<![CDATA[
สำหรับท่านที่ต้องการสมัครนำ Google Adsense ไปติดไว้ที่เว็บไซต์ของคุณ วันนี้ผมมีคำแนะนำการสมัครครับ ก่อนอื่นที่คุณจะสมัคร Google Adsense คุณจะต้องดูหัวข้อต่างๆ ต่อไปนี้ก่อนครับ ว่าเว็บไซต์ของคุณสามารถสมัครได้หรือไม่?
– เว็บไซต์ (ตอนสมัคร) ต้องเป็นเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาภาษาอังกฤษ
– เว็บไซต์ ต้องมีเนื้อหาถูกต้อง ไม่มีสิ่งใดผิดกฏหมายหรือมีภาพโป๊
เริ่มต้นการสมัคร Google Adsense
******************************************************************
ในการสมัคร คุณใช้แค่เพียง email และชื่อเว็บไซต์ที่จะนำโฆษณาไปวางไว้ และกรอกข้อมูลให้ครบถ้วนในช่องต่างๆ ได้แก่ เช่นชื่อ-นามสกุลผู้รับเงิน ที่อยู่สำหรับส่งเช็กไปให้ เพียงแค่นี้ คุณก็สามารถเริ่มต้นการสมัครใช้บริการได้ทันที หลังจากสมัคร Google จะส่งอีเมล์ไปที่อีเมล์ของคุณเพื่อยืนยันว่าอิเมล์มีตัวตน หลังจากคุณสมัครแล้วทาง Google จะใช้เวลา 2-3 วันในการตรวจสอบคำขอของคุณว่าถูกต้องตามกฏของ Google Adsense รึเปล่า หากทุกอย่างถูกต้อง ก็จะมี email แจ้งกลับในการให้เริ่มต้นเข้าไปใช้บริการได้ หรือหากไม่ได้ ก็จะมี email แจ้งกลับเช่นกัน พร้อมเหตุผลที่ไม่สามารถสมัครได้ โดยเหตุผลที่หลายๆ เว็บไซต์ในไทยส่วนใหญ่โดนกันคือ ไม่รองรับเว็บไซต์ภาษาไทย
วิธีการแก้ปัญหาของหลายๆ คนทีทำกันคือ สร้างหรือไปหาเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาภาษาอังกฤษ (เดียวนี้สร้างเว็บไซต์ง่ายมาก เช่นพวก เว็บสำเร็จรูป, CMS ของหลายๆ แห่ง) แล้วใช้เว็บไซต์เหล่านั้นสมัคร หลังจากสมัครได้แล้ว ก็เริ่มเข้าสู่ขั้นตอนการนำ โฆษณาไปติดไว้ที่เว็บไซต์ของคุณกัน
สำหรับผู้ที่ต้องการเริ่มต้นการสมัครสมาชิกกับ Google Adsense ให้คลิก แบนเนอร์ด้านล่างเลยครับ
เลือกรูปแบบโฆษณาที่จะนำไปติดที่เว็บ
******************************************************************
หลังจากสมัครสมาชิกได้แล้ว ให้คุณ login เข้าไปในระบบของ Google Adsense โดยเข้าไปที่ http://adsense.google.com/ เมื่อเข้าไปในระบบคุณสามารถเลือกสร้างเงินให้กับเว็บไซต์ของคุณได้หลายวิธี ได้แก่
– AdSense for Content
การนำโฆษณาที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับเว็บไซต์ไปติด (Contextual Advertising) http://www.pawoot.com/content/display/detail_preview.asp?CONT_ID=100 โดยคุณสามารถปรับ รูปแบบ ขนาด สีสันของโฆษณาให้มีความสอดคล้องกับเว็บไซต์ของคุณได้อีกด้วย –
ภาพ : รูปแบบของโฆษณาแบบ AdSense for Content– AdSense for Search
