มาตรฐานสื่อโฆษณาออนไลน์
สืบเนื่องจากสมาคมผู้ดูแลเว็บไทย ซึ่งเป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นโดยกลุ่มผู้ดูแลเว็บในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2541 โดยมีวัตถุประสงค์ในการเป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ ความคิดเห็น ระหว่างสมาชิก และส่งเสริมการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาและวัฒนธรรม ส่งเสริมและวิชาชีพผู้ดูแลและพัฒนาเว็บ ทั้งด้านเทคโนโลยี สารสนเทศ ด้านวิชาการ และจริยธรรม รวมถึงเป็นคนกลางเพื่อประสานงานให้เกิดผลที่นำไปสู่การแก้ไขปัญหาของ สังคมสารสนเทศ ได้เล็งเห็นถึงแนวโน้มการขยายตัวของตลาดโฆษณาออนไลน์ ที่จัดได้ว่าเป็นรายได้หลักอย่างหนึ่งของกลุ่มผู้ดูแลเว็บ สมาคมฯ จึงได้ขอความเห็นจากนักการตลาด และบริษัทตัวแทนโฆษณา เกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคของสื่อโฆษณาออนไลน์ พบว่าในปัจจุบันสื่อโฆษณาออนไลน์ในประเทศยังประเด็นปัญหาเกี่ยวข้องกับความ เป็นมาตรฐาน รวมถึงความรู้ความเข้าใจของผู้ดูแลเว็บเกี่ยวกับตัวสื่อเองอยู่มาก จึงได้จัดงานจิบกาแฟเว็บมาสเตอร์ ครั้งที่ 5 ในวันที่ 28 สิงหาคม 2547 และได้รับความสนใจจากเหล่าผู้ดูแลเว็บกว่า 50 เว็บเข้าร่วมพบปะแลกเปลี่ยนความเห็นกัน
ผลต่อเนื่องจากงานจิบกาแฟเว็บมาสเตอร์ ดังกล่าว ได้มีการจัดตั้งทีมอาสาสมัครทำงานมาตรฐานโฆษณาออนไลน์ แบ่งเป็นทีมศึกษามาตรฐานเชิงการออกแบบ และทีมศึกษามาตรฐานเชิงการตลาด ซึ่งทีมอาสาสมัครดังกล่าวได้ร่วมกันศึกษาและร่างมาตรฐานขึ้นมาดังได้ระบุใน เอกสารต่อไปนี้
การเตรียมข้อมูลทางการตลาดของเว็บไซต์
ประกอบ ด้วยมาตรฐานการให้ข้อมูล กล่าวถึงการแสดงข้อมูลต่างๆ ที่ผู้ลงโฆษณาจำเป็นต้องใช้ หรือมักจะใช้ในการประกอบการตัดสินใจลงโฆษณา ประกอบด้วย
1. รูปแบบการเผยแพร่ข้อมูล
2. ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับเว็บไซต์และผู้ดูแลเว็บ
3. ข้อมูลลูกค้าที่เคยลงโฆษณากับเว็บไซต์
4. ข้อมูลเกี่ยวกับกลุ่มผู้ชมเว็บไซต์
5. ข้อมูลเกี่ยวกับค่าสถิติ ความนิยมของเว็บไซต์
6. ข้อมูลบุคคลติดต่อเมื่อจะลงโฆษณา
7. ข้อมูลเกี่ยวกับรูปแบบและราคาค่าโฆษณา
1. รูปแบบการเผยแพร่ข้อม
- ผู้ ดูแลเว็บควรจัดทำหน้าเว็บเพจ อย่างน้อย 1 หน้า เพื่อเผยแพร่ข้อมูลต่างๆ ที่ผู้ลงโฆษณาจำเป็นต้องใช้ เรียกว่า Ad Info Page เรียงตามลำดับ ประกอบด้วย
i. ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับเว็บไซต์และผู้ดูแลเว็บii. ข้อมูลลูกค้าที่เคยลงโฆษณากับเว็บไซต์iii. ข้อมูลเกี่ยวกับกลุ่มผู้ชมเว็บไซต์iv. ข้อมูลเกี่ยวกับค่าสถิติ ความนิยมของเว็บไซต์v. ข้อมูลบุคคลที่ให้ติดต่อเมื่อจะลงโฆษณาvi. ข้อมูลเกี่ยวกับรูปแบบและราคาค่าโฆษณา
ดังรายละเอียดที่จะได้กล่าวต่อไปในมาตรฐานข้อที่ 2
- ผู้ดูแลเว็บควรสร้างลิงค์ไปยัง Ad Info Page โดยให้ลิงค์นั้นปรากฏเห็นเด่นชัดในหน้าแรกของเว็บไซต์ (โฮมเพจ)
- ชื่อ ลิงค์ไปยังหน้า Ad Info Page ควรสื่อความหมายชัดเจน เช่น “สนใจลงโฆษณา คลิก” “ติดต่อโฆษณา” “Advertisement” “Advertising” เป็นต้น
2. ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับเว็บไซต์และผู้ดูแลเว็บ
เป็นข้อมูลทั่วไป เกี่ยวกับเว็บไซต์ เจ้าของ และ / หรือ ผู้ดูแลเว็บ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ อาจประกอบด้วย
- ชื่อเจ้าของ หรือผู้ดูแลเว็บ อาจรวมถึงประวัติของผู้ดูแลเว็บ
- ข้อมูลบริษัท ในกรณีที่จดทะเบียนเป็นบริษัท
- เลขทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (ถ้ามี)
- ประวัติการก่อตั้ง และการดำเนินงานของเว็บไซต์ (ถ้ามี)
- รางวัลที่ได้รับ (ถ้ามี)
- มาตรฐานอื่นๆ ที่เว็บไซต์ปฏิบัติตาม (ถ้ามี)
3. ข้อมูลลูกค้าที่เคยลงโฆษณากับเว็บไซต์
เพื่อให้ผู้ที่กำลังพิจารณาลงโฆษณาได้ทราบว่าเคยมี สินค้า บริการ ใดลงโฆษณากับเว็บไซต์ของเราแล้วบ้าง เป็นข้อมูลที่ทำให้เกิดความเชื่อถือได้มากขึ้นเช่นกัน
- ชื่อลูกค้ารายที่ 1
i. รายละเอียดเกี่ยวกับแคมเปญโฆษณา
ii. ระยะเวลาที่ลงโฆษณา
iii. ผลตอบรับ / ผลสำเร็จจากการลงโฆษณา - ชื่อลูกค้ารายที่ 2
i. รายละเอียดเกี่ยวกับแคมเปญโฆษณา
ii. ระยะเวลาที่ลงโฆษณา
iii. ผลตอบรับ / ผลสำเร็จจากการลงโฆษณา - ชื่อลูกค้ารายที่ 3
i. รายละเอียดเกี่ยวกับแคมเปญโฆษณา
ii. ระยะเวลาที่ลงโฆษณา
iii. ผลตอบรับ / ผลสำเร็จจากการลงโฆษณา
4. ข้อมูลเกี่ยวกับกลุ่มผู้ชมเว็บไซต์
เพื่อให้ผู้ที่กำลังพิจารณาลงโฆษณาได้ทราบว่ากลุ่มเป้าหมายของเว็บไซต์เป็น ใคร อย่างไร เพื่อจะได้พิจารณาว่าตรงกับกลุ่มเป้าหมายของสินค้า บริการที่จะลงโฆษณาหรือไม่ อย่างไร
โดยทั่วไปการจะ บอกว่ากลุ่มผู้ชมเว็บไซต์เป็นใคร นั้นพิสูจน์ได้ยาก จึงแนะนำให้ใช้วิธีการดังต่อไปนี้
- สร้างระบบสมาชิก และใช้กลุ่มสมาชิกที่ลงทะเบียนกับเว็บไซต์เป็นตัวแทนกลุ่มผู้ชมเว็บไซต์
