<![CDATA[
คุณสามารถเลือกรูปแบบโมเดลการทำธุรกิจของ E-Commerce ให้มีเหมาะสมกับ ธุรกิจของคุณได้ โดยรูปแบบของโมเดลทางธุรกิจมี 2 รูปแบบดังนี้
1. คลิกและมอต้าร์ (Click* and Mortar**)
คือ E-Commerce ที่มีรูปแบบการที่มีการผสมผสานกันระหว่าง ผู้ที่มีธุรกิจร้านค้าหรือมีบริษัท เปิดให้บริการทำการค้าจริงๆ และมีเว็บไซต์เป็นอีกช่องทางในการค้าขาย โดยการค้าในรูปแบบนี้จะเป็นผสมผสานเชื่อมต่อการซื้อขายทั้งสองช่องทางด้วยกันได้ เพื่อให้ศักยภาพในการค้าสูงสุด ในการรองรับลูกค้าทั้งสองช่องทาง เช่น ลูกค้าสามารถสั่งซื้อสินค้าผ่านเว็บไซต์ และไปรับสินค้าที่หน้าร้านได้ เป็นต้น ยกตัวอย่างร้านขายสินค้า อาหารต่าง ชื่อ ร้านวิจิตร ที่เปิดร้านค้าขายสินค้า อาหารทะเล เครื่องเทศ หรือ อุปกรณ์ทำอาหารต่างๆอยู่ ในตลาดย่านสะพานใหม่ ดอนเมือง มานาน ได้มาเปิดเว็บไซต์ชื่อ http://www.VijitMarketThai.com ขึ้นมา เพื่อเป็นช่องทางใหม่ ให้ลูกค้าสามารถสั่งซื้อสินค้าต่างๆ ผ่านทางเว็บไซต์ได้อย่างสะดวก โดยหลังจากเปิดเว็บไซต์ พบกว่าลูกค้าสามารถทำการเลือกซื้อสินค้าผ่านเว็บไซต์ได้ด้วยตัวเอง และทางร้านค้าจะจัดส่งสินค้าไปให้ได้ทั่วประเทศ หรือจะสามารถเลือกมารับสินค้าที่หน้าร้านค้าก็ได้ ซึ่งถือเป็นการนำเว็บไซต์มาผสมผสานกับหน้าร้านหรือธุรกิจได้อย่างลงตัว ทำให้เกิดศักยภาพทางการค้าขายขึ้นสูงจากเดิมมาก
2. คลิกกับคลิก (Click and Click)
คือ E-Commerce ที่มีรูปแบบการค้าขายหรือการให้บริการ ผ่านทางเว็บไซต์และอินเทอร์เน็ต เพียงช่องทางเดียวเท่านั้น ไม่มีธุรกิจหรือหน้าร้านค้าจริงๆ ให้คนสามารถไปซื้อหรือรับสินค้าได้ ดังนั้นเมื่อลูกค้าสั่งซื้อสินค้าจากเว็บไซต์ ทางเว็บไซต์จะทำการส่งสินค้าไปให้ลูกค้าถึงที่อยู่ของลูกค้านั้นๆ ยกตัวอย่างเช่น เว็บไซต์ http://www.ToHome.com
หมายเหตุ : คำว่า “คลิก” ในที่นี้คือเสียงคลิกเมาส์ เปรียบได้กับการใช้เว็บไซต์เป็นช่องทางการค้าขาย ส่วนคำว่า "มอต้าร์” ในที่นี้คือการก่ออิฐสร้างบ้านอาคาร เปรียบได้กับ ธุรกิจที่มีหน้าร้านค้าจริงๆ
เปรียบเทียบระหว่าง คลิกและมอต้าร์ และ คลิกกับคลิก
หากเปรียบเทียบระหว่างการทำ E-commerce ในรูปแบบ คลิกและมอต้าร์ และคลิกกับคลิก นั้นมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันออกไป แล้วแต่ว่าความเหมาะสมของแต่ละคนหรือธุรกิจ
• คลิกกับคลิก จะเหมาะสำหรับ “ผู้ที่ต้องการจะเริ่มต้นทำธุรกิจใหม่”
ข้อดี คือ เป็นการลงทุนน้อยและสามารถเริ่มต้นได้อย่างรวดเร็วเพราะแค่จัดทำเว็บไซต์ ก็สามารถเริ่มต้นทำการค้าขายได้แล้ว และเป็นรูปแบบการทำงานที่อิสระ ไม่ยึดติดกับรูปแบบบริษัท ทำให้มีความยืดหยุ่นสูงในการบริหารหรือจัดการ
ข้อเสีย คือ ด้วยความที่เริ่มต้นได้ง่าย และรวดเร็วทำให้บางครั้งอาจขาดประสบการณ์ หรือการบริหาร และความชำนาญในการทำการตลาดหรือการเข้าใจธุรกิจที่ทำอยู่ รวมถึงการสร้างฐานลูกค้าจะต้องสร้างเองใหม่ทั้งหมด และการความน่าเชื่อถือ เพราะธุรกิจทั้งหมดอยู่บนเว็บไซต์ ซึ่งบางครั้ง ลูกค้าบางคนอาจจะไม่ค่อยเชื่อถือหรือมั่นใจในการทำการค้าขายกับธุรกิจที่มีแต่เว็บไซต์เหมือนกับธุรกิจที่มีหน้าร้านค้าจริงๆ (ดู วิธีการสร้างความเชื่อถือให้กับเว็บไซต์คุณ หน้า XX)
• คลิกและมอต้าร์ เหมาะสำหรับ “ผู้ที่มีธุรกิจการค้าเดิมอยู่แล้ว” อยู่แล้วละต้องการขยายเพิ่มช่องทางการค้าไปยัง
ั่วโลกหรือทั่วประเทศ ผ่านทาง E-Commerce
ข้อดี คือ ผู้ที่ทำจะมีความชำนาญในด้านธุรกิจนั้นๆ อยู่ก่อนแล้วทำให้การทำงานต่าง สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว และนอกจากนี้ยังสามารถมีฐานลูกค้าเดิมอยู่แล้ว ทำให้สามารถเริ่มต้นจากลูกค้ากลุ่มเดิมได้ และขยายออกไปได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงจะดูน่าเชื่อถือ และสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าได้ด้วย เพราะมีตัวตน มีหลักแหล่งที่ติดต่อที่แน่นอน
ข้อเสีย คือ ผู้ที่ทำได้จะต้องเป็นผู้ที่มีธุรกิจอยู่แล้วเท่านั้น หากเป็นผู้ที่ยังไม่มีธุรกิจและต้องการทำในรูปแบบนี้จะต้องมีการลงทุนที่สูง และยังจะต้องใช้คนเป็นจำนวนมากในการบริหารและจัดการระบบต่างๆ ทั้งหน้าร้านค้าจริงๆ รวมถึง เว็บไซต์
เวลาการทำงานส่วนใหญ่ จะต้องยึดติดกับระบบการทำงานของหน้าร้านค้าหรือบริษัท เช่น เปิดปิดเป็นเวลา จันทร์ถึงศุกร์ หากนอกเหนือเวลานี้ก็จะไม่มีคนมาคอยดูแลหรือรับรองลูกค้า
]]>