ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เราจะเห็นบรรดาคนรุ่นใหม่ รวมกลุ่มกันทำบริษัท หรือสร้างนวัตกรรม ผลิตภัณฑ์ หรือบริการใหม่ๆ ที่ในวงการ IT เขาเรียกว่า Start up หากหลายๆคนยังไม่ทราบว่า ไอเจ้า Start up เนี่ยมันคืออะไร เรามาทำความเข้าใจธุรกิจที่กำลังมาแรงในยุคนี้คืออะไร
Startup คืออะไร
Reid Hoffman ผู้ก่อตั้ง Linked in กล่าวว่า “การทำ Start up ก็เหมือนการกระโดดลงหน้าผา และสร้างเครื่องบินในตอนที่กำลังตกลงไป”
Startup คือ ธุรกิจรูปแบบใหม่ในยุคปัจจุบันที่เริ่มจากผู้ก่อตั้งเพียงไม่กี่คน สินค้าหรือบริการส่วนใหญ่มักเป็น Application หรือ Software ใช้เงินลงทุนที่ไม่สูงมาก แต่เปี่ยมไปด้วยไอเดีย ถ้าวางแผนธุรกิจได้ดี และเข้าถึงคนใช้ได้ทั่วโลก บรรดา Startup ก็มักจะโตอย่างก้าวกระโดดเลยทีเดียว
หากยังไม่เห็นภาพ ลองนึกถึง Facebook , Google ที่เริ่มต้นธุรกิจจาก คนไม่กี่คน แต่สิ่งที่พวกเขาคิดนั้น”ตอบโจทย์” คนหมู่มาก จึงทำให้ประสบความสำเร็จได้เป็นอย่างดี
DNA ของเหล่าชาว Start up
กว่าจะมาเป็น Facebook Instragram หรือGoogle เองก็ล้วนผ่านช่วงเวลา Startup มากันทั้งนั้น รู้ไหมครับว่าอะไรเป็นลักษณะร่วม ที่เหล่า Startup มักมีกัน
Simplify Things : สิ่งสำคัญที่สุดไม่ใช่การคิด ผลิตภัณฑ์หรือบริการได้ล้ำที่สุด ซับซ้อนที่สุด แต่เป็นการอธิบายไอเดียเหล่านั้นให้เข้าใจง่ายที่สุดต่างหาก
Telling Story : การเล่าเรื่อง หรือการ Pitch คือหัวใจสำคัญของเหล่า Startup เพราะจุดนี้เองจะเป็นสิ่งที่ทำให้นักลงทุนตัดสินใจในการร่วมลงทุนกับ Startup นั่นเอง
Add relevant Idea : ความสร้างสรรค์เป็นสิ่งที่ดี แต่ไอเดียที่ดี ต้องมีความเกี่ยวเนื่องด้วย ดังนั้นเหล่า Startup ที่ดีควรเพิ่มไอเดียที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจนั้นๆ ไม่ใช่เจอไอเดียใหม่ๆก็วิ่งตามไปนะครับ ” Focus is Important”
Risk Tasker : ไม่ใช่ Start up ทุกรายที่ประสบความสำเร็จ เป็นเรื่องปกติของเหล่า Startup ที่ต้องเจอกับความเสี่ยง แต่เพื่อการโตแบบก้าวกระโดด รู้ว่าเสี่ยงแต่ก็ขอลองล่ะครับ
T ough : สิ่งที่เป็นเพื่อกับเหล่า Startup เลยคือแรงกดดัน ความคาดหวังจากลูกค้า นักลงทุน เพื่อนร่วมงาน และคู่แข่ง และการพัฒนาตัวเองในมุมใหม่ๆ เพราะเหล่า Start up มักจะเป็น Geek ที่ค่อนข้างเก็บตัว หลงใหลในเทคโนโลยี เมื่อต้องมาเข้าสู่วงการธุรกิจ ก็ต้องติดอาวุธในเชิงธุรกิจให้กับตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นทักษะการขาย นำเสนอ การต่อรอง ซึ่งกว่าจะผ่านด่านอรหันต์ไปได้ ต้องถึก และทนต่อแรงกดดันมากเลยทีเดียว
Understand Marketing : สิ่งสำคัญอีกอย่างคือเรื่องการตลาด เข้าใจสินค้าแต่ไม่เข้าใจตลาดก็จบนะจ๊ะ การตลาดสอนให้เราเข้าใจตลาด เข้าใจตัวเราเอง และคู่แข่ง ช่วยให้เราสร้างธุรกิจแบบมีกลยุทธ์
Passion : เชื้อเพลิงของเหล่า Startup คือ Passion หรือความหลงใหลในอะไรบางอย่างมากๆ และเอาไอเดียเหล่านั้นไปต่อยอดในเชิงธุรกิจ จนสร้างรายได้ได้อย่างมหาศาล
