ผมได้มีการเก็บข้อมูลจากการจัดอันดับเว็บไซต์ของ Truehits.net ณ.วันเสาร์ที่ 25/7/10 โดยนำ 10 อันดับทั้งหมดมาวิเคราะห์ดูรายได้ของเว็บไซต์ที่อยู่ในอันดับทั้งหมดว่ามีรายได้เท่าไร โดยข้อมูลด้านรายได้เป้นของปี 2551 เป็นข้อมูลงบการเงินจาก กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (www.DBD.go.th) นำมาจัดอันดับ และนอกจากนี้ยังเป็นเก็บข้อมูล เวลาที่เปิดบริษัทมานานเท่าไร ทุนจดทะเบียน รูปแบบรายได้ขององค์กร รายได้-ค่าใช้จ่าย-กำไรในปี 2551 ของแต่ละบริษัท ลองมาดูละกันครับ

จากข้อมูล อันดับ 1-10 พบว่า บริษัทที่ให้บริการเว็บไซต์เป็นรูปแบบ Corporate = 6 และ รูปแบบ SME = 4 
(Corporate มีพนักงานเกิน 60 คนขึ้น สำหรับ SME มีพนักงานไม่เกิน 60)

จัดอันดับรายได้ของเว็บไซต์ไทยที่ติด 1-10 ของ Truehits ณ.วันที่ 26/7/10

การจัดอันดับด้านรายได้ของเว็บไซต์ที่ติดอันดับ ณ อันดับเว็บไซต์ของ Truehits.net ณ.วันเสาร์ที่ 25/7/10 โดยรายได้เป็นของปี 2551  ถ้าสรุปสั้นๆ ก็คือ Sanook มีรายได้มากที่สุด แต่ของ mthai.com มีกำไรมากที่สุด แต่เนื่องจากบางบริษัทที่นำข้อมูลมา อาจจะมีรายได้ หรือรายจ่าย นอกเหนือจากการทำเว็บไซต์ ดังนั้นข้อมูลที่นำมาแสดงถือเป็นข้อมูลแบบคร่าวๆ มากๆ อย่างนำไปอ้างอิงอะไรนะครับ ผมวิเคราะห์ไว้ดู ภาพรวมของอุตสาหกรรมเว็บไซต์ไทยครับ แต่สิ่งที่น่าสนใจคือ อันดับ 1-10 มีรูปแบบรายได้จาก "โฆษณาแทบทั้งหมดทุกเว็บไซต์" อาจจะมีบ้างที่มีรายได้จากการให้บริการ SMS หรือ บริการทางมือถือ ที่เพิ่มเข้ามาให้โครงสร้างรายได้เพิ่มมากกว่าเจ้าอื่นๆ

โดยรวมแล้ว หากมองดูตัวเลขของบริษัทที่เปิดให้บริการเว็บไซต์ในแง่รายได้ มีเพียงแค่ Sanook กับ mThai เท่านั้นที่มีรายได้ขึ้นหลักร้อยล้าน แต่อย่างที่บอกครับทั้งสองบริษัทนี้ มีรายได้จากส่วนอื่นๆ เข้ามาร่วมด้วย จึงทำให้รายได้มีสูงมากว่าเว็บไซต์อื่นๆ แต่หากเปรียบเทียบอุตสาหกรรมเว็บไซต์ของไทย เทียบกับต่างประเทศ ผมว่าเรายังห่างจากต่างประเทศอีกมาก

