ผมได้ไปงาน ITU Telecom World 2013 ที่จัดขึ้นที่กรุงเทพฯโดยในงานมีเทคโลยีใหม่ๆ จากทั่วโลกในงานนี้ ผมได้มีโอกาสไปงานของ สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)(สรอ.) หรือ EGA ที่เป็นหน่วยงานที่จะทำให้ภาครัฐเข้าสู่การเป็นรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ หรือการเป็น Smart Thailand มาดูกันว่าภายในงานมีเทคโนโลยีอะไรบ้าง และหลายอย่างคุณกำลังจะได้ใช้เร็วๆ นี้ครับ



ข้อมูลบริการ : การจับมือร่วมกันระหว่าง กรมการขนส่งทางบก กับ บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส เพื่อเปิดบริการใหม่ตอบโจทย์ลูกค้าที่ต้องการชำระค่าภาษีรถประจำปีผ่าน Application บนโทรศัพท์มือถือครั้งแรกในประเทศไทย โดยลูกค้าสามารถ Download Application “ชำระภาษีรถ” แล้วติดตั้งลงบน Smart phone (iOS และ Android) จากนั้นก็สามารถชำระค่าภาษีรถประจำปี ผ่านบริการ mPAY ได้ทันที ง่าย สะดวก ประหยัด ปลอดภัย เพียงคลิกเดียว
ประเภทรถที่สามารถชำระได้มี 4 ประเภทดังนี้
-
รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน ๗ คน (รย.๑)
-
รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน ๗ คน (รย.๒)
-
รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รย.๓)
-
รถจักรยานยนต์ (รย.๑๒)
หมายเหตุ : เงื่อนไขเพิ่มเติม
1. รถยนต์ต้องมีอายุการใช้งานไม่เกิน ๗ ปี และไม่ใช้ก๊าซธรรมชาติอัด (CNG) หรือก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) เป็นเชื้อเพลิง
2. รถจักรยานยนต์ต้องมีอายุการใช้งานไม่เกิน ๕ ปี
วิธีการชำระผ่าน Application “ชำระภาษีรถ” ด้วยบริการ mPAY และ mPAY STATION
- ดาวน์โหลด และติดตั้ง Application “ชำระภาษีรถ” (รองรับ iOS และ Android)
- ลงทะเบียนผู้ใช้งาน Application (ครั้งแรกครั้งเดียวเท่านั้น)
- ลงทะเบียนรถที่ต้องการชำระผ่าน(ลงทะเบียนรถไว้ล่วงหน้าได้สูงสุด 5 คัน ต่อ 1 ผู้ใช้งาน)
- เมื่อต้องการชำระให้เลือกรถคันที่จะชำระ จากนั้นเลือกประเภทการชำระว่าจะชำระพร้อมซื้อพรบ. เลยหรือไม่ จากนั้น ตรวจสอบยอดเงินที่ต้องชำระ
- เลือกวิธีการชำระผ่าน mPAY
- เมื่อชำระเสร็จลูกค้าก็รอรับป้ายวงกลมที่จะจัดส่งทางไปรษณีย์ได้เลย
ค่าธรรมเนียม : การชำระภาษี 20 บาท/รายการ และ ค่าไปรษณีย์สำหรับจัดส่งป้ายวงกลม 40 บาท/รายการ (อัตราเดียวทั่วประเทศ)
จุดเด่นบริการ
-
สะดวก : สามารถชำระค่าภาษีรถยนต์ ได้ตลอด 24ชม. ผ่าน Mobile Application
- ประหยัด : ทั้งเวลา และค่าเดินทาง สามารถชำระจากที่ไหน เวลาใดก็ได้

