ใกล้เวลาสิ้นปีกันแล้ว หลายๆคนที่ต้องเสียภาษี คงกำลังมองหาทางเลือกในการลดภาษี ไม่ว่าจะเป็นการซื้อประกันชีวิต หรือกู้ซื้อบ้าน ที่สามารถนำมาแจ้ง เพื่อลดหย่อนภาษีได้ ยังมีการลงทุนแบบทางเลือก ที่สามารถให้ทั้งผลตอบแทน และการลดหย่อนภาษีอีกด้วย เรามาทำความรู้จักการลงทุน เพื่อลดหย่อนภาษีในแต่ละแบบกันเลย!!

การลงทุนที่มีผลประโยชน์ในการลดภาษี…มี แบบไหนได้บ้าง

 

ปกติการลดหย่อนภาษีมาจากหลายส่วนด้วยกัน เช่น ค่าลดหย่อนที่เกิดจากคน เช่น ตนเอง คู่สมรส การเลี้ยงดูบุตร และเบี้ยประกันของบิดามารดา ต่อมาเป็นค่าลดหย่อนที่เกิดจากรายจ่าย เช่น เงินกู้ซื้อบ้าน คอนโด หรือการไปเที่ยวภายในประเทศก็สามารถลดหย่อนทางภาษีได้ เป็นต้น แต่ในวันนี้จะขอยกในส่วนของการลงทุนเพื่อผลประโยชน์ทางภาษีเท่านั้นนะครับ ค่าลดหย่อนแต่ละประเภทจะนำมาหักหลังจากที่เรานำรายได้มาหักค่าใช้จ่ายในอัตรา 40% ของรายได้แต่ไม่เกิน 60,000 บาทแล้ว สามารถหักค่าลดหย่อนด้วนการลงทุนในรูปแบบต่างๆดังต่อไปนี้

  1. เบี้ยประกันชีวิต แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
  • ประกันชีวิตแบบทั่วไป นำไปลดหย่อนสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท(หากคู่สมรสมีรายได้หักได้สูงสุด 100,000 บาท หากไม่มีรายได้จะหักได้สูงสุด 10,000 บาท)

ประกันชีวิตแบบบำนาญ นำไปลดหน่อยได้ 15%ของเงินได้ และสูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท
     2.เงินสมทบกบข. (สำหรับข้าราชการ) และ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (สำหรับเอกชน)
เงินสมทบกบข. (สำหรับข้าราชการ) และ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (สำหรับเอกชน) ที่เราจ่ายไปทุกเดือนสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่รวมกันไม่เกิน 500,000 บาท

     3.กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (Retirement Mutual Fund: RMF)

 

ลงทุนได้สูงสุด 15 % ของเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษี นับรวมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ  หรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ   และประกันชีวิตแบบบำนาญ รวมกันไม่เกิน 500 ,000 บาท

กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือ Retirement Mutual Fund: RMF มีวัตถุประสงค์เพื่อ  ต้องการให้ประชาชน  รู้จักวางแผนการออมเงิน เพื่อเก็บไว้ใช้ในยามเกษียณอายุ   จะได้ไปเป็นภาระกับลูกหลาน ในอนาคตต่อไป   ซึ่งเงื่อนไขในการลงทุนนั้น    จะต้องลงทุนอย่างน้อย 5 ปี  และอายุไม่ต่ำกว่า 55 ปี  จึงจะสามารถขายคืนหน่วยลงทุนได้  การลงทุนในกองทุนประเภท RMF ควรจะลงทุนต่อเนื่องทุกปี  หรือหากเว้นการลงทุนจะเว้นได้เพียงปีเว้นปีเท่านั้น  ห้ามเว้นติดต่อกัน2 ปี  หากเป็นเช่นนั้นนับว่าเป็นการลงทุนที่ผิดเงื่อนไข  

**แต่เงื่อนไขเพิ่มเตืมสำหรับค่าลดหย่อน 3 ข้อเบื้องต้นนั้น มีเงื่อนไขว่ารวบมูลค่าจาก RMF,กบข./ กองทุน และประกันชีวิตแบบบำนาญรวมกันต้องไม่เกิน 500,000 บาท

