อนาคตของ Mobile Banking ในประเทศไทยจะไปได้ไกลและเร็วมาก แต่สิ่งที่ทุกธนาคารต้องทำคือคิดนอกกรอบ ต้องกล้าทำอะไรใหม่ ๆ ซึ่งเมื่อมีธนาคารหนึ่งออกมาสร้างสิ่งใหม่ ก็ทำให้ธนาคารอื่น ๆ ตื่นตัวและปรับตัวให้เร็วด้วย
โดยทุกธนาคารจะต้องยกระดับตัวเองขึ้นมาให้เหนือกว่าความสามารถทั่วไป ทำสิ่งอื่น ๆ ได้นอกเหนือจากการโอนเงินธรรมดา เช่นการจองตั๋ว, การบริจาคเงิน
ยกตัวอย่างธนาคารหนึ่งที่เปิดตัว “โอนเงินไม่เสียค่าธรรมเนียม” ซึ่งก็ได้รับผลตอบรับที่ค่อนข้างดี และส่งผลให้ธนาคารต่างสีออกมาทำตาม นั่นเพราะว่ามี Infrastructure ออกมารองรับแล้ว
อย่างทาง SCB ที่จับมือร่วมกับ ศศินทร์ เปิดตัว Sasin Scan N’Go ร้านค้าไร้พนักงาน ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมโดยไม่ต้องใช้เงินสด หรือทาง KBank เองก็มี K Plus Market ที่เข้ามาช่วยยกระดับสินค้าและบริการของผู้ประกอบการรายย่อยเข้าสู่ E-Market Place ด้วยเช่นกัน
คู่แข่งของธนาคารไทย คือธนาคารด้วยกันเอง?
ถ้ามองกันอีกมุม ธนาคารมองถึงคู่แข่งไปไกลกว่านั้น อาจไม่ใช่แค่ธนาคารด้วยกันเอง อาจเป็น Financial อย่าง Grab หรือ Line
ทาง Grab ที่จับมือร่วมกับ K Plus ซึ่งทาง Grab อย่างทาง สิงคโปร์ มาเลเซีย ก็เปิดบริการ Grab Pay มาสักพักหนึ่งแล้ว และมุ่งมาทางเรื่อง Payment อยู่แล้วด้วย เหมือนตัว Wallet ที่สามารถนำเงินเข้าไปฝากได้
ด้าน Line เองก็เปิดตัวแอป Line Pay ซึ่งเป็นระบบชำระเงินช่องทางหนึ่ง ทั้งผลิตภัณฑ์ของแอปฯเอง รวมไปถึงหารชำระค่าบริการและสินค้าอื่น ๆ ด้วย ทำให้มีความความคล่องตัวทางการเงินมากขึ้น
โดยการใช้ Wallet ในประเทศไทย จำเป็นต้องมี License มีการขออนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย
ผมมองว่ามันเป็นการกระตุ้นที่ดี การแข่งขันจะช่วยให้ทุกธนาคารหรือทุกคนสามารถกระโดดและวิ่งไปได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งแบงก์ชาติก็เป็นหน่วยงานหนึ่งที่มองไปข้างหน้าอย่างรวดเร็วด้วยเช่นกัน
หากแบงก์ชาติไม่มองเห็นหรือลงมือทำ บริการต่าง ๆ ที่คนไทยจะได้ใช้งาน ทั้ง Promptpay, QR Code, No fee จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลย
ดังนั้น ทุกธนาคารจะต้องปรับตัวให้เร็ว เตรียมพร้อมสำหรับการแข่งขันทุกช่องทาง เพื่อให้ Mobile Banking ไทย เติบโตไกลอย่างก้าวกระโดด