เลข 13 หลักคืออะไร
เลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก คือเลขที่ทางราชการกำหนดให้แก่ประชาชนทุกคนทั่วทั้งประเทศมีจำนวน 13 ตัว หรือเรียกันสั้น ๆ ว่าเลข 13 หลัก และแต่ละหลักต่างก็มีความหมายในตัวของมันเอง เช่น เป็นการแยกประเภทบุคคลถิ่นที่อยู่ และเลขที่ใบเกิด ฯลฯ ประชาชนแต่ละคนจะมีเลขที่ไม่ซ้ำกัน และเมื่อเกิดมาจะได้รับการกำหนดเลข 13 หลักประจำตนเอง โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงนับตั้งแต่เกิดจนตายเลขประจำตัวประชาชนทั้ง 13 หลัก จะปรากฎอยู่ในสูติบัตร สำเนาทะเบียน
บ้านและบัตรประจำตัวประชายนเลข 13 หลักมีความสำคัญอย่างไร
เลขประจำตัวประชาชน มีความสำคัญต่อการประมวลข้อมูลทะเบียนประวัติความเป็นมาของแต่ละบุคคล สามารถตรวจสอบสืบค้นได้ด้วยเวลาที่รวดเร็วเพียงไม่กี่วินาทีด้วยระบบคอมพิวเตอร์ และจะเชื่อมโยงใช้ประโยชน์ในภาครัฐและเอกชนได้ในอนาคต ซึ่งขณะนี้มีหลายหน่วยงานสนใจที่จะให้เลข 13 หลักของกรมการปกครองเป็นพื้นฐานในการบริการประชาชนที่มาติดต่อราชการต่าง ๆเช่น การเสียภาษี การทำใบขับขี่ การประกันสังคม ฯลฯ เพราะสามารถ ON-LINE ข้อมูลถึงกันได้รวดเร็วไม่ยุ่งยาก
ความหมายของเลขประจำตัวประชาชนทั้ง 13 หลัก
หลักที่ 1 หมายถึงประเภทบุคคลซึ่งมี 8 ประเภท คือ
- ประเภทที่ 1 ได้แก่ คนที่เกิดและมีสัญชาติไทย ได้แจ้งเกิดภายในกำหนดเวลา (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2527)
- ประเภทที่ 2 ได้แก่ คนที่เกิดและมีสัญชาติไทย ได้แจ้งเกิดเกินกำหนดเวลา (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2527)
- ประเภทที่ 3 ได้แก่ คนไทยและคนต่างด้าวที่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว และมีที่อยู่ในทะเบียนบ้านในสมัยเริ่มแรก (1 มกราคม – 31 พฤษภาคม 2527)
- ประเภทที่ 4 ได้แก่ คนไทยและคนต่างด้าวที่มีใบสำคัญคนต่างด้าวแต่แจ้งย้ายเข้า โดยยังไม่มีเลขประจำตัวประชาชนในสมัยเริ่มแรก (1 มกราคม – 31 พฤษภาคม 2527)
- ประเภทที่ 5 ได้แก่ คนไทยที่ได้รับอนุมัติให้เพิ่มชื่อเข้าในทะเบียนบ้านในกรณีตกสำรวจหรือกรณีอื่น ๆ
- ประเภทที่ 6 ได้แก่ ผู้ที่เข้าเมืองโดยไม่ชอบด้วยกฏหมาย และผู้ที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฏหมายแต่จะอยู่ในลักษณะชั่วคราว
- ประเภทที่ 7 ได้แก่ บุตรของบุคคลประเภทที่ 6 ซึ่งเกิดในประเทศไทย
- ประเภทที่ 8 ได้แก่ คนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยถูกต้องตามกฏหมาย คือ ได้รับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวคนที่ได้รับการแปลงสัญชาติเป็นสัญชาติไทย และคนที่ได้รับการให้สัญชาติไทย
หลักที่ 2 ถึงหลักที่ 5 หมายถึง รหัสของสำนักทะเบียนที่ท่านมีชื่อในทะเบียนบ้านในขณะให้เลข สำหรับเด็กเกิดใหม่จะหมายถึงถิ่นที่เกิดเลยทีเดียว โดยหลักที่ 2 และ 3 หมายถึงจังหวัด
หลักที่ 4 และ 5 หมายถึงอำเภอหรือเทศบาล
หลักที่ 6 ถึงหลักที่ 10 หมายถึงกลุ่มที่ของบุคคล แต่ละประเภทตามหลักแรก หรือหมายถึงเล่มที่ ของสูติบัตรแล้วแต่กรณี
หลักที่ 11 และ 12 หมายถึงลำดับที่ของบุคคลในแต่ละกลุ่มประเภท หรือหมายถึงใบที่ของสูติบัตร แต่ละเล่มแล้วแต่กรณี


ผมยังขมขื่นกับ บัตรประชาชนสมาร์ทการ์ด ที่ฉลาดมากเวลาจะใช้งานต้องถ่ายเอกสารแล้วเซ็นสำเนาถูกต้องอยู่เลยครับ
ถูกใจถูกใจ
Smart Thailand, good job! Just hang in there.
ถูกใจถูกใจ
Smart Thailand, good job! Just hang in there.
ถูกใจถูกใจ