีประวัติอย่างไรมาบ้าง เพราะหากเป็นชื่อหรือบัญชีที่เคยโกงมาก่อน ก็อาจจะเจอคนอื่นๆ มาพูดถึงหรือบ่นถึงไว้ในที่อื่นๆ เช่นกัน หากเป็นบัญชีธนาคารในรูปแบบบริษัทหรือนิติบุคคล ก็จะมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น
- ตรวจสอบชื่อเว็บไซต์ ว่าชื่อเว็บนี้จดหรือตั้งมานานแล้วหรือยัง สำหรับ .com เช็กได้ที่ http://dawhois.com สำหรับชื่อเว็บที่ลงท้ายด้วย .th เช็กได้ที่ http://thnic.co.th/whois หากเว็บที่เปิดมานานแล้ว เกิน 6 เดือนขึ้นไป ก็จะมีความน่าเชื่อมากกว่าเว็บที่เพิ่งเปิดมาเพียงไม่กี่เดือน (ส่วนใหญ่เว็บที่หลอกลวงจะเปิดได้ในช่วงเวลาสั้นๆ)
- หากเป็นผู้ที่ขายกับผู้ให้บริการที่มีชื่อเสียงก็จะมีความน่าเชื่อถือระดับนึง เพราะผู้ให้บริการจะมีการตรวจสอบร้านค้ามาก่อน
- เช็กการพูดคุยและโต้ตอบกันก่อนหน้านี้ ของผู้ขายหรือเว็บนั้นๆ เช่นในเว็บบอร์ด หรือโซเชี่ยลมีเดีย ดูว่ามีคนเข้าไปเขียนตอบอะไรบ้าง หรือกระทู้ล่าสุดที่่ตอบคือเมื่อวันไหน? เพราะหากคำถามถูกทิ้งไม่ได้ตอบไว้นาน และต้องเช็กว่ามีผู้เคยได้รับสินค้าแล้วหรือยังด้วย เพราะจะสามารถตรวจสอบตัวตนของเจ้าของนั้นได้ (ระวัง Account ที่เพิ่งสร้างขึ้นมาใหม่ๆ)
- ตรวจสอบดูความใหม่ของสินค้าหน้าเว็บไซต์ และการอัพเดทเว็บไซต์ หากเว็บไซต์มีการอัพเดทเป็นประจำ เช่นมีสินค้าใหม่ๆ, มีการเปลี่ยนแปลงโปรโมชั่น การแปลี่ยนแปลงข่าวสารหน้าเว็บเป็นประจำ ก็แสดงให้เห็นว่าเจ้าของร้านดูแลหน้าเว็บไซต์เป็นประจำ ทำให้เรามั่นใจได้มากขึ้น
- ดูว่ามีลูกค้าที่เคยซื้อสินค้ากับร้านนี้หรือไม่ ลองเช็กได้ทางเว็บบอร์ดของทางร้าน (หากมี) หรือลอง email ติดต่อไปหาคนที่เคยซื้อไป ว่าบริการของร้านค้าเป็นอย่างไรบ้าง เราจะได้มั่นใจมากขึ้น
- เช็กเบอร์ติดต่อของร้านค้าที่ หากมีเบอร์ที่เป็น 02 หรือ เบอร์บ้านจะมีความน่าเชื่อถือมากกว่า เพราะมีที่อยู่หลักแหล่งแน่นอน ในเว็บไซต์ควรมีที่อยู่ของธุรกิจแสดงอยู่ เพื่อบ่งบอกว่าร้านค้าหรือเจ้าของร้านอยู่ที่ไหน จะดีกว่าเว็บไซต์ที่ไม่แสดงข้อมูลที่อยู่จริง ๆ
- หากเว็บไซต์นั้นๆ มีการจดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจ กระทรวงพาณิชย์ก็จะน่าเชื่อถือมากขึ้น เช็กและตรวจสอบได้ที่http://www.dbd.go.th/edirectory
- ชำระเงินด้วยบัตรเครดิต (หากร้านค้ารองรับ) เพราะหากมีปัญหา เราสามารถดึงเงินกลับได้เพราะเป็นชำระเงินแบบ “เครดิต” ซึ่งแตกต่างกับการจ่ายเงินสด หรือโอนเงิน เพราะหากจ่ายไปแล้ว แล้วผู้ขายเอาเงินออกไป ก็ยากที่จะไปเอาเงินคืน
คำแนะนำสำหรับผู้ประกอบการค้าออนไลน์ ในการสร้างความมั่นใจให้กับผู้ซื้อ