- สร้างแบบสอบถาม แล้วใช้ข้อมูลจากแบบสอบถามเป็นตัวแทนกลุ่มผู้ชมเว็บไซต์เว็บไซต์ควรนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับกลุ่มผู้ชมเว็บไซต์ในรูปแบบของการสรุป เป็นสัดส่วนร้อยละ ดังต่อไปนี้
- กลุ่มผู้ชมของเว็บไซต์
5. ข้อมูลเกี่ยวกับค่าสถิติ ความนิยมของเว็บไซต์
เพื่อให้ผู้ที่กำลังพิจารณาลงโฆษณาได้ทราบว่าจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์มีมาก น้อยเพียงไร เพื่อจะได้พิจารณาเปรียบเทียบผลที่อาจได้รับกับมูลค่าโฆษณา เว็บไซต์ควรระบุข้อมูลดังต่อไปนี้
- จำนวนหน้าเว็บเพจที่ถูกเปิดชม (Page Views) เฉลี่ยต่อเดือน รวมทั้งเว็บไซต์ และแยกย่อยในแต่ละส่วนของเว็บไซต์
- จำนวน หน้าผู้เข้าชมเว็บไซต์ (Unique Visitors) เฉลี่ยต่อเดือน รวมทั้งเว็บไซต์ และแยกย่อยในแต่ละส่วนของเว็บไซต์ ทั้งนี้ค่า Unique Visitors ให้วัดจำนวน IP ที่ไม่ซ้ำกันในช่วงเวลา 1 วัน หรือหากใช้ความถี่อื่นให้ระบุด้วยว่าความถี่ในการวัดผลเป็นเท่าไร (รายวัน ราย 12 ชม. ราย 6 ชม. หรืออื่นๆ)
- จำนวนสมาชิกลงทะเบียนในระบบทั้งหมด
ข้อมูลอื่นๆ (ถ้ามี)
โดยระบุ ว่าค่าสถิติดังกล่าว ได้มาอย่างไร จากหน่วยงานกลาง บุคคลที่สาม (Third Party) หรือจากระบบสถิติภายในของเว็บไซต์เอง ถ้าเป็นระบบภายในให้ระบุด้วยว่าใช้ซอฟต์แวร์ใดในการวัดค่าสถิติ
อนึ่ง เว็บไซต์ไม่ควรใช้ค่าจำนวนครั้งที่ไฟล์ที่เว็บเซิร์ฟเวอร์ส่งไปยังผู้ชม (Hits) เป็นค่าระบุความนิยมของเว็บไซต์ เนื่องจากเว็บเพจหนึ่งหน้ามักประกอบด้วยไฟล์หลายไฟล์ การใช้ค่าดังกล่าวอาจสร้างความเข้าใจผิดต่อผู้ลงโฆษณาได้
6. ข้อมูลบุคคลติดต่อเมื่อจะลงโฆษณา
ควรประกอบด้วย
- ชื่อ
- อีเมล์ (ถ้าให้ติดต่อทางอีเมล์ ต้องมั่นใจว่าเป็นอีเมล์ที่ใช้งานได้อยู่เสมอ)
- หมายเลขโทรศัพท์ ที่ติดต่อได้
- หมายเลขโทรสาร (ถ้ามี)
- ที่อยู่ (อาจเปิดเผยหรือไม่ก็ได้ แต่การเปิดเผยจะช่วยสร้างความมั่นใจให้ผู้ลงโฆษณา)
เลข ทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (ถ้ามี) ทั้งนี้เว็บไซต์ อาจทำแบบฟอร์มสำหรับแจ้งความต้องการลงโฆษณาด้วยก็ได้ แต่ควรเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวข้างต้นให้เห็นชัดเจนด้วยเช่นกัน
7. ข้อมูลเกี่ยวกับรูปแบบและราคาค่าโฆษณา
- รูปแบบ ขนาด น้ำหนัก ควรเป็นไปตามมาตรฐานเชิงออกแบบดังกล่าวข้างต้น