แหล่งเงินทุนของชาว Strartup
ในยุคที่มีไอเดียก็ขายได้ แค่กล้าที่จะแสดงออก จากที่เกริ่นไปข้างต้นว่า Startup ใช้เงินลงทุนไม่มาก อาศัยไอเดีย และเวลา เสียส่วนใหญ่ แต่เพื่อการสร้างให้ธุรกิจเติบโตก็ต้องมีคนสนับสนุน หรือ นักลงทุนนั้นเอง เรามาทำความรู้จักกับ นักลงทุนประเภทต่างๆของเหล่า Startup กันครับ
- Venture Capital หรือ ที่เรียกย่อๆ ว่า VCคือ ธุรกิจเงินร่วมลงทุน โดยลงทุนเหมือนเป็นหุ้นส่วนกับบริษัท Startup มีการลงทุนระยะยาวประมาณ 3-5 ปี ซึ่งมักเป็นนักลงทุนในรูปแบบขององค์กร การลงทุนของ VC จึงมักจะมีมูลค่าที่สูงกว่า Angel investor ซึ่งมักมองภาพของธุรกิจในระดับที่ใหญ่และนอกจากสนับสนุนทางด้านการเงินแล้ว VC ยังให้คำปรึกษา ช่วยชี้แนวทางในด้านต่าง ๆ เพื่อให้ธุรกิจที่ได้รับเงินร่วมลงทุน สามารถที่จะเติบโตได้อย่างรวดเร็ว แต่มักจะเลือกลงทุนใน Startup ที่ติดตลาดระดับหนึ่งแล้ว เพราะความเสี่ยงจะน้อยกว่า
- Angel Investor นักลงทุนผู้ใจบุญ ที่จะช่วยสนับสนุน Startup ตั้งแต่เริ่มต้น เอาไปต่อยอดในการจ้างบุคคลากร และวางโครงสร้างบริษัท เรียกว่ายอมเสี่ยงตั้งแต่ในช่วง Startup กำลังตั้งตัวเลยทีเดียว
- Crowd Funding แปลกันตรงๆเลยครับการระดมเงินทุนจากคนหมู่มากหรือจากสังคมของคนที่สนใจจะลงทุนในไอเดียใหม่ๆ เพื่อสนับสนุนให้ไอเดียดีๆ ได้กลายมาเป็นธุรกิจจริงๆ
Kickstarter : เว็บไซต์ระดมทุนยอดนิยมในต่างชาติ รวบรวมไอเดียและ Project ล้ำๆไว้เยอะเลยทีเดียว
ไม่ว่าจะเป็น VC AC หรือ Crowndfunding แหล่งเงินทุนและผู้สนับสนุนมีมากมาย หลายที่ครับ อยู่ที่ัตัวคุณเองต่างหาก ที่จะกล้าคว้าโอกาสนั้นไว้หรือเปล่า
ตัวอย่าง Startup ในเมืองไทย
Local Alike สัมผัสชุมชนเมืองด้วยการท่องเที่ยวแนวใหม่
กิจการเพื่อสังคมด้านการท่องเที่ยว หรือ Social Enterpriseที่สามารถดำเนินธุรกิจได้จริง มีแนวคิดกระจายรายได้สู่ท้องถิ่น ส่งเสริมคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน ทำให้เกิดรายได้ ไหลกลับเข้าสู่ชุมชน โดยได้รับเงินทุนสนับสนุนก้อนแรกจากนักลงทุนเพื่อสงคม จำนวน 1.2 ล้านบาท มี Degree เป็นผู้ชนะการประกวดจากเวที AIS the Startup 2014 และสามารถสร้างรายได้กว่า 4.2 ล้านบาท ซึ่งแบ่งกลับคือให้ชุมชนกว่า 70% ภายในระยะเวลาแค่ 14 เดือน ใครสนใจสนับสนุนเข้าไปเยี่ยมชมได้ที่เว็บไซต์ http://localalike.com/
Noonswoon : เปิดโอกาสให้ชีวิตคู่ บริการหาคนรู้ใจ
บริษัทเทคโนโลยี Startups แนวหน้าที่ให้บริการด้าน Matchmaking หรือการเป็นที่ปรึกษาด้านการจัดหาคู่และการนัดเดทให้กับคนโสด แห่งแรกในประเทศไทย ซึ่งทางบริษัทได้รับรางวัลชนะเลิศจากโครงการประกวด Startup Weekends 2013 ที่ AIS จัดขึ้น นอกจากนี้ ยังได้รับการลงทุนร่วมจาก Golden Gate Venture และ 500 Startups ซึ่งเป็นกลุ่มนักลงทุนชื่อดังจาก Silicon Valley รวมทั้งยังได้รับการยอมรับและตีพิมพ์ในสื่อต่างๆ มากมาย จากทั้งในประเทศและต่างประเทศ
