เปิดศักราชใหม่ให้กู้เงินง่ายขึ้นและแหล่งเงินกู้มากขึ้น

ในที่สุดแบงก์ชาติก็ออกประกาศอนุญาตให้ประกอบกิจการสินเชื่อระหว่างบุคคลแบบ P2P Lending หรือ Peer-to-Peer lending สินเชื่อออนไลน์ระหว่างบุคคลรูปแบบใหม่ (บุคคลกู้บุคคล) ที่สามารถใช้ช่องทางออนไลน์เป็นตัวกลางได้ (หลังจากที่รอมาหลายปีจนประเทศอื่นเขาเปิดไปก่อนหน้านานแล้ว)

หลังจากที่กฎหมายนี้คลอดออกมา เราจะได้เห็นระบบหรือ Platform ที่เป็นตัวกลางให้คนกู้เงินด้วยช่องทางออนไลน์ได้มากขึ้น โดยแหล่งเงินกู้จะมาจากบุคคลอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากสถาบันทางการเงินอย่างธนาคารหรือ non-bank 

การอนุญาตของแบงก์ชาติในครั้งนี้เป็นการเปิดศักราชใหม่ของการทำให้คนเข้าถึงแหล่งเงินได้ง่ายมากขึ้น ที่ผ่านมาผมเห็นหลาย ๆ บริษัทสนใจที่จะทำ P2P Lending และเมื่อกฎหมายนี้ออกมาก็เชื่อว่าจะมีผู้สนใจอีกจำนวนมากเลยทีเดียว

ซึ่งงานนี้ใครที่มี Data มาก ๆ และเข้าใจลูกค้าเยอะๆ จะมีโอกาสขยายบริการเข้าสู่การปล่อยเงินกู้ทางออนไลน์ได้ไม่ยาก เพราะกฏหมายตัวนี้จะทลายกำแพงเดิม ๆ ออกไป ทำให้เราสามารถระดมเงิน (Source of Fund) จากคนทั่วไปได้สะดวกมากขึ้นนั่นเอง

ในเร็ว ๆ นี้เราจะได้เห็นผู้ให้บริการอย่าง LINE, Grab, Traveloka หรือแอปพลิเคชันชื่อดังที่มีคนใช้จำนวนมาก จะเริ่มมีบริการปล่อยกู้ออกมา ผมมองว่าไม่น่าจะเกินปลายปีนี้ถึงต้นปีหน้าเราจะได้เห็นบริการการปล่อยกู้ทางออนไลน์เพิ่มมากขึ้น ตัวเลือกจะมากขึ้น มีการแข่งขันมากขึ้น ดอกเบี้ยต่าง ๆ ที่มีจะต่ำลงกว่าเดิมมาก แน่นอนผู้ที่จะได้รับผลกระทบแรก ๆ ก็คือธนาคารซึ่งคงหลีกเลี่ยงไม่ได้ ต่อมาคือการปล่อยกู้นอกระบบ เพราะต่อไปช่องทางในการกู้ผ่านแพลตฟอร์มจะง่ายและสะดวกมากกว่า

การทำแคมเปญสำหรับการกู้เงินและการปล่อยเงินก็จะมีความหลากหลายมากขึ้น มีความเป็นส่วนตัว (Personalize) และเหมาะกับไลฟ์สไตล์ของแต่ละคนมากขึ้น เช่น เงินกู้สำหรับเด็กวัยรุ่น เงินกู้สำหรับพนักงานโรงงาน เงินกู้สำหรับคุณครู หรืออาจจะเลยไปถึงเงินกู้สำหรับพระ…

เพราะด้วย BIG Data ของพฤติกรรมที่มีความหลากหลายจากแพลตฟอร์มผู้ให้บริการทั้งหลาย และ AI ที่จะวิเคราะห์ทุกอย่างได้แม่นยำมากขึ้น วิธีการเก็บเงินคืน (Collection) ที่มีความง่ายและหลากหลายมากขึ้น เช่น การรับหรือหักเงินออกจากบัญชีได้ทันที การรับและจ่ายเงินด้วยวิธีใหม่ ๆ เช่น E-Wallet, CryptoCurrency, Point หรือจาก Wealth ในรูปแบบอื่น ๆ

ซึ่งกระบวนการของการปล่อยเงินกู้ทางออนไลน์ที่ทางภาครัฐให้ความสำคัญมากก็คือ

1. การยืนยันตัวตนผ่านทางออนไลน์ (eKYC) 

เป็นการระบุตัวตนโดยใช้อัตลักษณ์หลากรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นหน้าตา ลายนิ้วมือ และข้อมูลการยืนยันตัวตน เช่น เลขบัตรประจำตัวประชาชน หรือ Passport และหากเป็นองค์กรหรือบริษัทจะต้องมีการยืนยันจากกรรมการผู้มีอำนาจ หนังสือรับรองบริษัท เอกสารจากสรรพกร อย่าง ภพ.20

2. การลงนาม หรือเซ็น (e-Signature)

เอกสารต่าง ๆ ในการทำธุรกรรมต้องมีการลงนาม หรือเซ็นเพื่อยืนยันว่าคนคนนั้น (จากการยืนยันตนเองในข้อ 1) เป็นผู้ที่ลงนามจริง ๆ ทั้งบุคคล หรือกรรมการบริษัท

ปัญหาที่กล่าวมาข้างต้นต้องทำผ่านทางออนไลน์ครับ ​ซึ่งตอนนี้มี Creden.co บริษัท Startup ของไทยได้เปิดให้บริการอยู่โดย

1) การยืนยันตัวตนทางออนไลน์ (eKYC) สามารถยืนยันตัวเองผ่านทางมือถือหรือคอมพิวเตอร์ได้ทันที https://creden.co/ekyc/

2) การเซ็นเอกสารทางออนไลน์ (e-Signature) ผ่าน BlockChain และ TEDA ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐจะทำให้เอกสารที่เซ็นผ่านระบบนี้ สามารถใช้ในชั้นศาลได้ https://creden.co

3) การทำเครดิตสกอร์ (Credit Score) ระบบวิเคราะห์ความน่าเชื่อขององค์กร (Company Credit Score) และคะแนนความน่าเชื่อถือของบุคคล (Personal Credit Score) โดยวิเคราะห์จาก BIG Data และ Centralize BlackList จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ https://creden.co/creditscore

ซึ่งทั้งหมดนี้พัฒนาโดยทีมงานคนไทยครับ ทำมาเพื่อให้คนไทยและองค์กรของไทยได้ใช้กัน โดยไม่ต้องไปพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ พัฒนาได้ตามมาตรฐานของภาครัฐและต่างประเทศ ใครสนใจอยากทดลองใช้หรือทดสอบบริการทั้งหมดที่เล่ามาก ติดต่อไปที่ทีมงาน Creden.co ได้เลยครับ หรือทักไปที่ Creden.co ได้เลยครับ