การนำช่องค้นหา (Search Box) ไปติดไว้ที่เว็บไซต์ของคุณ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถค้นหาเว็บไซต์ได้ทั่วโลก หรือจะค้นหาข้อมูลในเว็บไซต์ของคุณเท่านั้นก็ได้ และเช่นกัน คุณยังสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบของช่องค้นหาให้มีความเหมาะสมกับเว็บไซต์ของคุณได้อย่างไม่ยาก คุณจะได้รายได้จากการคลิกเว็บไซต์ที่ อยู่ในตำแหน่งสปอนเซอร์ ของผลการค้นหาที่แสดงออกมาจากการค้นหา
ภาพ : รูปแบบของโฆษณาแบบ AdSense for Search
การนำโฆษณาไปติดที่เว็บ
******************************************************************
หลังจากคุณได้เลือกรูปแบบของโฆษณาที่จะนำไปติดในเว็บแล้ว ระบบของ Google Adsense จะสร้าง โค๊ดภาษายึกๆ ยือ มาให้คุณ 1 ชุด เพื่อให้คุณนำโค๊ดเหล่านี้ไปวางไว้ในเว็บไซต์ของคุณ ในตำแหน่งที่คุณคิดว่า ที่จะมีคนมาเห็นโฆษณาของคุณ
+++++++++++++++++ ตัวอย่างบางส่วนของโค๊ด +++++++++++++++++
<!– SiteSearch Google –>
<form method="get" action="http://www.google.com/custom" target="_top">
……………………………..
……………………………..
</form>
<!– SiteSearch Google –>
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
หลังจากคุณได้นำโค๊ดไปวางไว้ที่เว็บแล้ว ให้ลองดูเว็บไซต์ที่คุณนำโค๊ดไปติด เมื่อหน้าเว็บแสดงออกมา ในตำแหน่งที่คุณนำโค๊ดไปติด จะเปลี่ยนเป็นรูปแบบของโฆษณาที่คุณได้เลือกนำไปวางไว้
การคิดเงินส่วนแบ่งให้กับเว็บไซต์ของคุณ
******************************************************************
รูปแบบของโฆษณาของ Google Adsense จะเรียกว่า "จ่ายเมื่อคลิก" (Pay Per Click – PPC) ดังนั้นหากโฆษณาของ Google จะแสดงกี่ร้อยพันครั้ง คุก็จะไม่ได้เงินซักบาท หากตราบใดที่ยังไม่มีคนคลิกโฆษณาที่แสดงในหน้าเว็บไซต์ของคุณ
และเมื่อใดก็ตามที่มีการคลิกโฆษณาในเว็บไซต์ของคุณ คุณก็จะได้เงิน "ส่วนแบ่ง" จากการโฆษณา โดยรูปแบบส่วนแบ่ง โดยรูปแบบของส่วนแบ่งและรายได้ที่คุจะได้ในแต่ละคลิกนั้นไม่แน่นอน ซึ่งทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับ เว็บไซต์ผู้มาลงโฆษราที่ได้มีการคลิกไปว่ามีการจ่ายเงินให้กับ Google มากน้อยแค่ไหน หากมีการจ่ายค่าโฆษณาต่อคลิกไว้มาก เว็บไซต์คุณก็จะได้เงินจากส่วนนี้มากตามด้วย
ภาพ : หน้ารายการการได้รายได้จากโฆษณา
การรับเงินจาก Google
******************************************************************
ทาง Google จะจ่ายให้เงินกับคุณทางเช็ค หรือ EFT (Electronic Fund Transfer) ซึ่งสำหรับในเมืองไทย การส่งเช็คมาน่าจะเป็นวิธีที่ดีทีสุดแล้ว โดยคุณจะได้รับเงินภายใน 30 วันหลังจากสิ้นเดือนที่คุณได้เงินถึง $100 สำหรับการส่งเช็คมาให้มี 2 แบบคือส่งแบบธรรมดา กับส่งแบบลงทะเบียน ซึ่งแบบหลังจะต้องเสียค่าใช้จ่าย $24 (เกือบพันบาท)
