<![CDATA[

รัฐบาลจีนโชว์แผนสร้างพื้นที่บันเทิงกรุงปักกิ่งออนไลน์หรือ เชื่อจะสามารถเป็นแรงผลักดันให้ภาคการผลิตของจีนเข้าสู่วงการ อีคอมเมิร์ชได้อย่างสง่างาม อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญด้านวงจรผลิตภัณฑ์ชี้ฝันนี้ของรัฐบาลมังกรยังห่างไกลความจริง นัก ฟันธงการเชื่อมผู้ผลิตสัญชาติจีนเข้ากับผู้บริโภคหลายล้านคนทั่วโลกไม่ สามารถเป็นไปได้
       

       โครงการสร้างพื้นที่บันเทิงปักกิ่งออนไลน์แบบสามมิตินี้มีชื่อเต็ม ว่า Beijing Cyber Recreation District โดยชิ เตา โรเบิร์ต เหล่ย ประธานฝ่ายวิทยาศาสตร์โครงการอธิบายว่าโครงการนี้จะเป็นโอกาสให้สินค้า" เมดอินไชน่า"ทุกชิ้นสามารถทำการตลาดบนเว็บไซต์ได้ ซึ่งผู้ซื้อจะสามารถสั่งซื้อได้มากเท่าที่ต้องการ ที่สำคัญ โรงงานในจีนจะสามารถผลิตสินค้าตามสั่งและจัดส่งให้กับลูกค้าได้โดยไม่ต้อง ผ่านพ่อค้าคนกลางอีกต่อไป
       
       ตาม ข้อมูลจากรอยเตอร์ส โครงการโลกสามมิตินี้จะเป็นโลกจำลองของโครงการ China Recreation District หรือ CRD ซึ่งประกอบด้วยธีมปาร์ค ศูนย์สรรพสินค้า และพื้นที่หย่อนใจที่ถูกสร้างขึ้นในปักกิ่งสำหรับใช้ในมหกรรมโอลิมปิกส์ 2008 โดยแม้ขณะนี้เว็บไซต์ของผู้ประกอบการใน CRD บางรายจะเปิดใช้งานแล้วในภาษาจีน แต่เหล่ยเชื่อว่าการเปิดให้ผู้บริโภคสามารถติดต่อกับผู้ผลิตโดยตรงจะเริ่ม ให้บริการได้ในครึ่งปีหลังของปีหน้า
       
       เหล่ยระบุว่าโครงการนี้ไม่ได้ขัดขวางกลุ่มพ่อค้าคนกลาง โดยจะเปิดให้ติดต่อซื้อขายได้สำหรับนำไปจัดส่งให้แก่ผู้บริโภคซึ่งไม่ใช่ ชาวจีนอีกทอดหนึ่ง
       
       "นี่จะทำให้คุณมองประเทศจีนในทิศทางที่เปลี่ยนไป" เหล่ยกล่าวไว้ในงานประชุมเทคโนโลยีโลกเสมือนหรือ Virtual Worlds Conference & Expo ซึ่งจัดในซานโฮเซ่ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา "เรากำลังพยายามเชื่อมมนุษย์กับคอมพิวเตอร์ให้สามารถตอบความต้องการในวิถี ชีวิตของคนทั่วไปได้"
       
       เป็นไปไม่ได้?
       
       เหล่ยยกตัวอย่างว่า หากกางเกงตัวโปรดของคุณถูกใส่จนเปื่อย ก็สามารถสั่งซื้อใหม่ได้จากโรงงานผลิตเดิมโดยตรง จุดนี้ผู้เชี่ยวชาญด้านวงจรผลิตภัณฑ์หรือ supply-chain ระบุว่าเป็นไปไม่ได้ที่โครงการนี้จะฉายเดี่ยวแสดงบทบาทเป็นสื่อกลางเพื่อ เชื่อมโรงงานผู้ผลิตในจีนหลายหมื่นรายเข้ากับผู้บริโภคทั่วไปหลายล้านคน ทั่วโลก