Infographic Thailand : ย่อยข้อมูล สื่อสารได้ง่ายขึ้นด้วย Infographic
มาทำความรู้จักกับอีกหนึ่ง Startup รุ่นบุกเบิกจากเวที AIS Startup Weekend 2011 ผู้เชี่ยวชาญการผลิตสื่อรูปแบบ Infographic รายแรก และผลิตสื่อ Infographic มากที่สุดในประเทศไทย มีผู้ติดตามบน Facebook มากกว่า 200,000 คน และมีผลงานเป็นที่รู้จักมากมาย
Infographic Thailand ได้รับความไว้วางใจจากแบรนด์ชั้นนำในประเทศไทย มากกว่า 100 แบรนด์ เช่น AIS, การไฟฟ้านครหลวง, สสส, ธนาคาร และอื่นๆ อีกมากมาย ให้เป็นผู้ผลิตสื่อ Infographic และวางกลยุทธ์ด้าน Digital Marketing ให้บนสื่อทันสมัย เช่น เว็บไซต์, Facebook ผสมผสานทั้งแบบ Online & Offline
เวทีแสดง ไอเดีย ของเหล่า Startup
หลายคนอาจจะสงสัยว่า เหล่า Startup จะไปเจอกับนักลงทุนได้อย่างไร นอกจากการเคาะประตูไปหานักลงทุนด้วยตัวเองแล้ว บรรดา Startup มักมองหาเวที เพื่อแสดงตัวตน และนำเสนอไอเดีย สำรวจไอเดีย หาพาร์ทเนอร์จากวงการ Startupด้วยกัน และยังถือโอกาสนำเสนอตัวเองแก่นักลงทุนในงานประกวดเลยทีเดียว
และล่าสุดมีเวทีการประกวดจาก AIS ในโครงการ AIS StartUp 2015 ที่มีมาตั้งแต่ปี 2011 ที่ได้ปั้นเหล่าStartup หน้าใหม่มาประดับวงการ รวมถึงการให้เงินทุนสนับสนุน โดยในปีนี้การประกวดชิงเงินรางวัลกว่า 1 ล้านบาท และโอกาสในการเข้าร่วม Regional Operator Workshop และFinal Regional Challenge และร่วมเป็น Partner กับบริษัทชั้นนำ อาทิ Singtel SAMSUNG, KBANK และ AIS
รายละเอียดโครงการ AIS StartUp 2015
AIS เฟ้นหาบริการและโซลูชั่นที่เพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ เพื่อยกระดับการใช้งานของผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็น การรับส่งข้อมูล (Mobile Data) การชำระเงินผ่านผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Carrier Billing), การประยุกต์ใช้บริการที่เกี่ยวกับตำแหน่ง (Location) และ การรับส่งข้อความแบบ SMS ฯลฯ
ขอบเขตของผลิตภัณฑ์ที่สนใจ
1.ระบบชำระเงินและเทคโนโลยีด้านการเงิน
2.กิจการเพื่อสังคม
3.Mobile Advertising
4.เกมดิจิทัล : สร้างสรรค์เกมดิจิทัลผ่านแอปพลิเคชั่น
5.บันเทิงและไลฟ์สไตล์ : บริการด้านความบันเทิง และไลฟ์สไตล์
- On-Demand Economy : แพลทฟอร์มหรือแอปพลิเคชั่น ที่ประสานความต้องการซื้อและการขาย อำนวยความสะดวกให้ผู้บริโภค สามารถซื้อสินค้าและบริการต่างๆ ผ่านทางแอปพลิเคชั่น
- Smart Living : การติดต่อสื่อสารกับเครื่องใช้ไฟฟ้า และอุปกรณ์ต่างๆ ผ่านทางแอปพลิเคชั่น
สิ่งสำคัญกว่าการคิดคือการลงมือทำนะครับ สิ่งที่แตกต่างระหว่างความฝัน กับความสำเร็จคือการลงมือทำครับ ก้าวออกจาก comfortzone ฟอร์มทีม แล้วส่งผลงานกันเลยครับ
ผมขอเชิญชวนผู้สนใจอยากลองฝีมือ ลับสมองประลองไอเดียลองเข้าไปดูรายละเอียดโครงการกันได้ที่นี่ครับ http://www.ais.co.th/thestartup/