   4. กองทุนหุ้นระยะยาว (Long Term Equity Fund) หรือกองทุนรวมหุ้นระยะยาว   

ลงทุนได้สูงสุด 15%  ของเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษี     และไม่เกิน 500,000  บาท    โดยไม่ต้องนับรวมกองทุนสำหรองเลี้ยงชีพ  กองทุนบำเหน็จบำนายข้าราชการ   และ ประกันชีวิตแบบบำนาญ   โดยกองทุนจะเน้นลงทุนในหุ้น ไม่น้อยกว่า 65% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน      กองทุน LTF  มีเงื่อนไขการถือครอง 5 ปี ปฎิทิน  ไม่จำเป็นต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี  ปีไหนซื้อปีนั้นสามารถนำเงินไปลดหย่อนภาษีได้  และถือครองเพียง5 ปีปฎิทินเท่านั้น  เช่น ซื้อตอนเดือนธ.ค. 2558 ถึงเดือนม.ม.ค. ปี 2562 ก็สามารถขายคืนหน่วยลงทุนได้

เมื่อเข้าใจการลงทุนที่จะเป็นประโยชน์ทางภาษี  และเป็นการวางแผนการลงทุนเพื่อออมเงินไว้ใช้ในอนาคตแล้ว เรามาดูวิธีการที่เลือกลงทุนให้เหมาะกับตัวเองในแต่ละด้านกันดีกว่า

 

4 เคล็ดลับลดหย่อนภาษีให้เหมาะกับสไตล์ตัวเอง

 

ก่อนจะวิเคราะห์ปัจจัยอื่นๆ สิ่งสำคัญของการลงทุนอีกข้อหนึ่งคือการเข้าใจตัวเอง และเลือกลงทุนให้เหมาะสมกับตัวเอง อย่าลอกการลงทุนตามแบบใคร เพราะคนเรามีสไตล์การลงทุนที่ต่างกันครับ  การรับความเสี่ยงจากการลงทุนก้ต่างกัน  เคล็ดลับ 5 ข้อนี้อาจจะแนะนำให้คุณค้นหาสไตล์การลงทุนของตัวเองเจอนะครับ

 

 

  • วัยต่างกัน.. รับผิดชอบต่างกัน

 

ช่วงอายุก็เป็นสิ่งสำคัญนะครับ คนที่อายุน้อยกว่าย่อมแบกรับความเสี่ยงจากการลงทุนได้มากกว่าเนื่องจากภาระรับผิดชอบจะเพิ่มขึ้นตามอายุ เช่น ช่วงวัยเริ่มต้นทำงาน อาจจะยังไม่่ต้องมีภาระเลี้ยงดูบุตร และยังมีเวลาสำหรับเตรียมตัวเกษียณ ทำให้สามารถรับความผันผวนจากการลงทุนได้ ซึ่งคนกลุ่มนี้  อาจจะเหมาะสำหรับการลงทุนในกองทุน LTF   โดยใช้เวลาในการลงทุนไม่นานก็สามารถขายคืนหน่วยลงทุนได้   และหากต้องการลงทุนใน RMF  ตั้งแต่อายุยังน้อย  เพื่อต้องการทยอยลงทุนไปเรื่อยๆ   ก็นับว่าเป็นการวางแผนการลงทุนที่ดี   ลงทุนก่อนเงินก็มีโอกาสเพิ่มพูนมากขึ้นเรื่อยๆ  

 

 

  • สไตล์การลงทุน  (การรับความเสี่ยง)

 

นอกจากอายุที่มีผลต่อความเสี่ยงที่ยอมรับได้แล้ว ในแต่ละบุคคลก็สามารถรรับความเสี่ยงได้ต่างกันขึ้นกับนิสัยในการลงทุน บางคนแม้อายุจะมากแล้ว แต่เป็นคนที่กล้าได้กล้าเสีย ก็สามารถรับความเสี่ยงได้มาก ส่วนบางคนอาจจะไม่ชอบความหวือหวา และไม่อยากขาดทุน กินเงินต้นในการลงทุนก็อาจจะรับความเสี่ยงได้ต่ำกว่า หากใครอยากรู้ระดับการยอมรับความเสี่ยงของตนเอง ลองเข้าไปทำแบบทดสอบที่มีหลากหลายธนาคารและสถาบันการเงินให้บริการทดสอบ หรือในอินเทอร์เน็ตก็มีแบบทดสอบให้ทำเต็มไปหมดเลยครับ ลองไปทำกันดูได้ เพื่อเข้าใจสไตล์ของตัวเองมากขึ้น

 

 

  • ไลฟ์สไตล์จากอาชีพ   (มนุษย์เงินเดือน ฟรีแลนซ์ )

 