ปัจจัยที่ทำให้ อุตสาหกรรมเว็บไซต์ไทยเติบโตไปได้ช้าได้แก่

  1. โครงสร้าง Infrastructure Internet ของเมืองไทยยังไม่กว้างมาก เมื่อเปรียบเทียบกับต่างประเทศ
  2. จำนวนคนใช้ Internet ของบ้านเรายังไม่มาก (แต่อนาคตน่าสนใจ หลังจากการเข้ามาของ 3G)
  3. การเปิดให้บริการของเว็บไซต์ต่างประเทศในเมืองไทย ทำให้แข่งขันกับธุรกิจเว็บไซต์ในเมืองไทยอย่างมาก ซึ่งทาง ต่างประเทศได้เปรียบอย่างมาก เพราะมี เงินทุนและเทคโนโลยีสูงกว่าธุรกิจเว็บไซต์เมืองไทยอย่างเทียบชั้นไม่ติด และยิ่งเดียวนี้เว็บไซต์ต่างประเทศต่างเริ่มเปิดกันในเวอร์ชั่นภาษาไทยกันแล้ว ทำให้คนไทยหันไปใช้กันมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น Facebook เป็นต้น
  4. จำนวนนักพัฒนายังน้อยหากเปรียบเทียบกับจำนวนประชากร และเรายังต้องพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศเป็นหลัก ยังไม่มีเทคโนโลยีของตัวเอง
  5. จำนวนผู้ทีทำธุรกิจเว็บไซต์น้อยๆ เพราะเนื่องจากเหตุผลที่กล่าวมาด้านบน ทำให้ธุรกิจเว็บไซต์เมืองไทยยังไม่เติบโตเท่าที่ควร เลยเป็นธุรกิจที่ไม่ค่อยได้รับความสนใจเท่าไร  

แต่ทั้งหมดนี้ ผมเองก็เชื่อว่า การเข้ามาของ 3G จะช่วยทำให้วงการเว็บไซต์ของเมืองไทย เติบโตขึ้นได้มาก เพราะ 3G จะเป็นส่วนสำคัญที่กระตุ้นให้คนไทยใช้ Internet มากขึ้นด้วยเช่นกันครับ

 * ผมตัด Truelife ออกจากการจัดอันดับเพราะรายได้ของเค้า จะมาจากรายได้แหล่งอื่นมากกว่าการทำเว็บไซต์ทำให้ไม่สามารถนำมาวิเคราะห์และเปียบเทียบได้

** ข้อมูลที่แสดงเป็นข้อมูลที่แต่ละบริษัทส่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ผมแอบเชื่อว่า น่าจะมีบางบริษัทไม่ได้ส่งงบการเงิน แบบรายได้จริงๆ เข้าไปเพราะไม่ต้องการแสดงโครงสร้างรายได้ที่แท้จริงของตน เพื่อไม่ต้องการเสียภาษี ก็ลองเดาๆ ละกันว่าใครจะเป็นคนทำแบบนั้น หรือผมเองอาจจะเดาผิดก็ได้น่ะ ฮ่าๆ

ข้อมูลการเว็บโซเชียลเน็ตเวิกร์ของต่าง ประเทศที่คนไทยใช้กัน ณ.วันที่ 26/7/10

ข้อมูลการใช้เว็บไซต์ของคนไทย รวมเว็บต่างประเทศด้วย ณ.วันที่ 26/7/10 จาก Alexa.com

พบว่ามีเพียงเว็บไทย เพียงเว็บเดียวที่อยู่ใน 1 ใน 10 ของเว็บที่คนไทยเข้ามากที่สุดได้แก่ sanook.com และอันดับที่ 11 คือ Pantip.com, mThai.com และ kapook.com ตามลำดับ ดูข้อมูลด้านล่างประกอบ เห็นได้เลยว่าคนไทยไม่ค่อยเข้าเว็บไซต์กันเองเท่าไร

ปล. ข้อมูลนี้เป็นการศึกษาจากข้อมูลที่มีอยู่ใน internet รวบรวมมาสำหรับวิเคราะห์ภาพรวมของอุตสาหกรรมเว็บไทย ที่ผมวิเคราะห์ด้วยตัวเอง ด้วยประสิทธิภาพของกบาลตัวเองจะเอื้ออำนวย กรุณาอย่างนำไปอ้างอิง หรือเป็นมาตรฐานอะไรน่ะ.!