- ควรระบุตำแหน่งของชิ้นโฆษณาให้เห็นชัดเจน และมีภาพตัวอย่างประกอบ
- ราคา ควรใช้รูปแบบการคิดราคาดังต่อไปนี้
– Cost Per Impression (CPI) คิดราคาต่อการแสดงผลโฆษณา โดยทั่วไปนิยมแสดงราคาต่อ 1,000 ครั้ง (CPM) เช่น ราคา 290CPM หมายถึงค่าโฆษณาเป็น 290 บาท ต่อการแสดงผลโฆษณา 1,000 ครั้งเป็นต้น
– Cost Per Click (CPC) คิดราคาต่อจำนวนครั้งที่มีคนคลิกโฆษณา
– Fixed Fee (คิดเหมาเป็นรายเดือน) ในกรณีที่คิดเหมา ชิ้นโฆษณาควรยึดติดคงที่ หรือถ้าเป็นโฆษณาเวียน หลายชิ้นงานลงในตำแหน่งเดียวกัน สุ่มแสดงผล (Rotated Banner) ต้องระบุว่าเวียนกี่ชิ้นงาน แต่ไม่เกิน 10 ชิ้นงาน
– Cost Per Lead หรือ Commission คิดราคาเมื่อผู้ชมเว็บไซต์ ซื้อสินค้า หรืออย่างน้อยแสดงความต้องการจะซื้อสินค้า
แนวทางการสร้างมาตรฐานสื่อโฆษณาออนไลน์
1. ร่างมาตรฐานเชิงการออกแบบ รวมถึง มาตรฐานขนาด และน้ำหนัก (ขนาดไฟล์) เพื่อให้ผู้ลงโฆษณาสามารถลงโฆษณาได้ในหลายๆ เว็บไซต์ ด้วยขนาดแผ่นป้ายโฆษณาที่เป็นมาตรฐาน อันจะเป็นการลดต้นทุนการจัดทำแผ่นป้ายโฆษณาดังกล่าวได้ ยกระดับสื่อโฆษณาออนไลน์ และส่งผลต่อการขยายตัวของมูลค่าสื่อโฆษณาออนไลน์ต่อไปในอนาคต2. ร่างมาตรฐานเชิงการตลาด รวมถึง มาตรฐานการให้ข้อมูลการติดต่อลงโฆษณา และมาตรฐานรูปแบบการคิดราคาค่าโฆษณา เพื่ออำนวยความสะดวก และสร้างความมั่นใจให้กลุ่มผู้ลงโฆษณา ทั้งบริษัทตัวแทนโฆษณา และนักการตลาด ยกระดับสื่อโฆษณาออนไลน์ และส่งผลต่อการขยายตัวของมูลค่าสื่อโฆษณาออนไลน์ต่อไปในอนาคต3. นำเสนอร่างมาตรฐานต่อกลุ่มผู้ดูแลเว็บ และสำรวจความเห็นผ่านแบบสอบถาม4. นำผลตอบรับจากการสำรวจความเห็น ไปปรับปรุงร่างมาตรฐาน5. ประกาศมาตรฐาน และเชิญชวน ประชาสัมพันธ์ไปยังสมาชิกสมาคมฯ และกลุ่มเป้าหมายต่างๆ เพื่อให้ร่วมมือกันเข้าสู่มาตรฐาน6. ติดตามความคืบหน้าของการประยุกต์ใช้มาตรฐาน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาต่อไป
กลุ่มเป้าหมายผู้ที่คาดว่าจะเกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้มาตรฐาน
1. ผู้ให้บริการเว็บไซต์2. ผู้ผลิตสื่อโฆษณา3. บริษัทตัวแทนโฆษณา4. นักการตลาด เจ้าของผลิตภัณฑ์
มาตรฐานเชิงการออกแบบ
ขนาดมาตรฐานของสื่อโฆษณาออนไลน์ ที่เว็บไซต์ต่าง สามารถนำไปใช้เป็นขนาดมาตรฐานในการ นำเสนอพื้นที่ โฆษณา ภายในเว็บไซต์ โดยมีการนำมาตรฐานของ Interactive Advertising Bureau (www.IAB.net) มาใช้อ้างอิงในการนำเสนอ โดยมีรูปแบบของโฆษณา 3 รูปแบบได้แก่
