คุณเคยรู้ตัวไหมว่า วันนึงๆ คุณใช้เวลากับการใช้โซเชี่ยลมีเดียไปในแต่ละวันเท่าไร ทั้ง Facebook, Twitter, Instagram, Line หลายๆ คนอาจจะเริ่มสังเกตุแล้วพบว่าพฤติกรรมตัวเองหรือคนรอบข้างของคุณเริ่มเปลี่ยนไปอย่างมาก หลังจากที่เค้าเริ่มใช้เวลากับโซเชี่ยลมีเดียมากขึ้นๆ เรื่อยๆ บางคนถึงกระทั่ง “ติดงอมแงม”  ขาดไม่ได้เลยทีเดียว ต้องมองหรือหยิบมือถือมาดูทุกๆ 10-15 นาทีเลยทีเดียว ทำให้ชีวิตหลายๆ คนเริ่มเปลี่ยนไปเช่น การทำงานได้ประสิทธิภาพน้อยลง การพูดคุยพบปะเพื่อนๆ น้อยลง การพูดคุยกับคนรักน้อยลงเมื่ออยู่ด้วยกัน เราจะทำอย่างไรกันดี วันนี้ผมมีคำแนะนำมาให้ลองปฏิบัติตามดูครับ


การเสพติดโซเชี่ยลมีเดีย (Social Media Addiction) คือ “การใช้เวลาเป็นจำนวนมากเกินไปกับการใช้โซเชี่ยลมีเดียอย่าง Facebook, Instagram, Twitter, Line จนทำให้การทำกิจกรรมอย่างอื่น หรือการปฏิสัมพันธ์กับคนจริงๆ น้อยลงไปอย่างเห็นได้ชัด” 

social-media-addiction (1)

อาการของผู้ที่เสพติดโซเชี่ยลมีเดีย

  • ใช้เวลามากกว่า 4 ชั่วโมงต่อวันในการใช้โซเชี่ยลมีเดีย
  • เอามือถือหรือแท็บเล็ตเข้าห้องน้ำเป็นประจำ
  • เช็กโซเชี่ยลมีเดียเป็นประจำทั้งก่อนตื่นนอนและก่อนจะนอน
  • อยู่กับคน แล้วไม่ค่อยมีปฏิสัมพันธ์ เอาแต่ก้มหน้าก้มตามองแต่มือถือหรือแท็ปเล็ต เป็นเวลานานๆ ไม่สนใจ ถามไม่ตอบ
  • ยกเลิกหรือปัดนัดกับครอบครัว คนสนิท หรือคนอื่นๆ เป็นประจำ
  • รู้สึกกระวนกระวายหรือรู้สึกป่วยเมื่อไม่ได้ใช้อินเทอร์เน็ตหรือเข้าโซเชี่ยลมีเดีย
  • อาการบางอย่างอาจจะคล้ายๆ การเสพติดอินเทอร์เน็ต

 

.

