<![CDATA[

สำนักงานสถิติฯเปิดผลสำรวจอีคอมเมิร์ซไทย เผยว่า 73% เป็นผู้ให้บริการรายเล็กที่มีพนักงานไม่เกิน 5 คน และกว่า 40% ก็เป็นผู้ประกอบการหน้าใหม่ที่เพิ่งเปิดให้บริการขายสินค้าและบริการผ่าน เน็ตไม่ถึง 1 ปี เผยแม้มูลค่าการซื้อขายผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์จะสูงถึง 305,159 ล้านบาท แต่มาจากอีออกชั่นของภาครัฐกว่า 57.9% แนะรัฐออกมาตรการส่งเสริมและจูงใจ

นางธนนุช ตรีทิพยบุตร เลขาธิการสำนักงานสถิติแห่งชาติ เปิดเผยว่า สำนักงานสถิติฯได้ทำการสำรวจภาพของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

(อีคอมเมิร์ซ) ของประเทศไทย พ.ศ.2550 เป็นครั้งแรก เพื่อที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะสามารถนำไปใช้ประโยชน์เพื่อนำไปใช้ในการ วางแผนพัฒนาศักยภาพการแข่งขันของประเทศ ซึ่งจากการสำรวจแบบสอบถามที่สมบูรณ์ 1,539 ชุดพบว่า ในปี 2549 มีองค์กรธุรกิจเพียง 4.3% ที่มีเว็บไซต์ของตัวเอง อย่าไงรก็ตามโดยส่วนใหญ่เป็นการทำเว็บไซต์เพื่อการโฆษณาหรือประชาสัมพันธ์ สินค้าเท่านั้น ขณะที่เว็บไซต์ที่ทำธุรกรรมอีคอมเมิร์ซเพียง 16.9%

โดย ธุรกิจอีคอมเมิร์ซส่วนใหญ่ถึง 63.7% ที่ ใช้ระบบการชำค่าสินค้าและบริการในรูปแบบ ออฟไลน์อย่างเดียว

ส่วนที่มีระบบชำระได้ทั้งแบบออนไลน์อย่างเดียวมีเพียง 6.7% และที่เปิดให้ชำระทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์มีประมาณ 28.3% และธุรกิจอีคอมเมิร์ซของไทยส่วนใหญ่เป็นธุรกิจขนาดเล็ก กว่า 73.6% มีพนักงานไม่เกิน 5 คน ขนาดกลาง 6-50 คนประมาณ 20.7% และ ขนาดใหญ่ที่มากกว่า 50 คนมีเพียง 5.7% และ ส่วนใหญ่เป็นการทำธุรกิจกับผู้บริโภครายบุคคล (B2C) ถึง 85.3%

สำหรับ อุตสาหกรรมที่มีการทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซ 5 อันดับแรกได้แก่

  1. สิ่งทอเสื้อผ้า
  2. จองตั๋วเดินทางและที่พัก
  3. คอมพิวเตอร์
  4. เครื่องใช้ไฟฟ้า
  5. รถยนต์

โดย ภาพรวมของธุรกิจอีคอมเมิร์ซส่วนใหญ่ จะอยู่ในอุตสาหกรรมคอมมพิวเตอร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และกลุ่มแฟชั่น เครื่องแต่งกาย อัญมณี เครื่องประดับ

นอกจากนี้ยังพบว่ามีผู้ที่เข้ามาให้บริการผ่าน อีคอมเมิร์ซในประเทศไทยมีสัดส่วนถึง 40.4% ที่เพิ่งเข้ามาใช้ระบบดังกล่าวไม่ถึง 1 ปี และที่ดำเนินการเกิน 5 ปีมีเพียง 12.2% และมีเพียง 6.3% ที่ทำธุรกิจมานานกว่า 8 ปี และส่วนใหญ่จะขายสินค้าหน้าร้านควบคู่ไปกับการขายผ่านระบบอีคอมเมิร์ซ

