<![CDATA[
C-Convenience
C-Convenience คือการ ออกแบบเว็บไซต์ให้สามารถใช้งานได้อย่าง "ง่ายและสะดวก" (Web Usability) ซึ่ง การทำให้เว็บไซต์สามารถใช้งานได้ง่ายและสะดวก จะช่วยทำผู้ใช้งานเว็บไซต์คุณ สามารถเข้าถึงข้อมูลหรือบริการต่างๆของคุณได้อย่างถูกต้องและ ครบทุกส่วน ซึ่งจะทำให้เว็บไซต์คุณสามารถ ตอบสนองการใช้งานกับผู้ใช้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ซึ่งการจะทำอย่างไรถึงจะทำให้เว็บไซต์ของเราสามารถใช้งานง่ายและสะดวก เราสามารถทำได้จากการศึกษาข้อมูลต่างๆ เช่น
· พฤติกรรมผู้ใช้บริการ
· ข้อมูลสถิติของเว็บไซต์คุณ (ช่วงเวลาที่เข้ามาบ่อยๆ, รุ่นของ internet browser, ขนาดของหน้าจอ เป็นต้น)
· ข้อมูลอื่นๆ
แล้ว นำข้อมูลเหล่านี้มารวบรวมและวิเคราะห์ เพื่อนำมาปรับปรุงการออกแบบและการบริการภายในเว็บไซต์ของคุณ วิธีการง่ายๆ ในการทราบถึงข้อมูลเหล่านี้ก็เพียงไปสมัครใช้บริการ Truehits.net ครับ ฟรีด้วย ( อ่านบทความ " วันนี้เว็บไซต์คุณติด Truehits แล้วรึยัง? ) ให้ผู้ใช้เกิดความง่ายและสะดวกในการใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างสูงสุด ในทุกๆ ด้าน ได้แก่
1. "ดู" ง่าย
การออกแบบเว็บไซต์ควรจะเป็นการออกแบบให้ดูเรียบง่าย (Simply) เพราะ การออกแบบเว็บไซต์ที่ดูง่าย จะทำให้ผู้ใช้สามารถรับรู้และเข้าใจในข้อมูลที่คุณต้องการสื่อสารได้อย่าง ทันที โดยการออกแบบที่ดูง่ายนั้นมีหลายองค์ประกอบ เช่น
· การวางรูปแบบ (Layout)
ควร เลือกการวางรูปแบบของเว็บไซต์ให้เหมาะกับประเภทของเว็บไซต์ เช่นเว็บไซต์คุณข้อมูลเนื้อหามากและมีความาหลากหลาย อาจจะแบ่งหน้าเว็บไซต์ออกเป็น 3 คอลัมภ์ในการนำเสนอข้อมูล เพื่อจะสามารถแสดงข้อมูลได้มากกว่าการแสดงเนื้อหน้าเดียวเต็มๆ
ภาพ : การวาง Layout ของหน้าเว็บ
· รูป
าพ และไอค่อน ( Image & Icon)
บาง ครั้งการใช้รูปภาพหรือ ไอค่อนอาจจะสามารถนำเสนอได้ดีกว่าการใช้ตัวหนังสืออธิบาย และต้องควรระวัง ไม่ควรใช้รูปภาพมากเกินไป และขนาดของภาพต้องไม่ใหญ่จนเกินไป เพราะจะส่งผลทำให้เว็บไซต์คุณช้าได้ แต่หากจำเป็นต้องใช้ภาพที่ใหญ่ ก็ควรใช้วิธีตัดภาพออกเป็นชิ้นๆ เพื่อที่ทำให้การนำเสนอภาพได้เร็วยิ่งขึ้น และควรใช้คำอธิบายภาพ (alt) ด้วยเพื่อให้ผู้ชมสามารถเข้าใจว่าภาพนั้นคือภาพอะไรในกรณีที่ภาพนั้นไม่แสดง เช่น <IMG src="ThaiSecondhand_logo.gif" .. alt="ThaiSecondhand_logo" >
ภาพ : ภาพและไอค่อน