1. โฆษณาสี่เหลี่ยม และป๊อปอัพ (Rectangles and Pop-Ups)2. โฆษณาแถบยาว และปุ่ม (Banners and Buttons)3. โฆษณาทรงสูง (Skyscraper)
และ นอกจากนี้ยังมีการกำหนด แพ็กเกจโฆษณามาตรฐาน (Universal Ad Package) ที่เว็บไซต์ต่างๆ สามารถนำไปใช้ในเว็บไซต์ของตนได้ โดยจะมีการส่งเสริมให้มีการใช้ขนาดของแพ็กเกจนี้ เพื่อสร้างมาตรฐาน ที่เป็นอันเดียวกันในระหว่างเว็บไซต์หลายๆ เว็บ
1. โฆษณาสี่เหลี่ยม และป๊อปอัพ (Rectangles and Pop-Ups)
Recommended Maximum Initial Download Fileweight |
Recommended Animation Length (Seconds) |
||
300 x 250 IMU – (Medium Rectangle) | View IMU | 40k | :15 |
250 x 250 IMU – (Square Pop-Up) | View IMU | 40k | :15 |
240 x 400 IMU – (Vertical Rectangle) | View IMU | 40k | :15 |
336 x 280 IMU – (Large Rectangle) | View IMU | 40k | :15 |
180 x 150 IMU – (Rectangle) | View IMU | 40k | :15 |
*NEW* 300×100 IMU – (3:1 Rectangle) | View IMU | 40k | :15 |
*NEW* 720×300 IMU – (Pop-Under) | View IMU | 40k | :15 |
2. โฆษณาแถบยาว และปุ่ม (Banners and Buttons)
468 x 60 IMU – (Full Banner) | View IMU | 40k | :15 |
234 x 60 IMU – (Half Banner) | View IMU | 30k | :15 |
88 x 31 IMU – (Micro Bar) | View IMU | 10k | :15 |
120 x 90 IMU – (Button 1) | View IMU | 20k | :15 |
120 x 60 IMU – (Button 2) | View IMU | 20k | :15 |
120 x 240 IMU – (Vertical Banner) | View IMU | 30k | :15 |
125 x 125 IMU – (Square Button) | View IMU | 30k | :15 |
728 x 90 IMU – (Leaderboard) | View IMU | 40k | :15 |
3. Skyscrapers
160 x 600 IMU – (Wide Skyscraper) | View IMU | 40k | :15 |
120 x 600 IMU – (Skyscraper) | View IMU | 40k | :15 |
300 x 600 IMU – (Half Page Ad) | View IMU | 40k | :15 |
http://www.iab.net/iab_products_and_industry_services/1421/1443/Ad_Unit
ADDITIONAL NOTES:
- Those sizes that are bold above are part of the Universal Ad Package
- :15 animation includes multiple loops
PS. มาตรฐานนี้ เป็นมาตรฐานที่ทางสมาคม ผู้ดูแลเว็บไทย ทำขึ้นมา โดยอิงจาก www.iab.net ครับ ดูข้อมูลเพิ่มได้ครับ
WONDERFUL Post.nice one for share..extra wait .
. …
ถูกใจถูกใจ