- ออกแบบหน้าร้านออนไลน์ของท่านให้ดูเป็นมืออาชีพ แสดงที่อยู่ติดต่อชัดเจน ส่วนใหญ่จะมีหน้าเว็บไซต์ที่เรียกว่า “ติดต่อเรา” หรือ ‘contact us’ มีแผนที่ พร้อมเบอร์โทรศัพท์ ถ้ามีเบอร์โทรศัพท์พื้นฐาน (เบอร์บ้าน) จะแสดงถึงการมีหลักแหล่งที่อยู่ที่น่าเชื่อถือมากขึ้น
- ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการที่มากเพียงพอ ทั้งข้อมูลและรูป แสดงราคาที่ชัดเจน ตั้งราคาอย่างมีเหตุผล ถ้าราคาต่ำมากกว่าท้องตลาดแม้จะเป็นสินค้าเดียวกัน ต้องมีการอธิบายที่เหมาะสม
- มีหน้าแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับผู้ขายให้มากขึ้นอีกด้วยหน้าเว็บไซต์ที่เรียกว่า “เกี่ยวกับเรา” ให้แสดงประวัติความเป็นมาของผู้ขาย เช่น รูปร้านค้า offline (ถ้ามี) ประวัติการทำธุรกิจพร้อมรูปในอดีตถึงปัจจุบัน (ถ้ามี) พร้อมทั้งแสดงเครื่องหมายการรับรองจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของท่าน (Certificated) เช่น เครื่องหมายแสดงความเป็นสมาชิกของสมาคม ชมรมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจของท่าน เช่น เป็นสมาชิกลำดับที่ a ของสมาคมโรงแรมไทย เป็นต้น
- ในข้อมูล เกี่ยวกับเรา สามารถแสดง ภาพออฟฟิศ ทีมงาน ผู้บริหาร พนักงาน เพื่อแสดงให้เห็นถึงความมีตัวตนอยู่จริงของธุรกิจออนไลน์นั้น ๆ
- จดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าซึ่งจะได้เครื่องหมายรับรอง Registered และ Verified ตามลำดับขั้น
- ให้ข้อมูลตัวอย่างลูกค้าที่มาใช้บริการ โดยคัดเลือกลูกค้าที่ได้รับความเชื่อถือยอมรับ มีชื่อเสียงทั่วไปมาแสดง(ถ้ามี) หรือเป็นข้อคิดเห็น บทสัมภาษณ์จากลูกค้าทั่วไปที่ให้ความเห็นเกี่ยวกับท่านอย่างเป็นความจริง ดูน่าเชื่อถือ แสดงรูป ชื่อ หรือองค์กร ของผู้ให้สัมภาษณ์อย่างชัดเจน(ถ้ามี)
- มีเงื่อนไขและนโยบายการใช้บริการที่ชัดเจน เช่น นโยบายการเปลี่ยนคืนสินค้า นโยบายการคืนเงิน นโยบายการจัดการกรณีสินค้าชำรุดระหว่างการจัดส่ง นโยบายการจัดการกรณีไม่ได้รับความพึงพอใจจากการใช้สินค้า ฯลฯ ผู้ประกอบการออนไลน์ที่มีการแสดงเงื่อนไขและนโยบายต่างๆ เหล่านี้ จะแสดงถึงความจริงจังในการทำธุรกิจและการบริหารจัดการกับลูกค้าจำนวนมากตลอดระยะเวลาที่ยาวนาน
- หากมี บัญชีธนาคารในรูปแบบบริษัท สำหรับการรับชำระเงิน จะได้รับความน่าเชื่อถือมากกว่า บัญชีชื่อบุคคลธรรมดา
- ดูแล Webboard อย่าให้มี spam เข้ามาโพสต์ เช่น ขายตรงอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของท่าน มีการตอบ Webboard อย่างสม่ำเสมอ