· ขนาดตัวอักษร (Font) และการจัดหน้า
การ ใช้ขนาดตัวอักษร ภายในเว็บควรใช้ขนาดที่ไม่เล็กจนเกินไป อ่านสบายตา บางเว็บมีบริการที่ผู้ใช้สามารถปรับขนาดตัวอักษรผ่านหน้าเว็บไซต์ได้เลย เช่น www.manager.co.th และควรมีการแบ่งย่อหน้า หรือแบ่งเนื้อหาออกเป็นส่วนๆ เพื่อให้ง่ายต่อการอ่าน และควรมีการทำหัวข้อ ของข้อความให้ใหญ่และชัดเจน
ภาพ : การขยาย Font จากหน้าเว็บ
· การออกแบบระบบนำทางที่ดี (Navigation)
ควรมี วางระบบ การนำทาง (Navigation) ว่า ตอนนี้ผู้ใช้อยู่ส่วนไหนของเว็บ ในตำแหน่งที่เห็นเด่นชัดและอยู่ในพื้นที่ๆ เดียวกัน ของทุกๆ หน้า เพื่อที่ผู้ใช้สามารถรู้ว่าตัวเองอยู่ในส่วนไหนของเว็บไซต์และสามารถกลับ หรือไปยังหน้าอื่นๆ ต่อได้อย่างสะดวก
ภาพ : ระบบนำทางในเว็บ Navigation
· มี Site map ในเว็บ
Site map เป็นหน้าที่รวบรวม ข้อมูลหรือบริการทั้งหมดในเว็บไซต์ เพื่อให้คนสามารถเข้าถึงหน้าเว็บต่างๆ ที่อาจจะอยู่ลึกๆ ได้อย่างง่าย ดูตัวอย่างที่ http://www.thaisecondhand.com/sitemap.html
2. "เรียนรู้" ได้ง่าย (easy to learn)
เว็บไซต์ ของคุณ ต้องออกแบบให้ผู้ใช้สามารถเรียนรู้วิธีการใช้งานเว็บไซต์ได้ง่าย ถึงแม้ผู้ใช้ท่านนั้นอาจจะไม่เคยใช้เว็บไซต์คุณมาก่อน ก็สามารถใช้งานเว็บไซต์คุณได้ทันที โดยที่ไม่ต้องเรียนรู้วิธีการใช้งานเว็บไซต์คุณมากมายนัก เช่น วิธีการเข้าไปดูข้อมูลภายในเว็บไซต์ มีการออกแบบเมนูที่สามารถเข้าใจได้ง่าย ๆว่าต้องกดตรงไหนถึงสามารถเข้าถึงข้อมูลเหล่านั้นได้ หรือบางเว็บอาจจะมีการนำรูปแบบการออกแบบเว็บไซตืที่เป็นมาตรฐาน มาประยุกต์ใช้กับเว็บไซต์คุณทำให้ผู้ใช้สามารถ เข้าใจในการใช้งานเว็บไซต์คุณได้ทันที
3. "จดจำ" วิธีการใช้งานได้ง่าย
คง ไม่เป็นการดีแน่ หากผู้ใช้เว็บไซต์ของคุณต้องมานั่งจดจำวิธีใช้บริการภายเว็บไซต์คุณทุก ครั้งที่เข้ามาใช้บริการ ดังนั้นการออกแบบเว็บไซต์ที่ดีนั้น นอกจากการออกแบบที่สามารถเรียนรู้การใช้งานได้ง่ายแล้ว ควรจะออกแบบให้สามารถจดจำวิธีการใช้งานได้ง่ายอีกด้วย เพราะจะทำให้ผู้ที่เคยใช้บริการไปแล้วสามารถกลับมาใช้บริการใหม่ได้อย่าง รวดเร็ว และไม่ต้องมานั่งเรียนรู้วิธี หรือจดจำวิธีการใช้งานอีกครั้ง
4. "เข้าถึง" ได้ง่าย
ความ รวดเร็วในการเข้าชมเว็บไซต์ ถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้เว็บไซต์คุณประสพความสำเร็จ คุณควรจะทดสอบวัดความเร็วในการใช้งานของเว็บไซต์คุณหลังการออกแบบ ที่อินเทอร์เน็ตความเร็ว 56 Kbps.
เพราะบางคนอาจจะใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่ และทดสอบดูแล้วเว็บเข้าได้อย่างรวดเร็ว (มาก) แต่ไม่ทดสอบที่ความเร็ว 56 Kbps ซึ่งอาจจะประสพปัญหาความช้าของการแสดงผลของข้อมูลได้
การ วัดผลความเร็วของเว็บไซต์ควรวัด ในหลายๆ ช่วงเวลาในหนึ่งวัน เช่น เช้า กลาวัน กลางคืน และ หลาย ๆวันในช่วงสัปดาห์ เพื่อสามารถรู้ได้ถึงความเร็วเฉลี่ยข
งเว็บไซต์คุณลองไปวัดผลการผลของ เว็บไซต์คุณได้ที่ http://www.websiteoptimization.com/sitemap.html
5. ใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ (efficient to use)
การ ออกแบบเว็บไซต์ ควรจะมีการออกแบบเพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถทำให้ผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงสิ่งที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว เช่น ซึ่งปกติการเลือกซื้อสินค้าผ่านเว็บไซต์ทั่วไปจะต้องมีการกด 3-4 ขั้นตอน ถึงจะสามารถซื้อสินค้าได้สำเร็จ แต่ที่เว็บไซต์ Amazon.com มีบริการ 1-Click Order ซึ่งทำให้คุณสามารถซื้อสินค้าได้ทันที ที่กดเพียงแค่ครั้งเดียว สะดวกไหมละ ฮ่าๆ
6. การเจอปัญหาและการแก้ไข
เรา คงไม่สามารถหลีกเลี่ยงการเจอปัญหาการใช้งานเว็บไซต์ได้ แต่หากผู้ใช้ เจอปัญหาในการใช้งาน หรือ ใช้งานเว็บไซต์คุณไม่เป็น คุณควรจะมีระบบที่ช่วยเหลือหรือให้คำแนะนำ ผู้ใช้บริการให้สามารถหาทางแก้ไขปัญหาต่างๆ หรือ เรียนรู้การแก้ใขด้วยตัวเองได้อย่างรวดเร็ว เพื่อทำให้ผู้ใช้สามารถใช้บริการเว็บไซต์คุณได้ต่อ และเพื่อเป็นการลดการติดต่อหรือสอบถามเข้ามาหาคุณ
ระบบที่จะสามารถช่วยเหลือผู้ใช้บริการในเว็บที่ควรมี ได้แก่
1. Help ข้อมูลช่วยเหลือในการใช้งานเว็บไซต์
2. FAQ (Frenquntly Asked Question) คำถามที่ถูกถามเข้ามาบ่อยๆ ที่มีคำตอบให้
3. แบบฟอร์มติดต่อสอบถาม ในกรณีที่ไม่สามารถหาคำตอบได้ ซึ่งจะเป็นสอบถามตรงไปยังเว็บไซต์
ภาพ : help
ทั้ง หมดนี้เป็นองค์ประกอบที่ช่วยทำให้เกิดความ "ง่ายและสะดวก" ที่คุณควรจะนำไปใช้ในเว็บไซต์ของคุณ เพื่อที่จะสามารถเพิ่มยอดจำนวนคนเข้าและยอดขายสินค้าภายในเว็บไซต์คุณได้ แต่ บางครั้ง เว็บไซต์บางประเภทก็จะมีรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งความง่
ายละความสะดวกก็จะมีมากน้อยแตกต่างกันออกไปด้วย ซึ่งก็ควรพยายามทำให้อยู่บนพื้นฐานของการใช้งานง่ายและสะดวกที่สุดนะครับ..
เขียนโดย
Pawoot P. 2012/04
6 C กับความสำเร็จของเว็บไซต์ (ทั้งหมด)
5. ตอนที่ 5 C-Customization : http://www.pawoot.com/node/171/
6. ตอนที่ 6 C-Convenience : http://www.pawoot.com/node/274
]]>