ภาพ : เช็กที่ได้จาก Google
หาเงินง่ายๆ จากการแนะนำบริการต่อ
******************************************************************
นอกจากนี้ ทาง Google ได้เพิ่มโอกาสในการหารายได้ให้ Publisher โดยได้เสริมโครงสมาชิกแนะนำสมาชิกหรือ Referral Program โดยทางสมาชิก adsense สามารถนำCode" ปุ่มแนะนำโปรแกรม Google Adsense " ไปติดไว้ที่หน้าเว็บเพจของตนเอง และเมื่อมีผู้คลิ๊กสมัครเป็นสมาชิก Adsense และ สมาชิกแนะนำนั้นสามารถทำรายได้ 100 ดอลล่าร์แรก ผู้แนะนำก็จะได้รับ 100 ดอลล่าร์ด้วยเช่นกัน
ยกตัวอย่างเช่น สมมติว่านาย A คลิ๊กปุ่ม Referral เพื่อสมัคร Adsense จากเว็บของนาย B นาย A ก็เหมือนเป็น Downline ของ นาย B (พูดง่าย ๆ ว่า เป็น "ลูกน้อง" ก็แล้วกัน) และ ต่อมาเว็บนาย A สามารถทำรายได้ $ 100 แรกได้ นาย B เองก็จะได้ $ 100 ด้วยเหมือนกัน คือลูกน้องทำลูกพี่ก็ได้ด้วยแต่เฉพาะ $ 100 แรกเท่านั้น
สำหรับผู้ที่ต้องการเริ่มต้นการสมัครสมาชิกกับ Google Adsense ให้คลิก แบนเนอร์ด้านล่างเลยครับ
เกณฑ์ในการการวางโฆษณาในเว็บไซต์
*****************************************************
– สามารถวางได้มากถึง 3 โฆษณาในหน้าเว็บหน้าเดียว
– สำหรับวาง Google Adsense Search box ได้สูงสุด 2 ตำแหน่งต่อหนึ่งหน้าเว็บ
– ห้ามวาง Google Ads ไว้หน้าของ Domain Parking หรือโฆษณา Pop-ups, Pop-Unders หรือใน e-Mail
– ห้ามวาง Google Ads ในหน้าเว็บที่ไม่มีข้อมูลเลย
– หน้าวาง Google Ads ในหน้าที่ทำขึ้นมาสำหรับการแสดง Ads เพียงอย่างเดียว
– หน้าเว็บไซต์ที่วาง Ads ต้องไม่มีส่วนใดไปปิดบัง หรือแอบซ่อนส่วนใดส่วนหนึ่งของ Ads ทั้งรูปแบบ, สีสัน รวมถึงตัวหนังสือ และ URL ของ Ads ที่แสดง
– การกดโฆษณาของ Google Ads ห้ามเป็นการกดแล้วมีหน้าใหม่ออกมาแสดง ให้เป็นการใช้หน้านั้นในการแสดงผลของโฆษณา
– ห้ามนำ Ads ไปแสดงในโปรแกรม หรือ application
– ห้ามแก้ไข ส่วนหนึ่งส่วนใดของ code ของ ads โฆษณาที่นำไปลง
เว็บไซต์ที่ห้ามนำโฆษณาไปลง
*****************************************************
– เว็บไซต์ที่มี ภาพโป๊
– เว็บไซต์ที่เกี่ยวกับการพนัน คาสิโน
– เว็บไซต์ที่เกี่ยวกับโฆษณามากเกินไป
– เว็บไซต์ที่มีคำหยาบคาย
– เว็บไซต์ที่มีความรุนแรง และต่อต้านกลุ่มหรือองค์กรต่างๆ
– เว็บไซต์ที่เกี่ยวกับ Hacking หรือ Cracking
– เว็บไซต์ที่เกียวกับ ยา อุปกรณ์การแพทย์ที่ผิดกฏหมาย
– เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งผิดกฏหมาย
]]>