หลายคนอาจจะสงสัยว่าแล้วอาชีพมันเกี่ยวอะไรกับการลงทุน มนุษย์เงินเดือนกับ Freelance หรืองานไม่ประจำ ลักษณะรายได้ที่เข้ามาก็ต่างกัน มนุษย์เงินเดือนรายได้เท่าๆกันเป็นประจำ ต่างกับ Freelance หรือพนักงานไม่ประจำ ที่รายได้ไม่เท่ากันในแต่ละเดือน และระยะเวลาทีไม่แน่นอน หรือบางคนอาจจะเป็นทั้งมนุษย์เงินเดือน และ Freelance ด้วย ซึ่งการมีรายได้ที่ี่สม่ำเสมอ ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจคือเงินฝากประจำ หรืออาจจะทยอยลงทุนในกองทุนประเภท LTF, RMF ในทุกๆเดือนก็ได้ ส่วนอาชีพ Freelance อาจจะใช้วิธี “หักหัวคิว” โดยหักเงินออกจากรายได้มาลงทุนเลย

 

 

  • การลงทุนในกองทุน LTF / RMF  ควรจะอยู่ในเงื่อนไขกำหนด     

 

การลงทุนในกองทุน LTF / RMF  เป็นการสร้างวินัยในการออมเงินเพื่อเก็บไว้ใช้ในอนาคต พร้อมได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี   ซึ่งในปัจจุปัน  ประชาชนรู้จัก  และให้ความสำคัญกับทางลงทุนในกองทุนประเภทดังกล่าวมากขึ้น  จากที่เคยลงทุนเพียงเล็กน้อย เพื่อลองดู  แต่ในระยะยาว   เมื่อผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีนั้น  ส่งผลให้ในปัจจุบัน  คนส่วนใหญ่จะลงเต็มตามจำนวนที่สามารถลงทุนได้   แต่หลายๆท่าน  อาจจะยังไม่รู้ว่าการลงทุนในกองทุน LTF / RMF จะต้องลงทุนตามเงื่อนไขที่กำหนด   และหากผิดเงื่อนไขการลงทุน จะเป็นอย่างไร

สำหรับกองทุน  LTF    หากผิดเงื่อนไข  ผู้ลงทุนต้องนำภาษีที่เคยได้รับการลดหย่อนภาษีของเงินลงทุนนั้นคืนสรรพากร   พร้อมเงินเพิ่มในอัตรา1.5% ต่อเดือนของภาษีก้อนนั้น (นับตั้งแต่เดือนเมษายนของปีที่ยื่นขอลดหย่อนภาษี ถึงเดือนที่คืนภาษี )  และหากมีกำไรต้องนำกำไรไปรวมเป็นรายได้ แล้วนำไปเสียภาษีด้วย

ส่วนกองทุน RMF   หากผิดเงื่อนไขการลงทุน  ในกรณีที่ลงทุนมาไม่ถึงอายุ 55 ปี บริบูรณ์  แค่ลงทุนมาเกิน5 ปีถ้วน   ผู้ลงทุนต้องนำภาษีที่เคยได้รับการลดหย่อนภาษีในช่วง 5 ปีล่าสุดคืนสรรพากร   และกรณีที่ลงทุนมาไม่เกิน5 ปีแล้วขาย ผู้ลงทุนต้องนำภาษีที่เคยได้รับการลดหย่อนทั้งหมดคืนสรรพากร และหากมีกำไรต้องนำกำไรไปรวมเป็นรายได้แล้วนำไปเสียภาษี

 

สำหรับคนที่ยังไม่แน่ใจว่าตัวเองควรจะลงทุนอย่างไร แบบไหน วันนี้ทางธนาคารกรุงไทยจัดโครงการพิเศษ ‘KTB Investment Festival’ ต้อนรับสิ้นปี เชิญชวนนักลงทุน และ Smart Worker ลงทุนในผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่นำมาให้เลือกลงทุนถึง 3 รูปแบบ ได้แก่ กองทุนรวม LTF / RMF กรมธรรม์ประกันชีวิต และเงินฝากปลอดภาษีดอกเบี้ยสูง เลือกรับผลตอบแทนทั้งในระยะสั้นและระยะยาว รับสิทธิ์หักลดหย่อนภาษี พร้อมโปรโมชั่นอีกเพียบ

 

 

หากใครสนใจรายละเอียดเพิ่มเติม ก็สามารถสอบถามรายละเอียดและซื้อผลิตภัณฑ์การเงินได้ที่ ที่ธนาคารกรุงไทยทุกสาขา ทั่วประเทศ วันนี้ – 30 ธันวาคม 2558 หรือเข้าไปอ่านรายละเอียดได้ที่นี่ครับ Click

เลือกลงทุนให้ฉลาด และเหมาะสมกับตัวเองกัน เพื่อสร้างความมั่งคั่งให้ตัวเองในอนาคต มาเริ่มลงทุนกันครับ!

 

 
SecFilterEngine Off
SecFilterScanPOST Off