"โดย ยอดขายผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ในปี 2549 ทั้งหมดมีมูลค่า 305,159 ล้านบาท แต่ในจำนวนนี้เกิดจากการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐด้วยการอีออกซั่น 176,683 ล้านบาท คิดเป็น 57.9% ของยอดขายทั้งหมด"

 

 

ข้อมูลจาก : http://www.matichon.co.th/prachachat/

 


ขณะที่ยอดขายของผู้ ประกอบการที่ขายให้ กับผู้บริโภครายบุคคลมีประมาณ 47,501 ล้านบาท ยอดขายที่เกิดจากการทำธุรกิจพาณิชยอิเล็ก ทรอนิกส์ระหว่างภาคธุรกิจด้วยกันนั้น มีประมาณ 79,726 ล้านบาท ซึ่งในส่วนนี้พบว่า 29.2% ของ ยอดขายเป็นการส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ

ส่วนค่าใช้จ่ายด้านไอซีทีของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ในปี 2549 พบว่า กว่าครึ่งของธุรกิจทั้งหมดมีค่าใช้จ่ายด้านระบบไอทีไม่เกิน 200,000 บาท ส่วนที่ใช้มีการใช้จ่ายเกิน 10 ล้านบาทมีเพียง 0.6% โดยการใช้จ่ายเพื่อพัฒนาระบบอีคอมเมิร์ซ ทั้งหมดอยู่ที่ 2,143.76 ล้านบาท โดยผู้ประกอบการที่ขายให้กับภาคธุรกิจด้วยกัน(B2B) จะมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยประมาณ 48,600 บาท ส่วนผู้ประกอบการที่ขายให้กับผู้บริโภครายบุคคล (B2C) จะมีค่าใช้จ่ายด้านไอซีที่เฉลี่ยประมาณ 34,300 ล้านบาทต่อแห่ง

ด้าน นางจีราวรรณ บุญเพิ่ม รองเลขาธิการสถิติแห่งชาติ กล่าวเสริมว่า ระบบการชำระเงิน ค่าสินค้าและบริการที่ได้รับความนิยมคือ การชำระผ่านอีแบงกิ้งและเอทีเอ็ม 41.4% ชำระผ่านบัตรเครดิต 34.5% และอีก 31% ที่ให้ชำระผ่านตัวกลางอย่างเบย์สบาย ไทยอี-เบย์

ส่วนการจัดส่ง สินค้า 86.3% เป็นการจัดส่งเอง อีก 28% ใช้การเอาต์ซอร์ซ ส่วนระยะเวลาในการจัดส่งสินค้า 44.2% ส่งมอบได้ภายใน 2-3 วัน อีก 20.3% เท่านั้นที่ส่งสินค้าได้ภายในวันเดียว

ขณะที่สรุปผลการวิเคราะห์ ข้อมูลพบว่า จุดอ่อนที่อีคอมเมิร์ซจะต้องเร่งปรับปรุงได้แก่ การบริหารจัดการ ของบริษัท แผนการประชาสัมพันธ์และการเข้าถึงลูกค้า และความเชื่อมั่นของคู่ค้าและลูกค้าที่จะใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนี้ยังพบว่าการพัฒนาออกแบบเว็บไซต์ และการตลาด ในหลายอุตสาหกรรม อาทิ คอมพิวเตอร์ ท่องเที่ยวและบริการ มีจุดอ่อนต้องปรับปรุง

สำหรับปัญหา ที่รัฐต้องเร่งปรับปรุง ได้แก่ การสร้างมาตรการจูงใจและส่งเสริมผู้ประกอบการ อาทิ มาตรการลดหย่อนภาษี การจัดหาแหล่งทุน การประชาสัมพันธ์ให้เกิดความเข้าใจและมั่นใจ ในการใช้อีคอมเมิร์ซ ก
รกำหนดนโยบายและมาตรการคุ้มครองผู้ซื้อผู้ขาย การสร้างระบบมาตรฐานสำหรับความปลอดภัยในการซื้อสินค้าและการคุ้มครอง ลิขสิทธิ์ การพัฒนาหน่วยงานในการติดตามแก้ไขปัญหาที่กระทำผิดผ่านเครือข่าย คอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

]]>