       
       อย่างไรก็ตาม ความฝันในการลดบทบาทพ่อค้าคนกลาง นายหน้า ผู้ขนส่ง หรือแม้แต่ผู้ค้าปลีก ของโครงการนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ ที่ผ่านมา บริษัทรถยนต์อย่างโตโยต้ามอเตอร์ (Toyota Motor) ของญี่ปุ่นเองก็เริ่มกลยุทธ์การผลิตแบบ "just-in-time" เพื่อลดระยะเวลาที่เสียไปในขั้นตอนการผลิตตั้งแต่ปี 1950 ทำให้กระบวนการบางจุดถูกตัดทิ้งไปเพื่อความกระชับและมีประสิทธิภาพ
       
       57 ปีมาแล้วที่รถยนต์สามารถดำเนินกลยุทธ์ just-in-time แต่การวิเคราะห์ชี้ว่าสินค้าราคาที่แพงน้อยกว่าเช่น เสื้อผ้า สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และของเล่นนั้นกลับจะยังคงต้องใช้เวลาอีกหลายปีนับจากนี้กว่าจะเริ่มดำเนิน การได้ และกลยุทธ์ที่จะทำให้แรงงานราคาถูกในจีน ศรีลังกา เวียดนาม และประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ มีราคาถูกลงไปอีกคือการที่ผู้ค้าปลีกทั่วโลกสั่งซื้อสินค้าในปริมาณมาก ก่อนจะนำไปวางขายในร้านค้าออนไลน์หรือห้างสรรพสินค้า
       
       "ใน ระยะยาว จริงอยู่ที่เทคโนโลยีจะทำให้เราสามารถผลิตแบบ just-in-time และผลิตตามความต้องการของลูกค้าได้จริง แต่อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคก็ยังให้ความสำคัญกับร้านค้าออนไลน์อยู่" ตัวแทนบริษัทบาร์เล็ต ที่ปรึกษาร้านค้าปลีกรายใหญ่สัญชาติอเมริกันอย่างแก็ป (Gap) และวอลมาร์ท (Wal-Mart) "ผู้คนซื้อของออนไลน์เพราะความสะดวกสบาย แล้วหากสินค้าที่ผู้ซื้อต้องการไม่สามารถจัดส่
ถือมือได้ภายใน 6 สัปดาห์เพียงเพราะมันทำในจีน แล้วคุณค่าของสินค้าชิ้นนั้นจะอยู่ที่ไหน"
       
       อีเบย์เวอร์ชั่นใหญ่

       
       เหล่ยยอมรับว่าเป็นไปไม่ได้ที่โรงงานจะผลิตสินค้าตามสั่งขึ้นเพียง ชิ้นเดียว โดยโรงงานจะรอจนกว่ามีผู้สั่งซื้อสินค้ารายอื่นๆแบบเดียวกันจึงจะเริ่มผลิต จากนั้นจะสามารถจัดส่งได้ภายในหนึ่งหรือสองวัน และระบุว่าโครงการ CRD จะสามารถเป็น"อีเบย์"เวอร์ชันใหญ่ด้วยการเปิดให้ผู้ซื้อและผู้ขายทั่วโลก เข้ามาประมูลราคาสินค้าได้
       
       สำหรับเทคโนโลยีที่ใช้ในโครงการ เหล่ยระบุว่าจะใช้เทคโนโลยีจากบริษัท MindArk ของสวีเดน ผู้สร้างโลกเสมือน "Entropia Universe" อันโด่งดัง ใช้ระบบธุรกรรมอีคอมเมิร์ชของ Paynova และใช้เทคโนโลยีกราฟิกของ CryTek จากเยอรมัน
       
       หมากตานี้ของรัฐบาลจีนคงต้องจับตาดูอีกยาวไกล ในยุคที่สินค้าจากจีนถูกสหรัฐเล่นงานเรื่องคุณภาพและสารพิษในสินค้าเช่นนี้

โดย ผู้จัดการออนไลน

]]>