เทคนิคการโซเชี่ยลมีเดียยังไงไม่ให้ติด

  • กำหนดเวลาในการใช้งาน (Time Setting)
    โดยเริ่มจากการจับเวลาพฤติกรรมการใช้งานโซเชี่ยลมีเดีย ของคุณในแต่ละวันก่อน ว่าคุณใช้เวลาเท่าไร หลังจากนั้นค่อยตั้งเป้าหมายในการใช้เวลาแต่ละครั้งให้ลดลง ก่อนใช้งานลองชำเลืองเวลาที่คุณใช้ จดลงกระดาษ หรือเปิดโปรแกรมโน็ตในมือถือของคุณจดเวลาเอาไว้  หรือจะโพสต์เวลาเริ่มใช้ลงไปในโซเชี่ยลมีเดีย ซึ่งหากคุณพบว่า คุณใช้เวลามากเกินไป คุณต้องเริ่มกำหนดตัวเองให้ใช้ลดลง โดยอาจจะตั้งเวลาเตือนตัวเอง หรือบอกคนรอบข้างเอาไว้ เมื่อตัวเองเริ่มใช้มากเกินไป
  • ให้คนรอบข้างเป็นคนช่วย (Get Help from friends)
    ประกาศบอกออกไปให้คนอื่นๆ ได้รู้ว่าคุณกำลังจะลดการใช้งานโซเชี่ยลมีเดีย เช่น คนใกล้ตัว แฟน ลูกๆ โดยเฉพาะเพื่อนๆ ในโซเชี่ยลมีเดียของคุณ เพราะคนเหล่านั้น จะเป็นคนคอยเตือนคุณว่า คุณใช้งานโซเชี่ยลมีเดียมากไปแล้ว (แล้วอย่าไปเถียงเค้าทีหลังล่ะ เค้าเตือนเพราะเค้าหวังดีกับคุณนะ)
  • กำหนดบทลงโทษ (Penalty)
    กำหนดบทลงโทษตัวเองเอาไว้ หากตัวเองละเลยหรือทำผิดใช้งานเกินที่กำหนด หากจะได้ผลจงกำหนดกฏนี้ไว้กับคนสนิทใกล้ตัว เช่น ครอบครัว แฟน หรือลูกๆ เพราะคนรอบข้างจะเป็นคนช่วยคุณได้ดีมากๆ บางครอบครัวกำหนดกฏขึ้นมาเลย เกี่ยวกับเรื่องนี้
  • ปิดระบบเตือน (Turn off notifications)
    หลายครั้งที่คุณหยิบโทรศัพท์ขึ้นมาเพราะมีระบบเตือน ดังนั้นการปิดระบบเตือน หรือตั้งเวลาเปิดปิดโทรศัพท์ (บางรุ่นทำได้) จะช่วยลดการเข้าถึงอุปกรณ์พกพาคุณได้ดีขึ้น นั้นหมายถึงการลดการใช้โซเชี่ยลมีเดียได้เช่นกัน
  • หากิจกรรมอย่างอื่นทำแทน (Find other Activity)
    เตรียมหากิจกรรมอย่างอื่นเอาไว้ก่อน เมื่อเวลาที่คุณรู้สึกว่าคุณใช้โซเชี่ยลมีเดียมากเกินไป จงหันไปใช้เวลากับกิจกรรมอย่างอื่นแทนเช่น อ่านหนังสือ, ออกกำลังกาย, เล่นกันลูกๆ, สวดมนต์. ออกไปเที่ยวข้างนอก เป็นต้น
  • เลือกโซเชี่ยลมีเดียที่คุณใช้บ่อยที่สุด (Select Social Media You use the most)
    หลายคนที่ติดและใช้เวลากับโซเชียลมีเดียมากเกินไป เพราะว่าคุณมีโซเชียลมีเดียหลายตัวให้ใช้มากเกินไป บางคนใช้ทั้ง Instagram, Facebook, Twitter, Foursquare เป็นต้น ซึ่งบางทีมันเยอะเกินไป ดังนั้นเอาตัวที่คุณไม่ค่อยได้ใช้ออกไปจากมือถือของคุณ จะช่วยทำให้คุณใช้เวลาน้อยลงไปได้
  • หักดิบเลย (Sudden Terminate)
    แนะนำให้เปลี่ยนมือถือไปใช้รุ่นที่ต่อโซเชี่ยลมีเดียได้ยาก ยกเลิกการใช้อุปกรณ์พกพาอย่างแท็ปเล็ตไปเลย ยกเลิกการต่อเน็ตผ่านมือถือ หรืออาจจะยกเลิก ปิดบริการโซเชี่ยลมีเดียที่ใช้งานไปเลย ซึ่งจะลดการใช้งานได้แน่นอน (อันนี้หักดิบสุดๆ)

บทความนี้ เป็นบทความที่ผมเขียนไแล้วรู้สึกว่าโดนตัวเองมากๆ เพราะรู้ได้เลยว่าผมเป็นคนนึงที่ติดโซเชี่ยลมีเดียอย่างมากคนนึงเลย ดังนั้นผมเองก็คงต้องนำสิ่งเหล่านี้ไปปฏิบัติกับตัวเองเช่นกัน เพราะหากคุณยังปล่อยให้ คุณใช้เวลากับโซเชี่ยลมีเดียมากเกินไป มันจะทำให้งาน ธุรกิจ ชีวิตกับคนรอบข้าง ของคุณมันแย่ลงไปเรื่อยๆ ดังนั้นหากคุณผบว่าคุณอยู่ในอาการนี้ หรือคนที่คุณรู้จักเริ่มมีอาการแบบนี้ คุณควรรีบส่งบทความนี้ ไปให้เค้าอ่านได้แล้วล่ะครับ และกำหนดแนวทางที่จะทำให้มันดึขึ้นร่วมกันครับ.. ก่อนจะสายเกิดแก้เน้อ