<![CDATA[

ในอดีตที่ผ่านมา การให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นธุรกิจที่เน้นการสื่อสารทางเสียง วันนี้การให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นการทำธุรกิจที่เกี่ยวกับข้อมูลที่ มากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากการบริการแบบ "คอนเทนท์ เบส" (content-base) ทำให้ธุรกิจสื่อสารเคลื่อนที่สามารถขยายบริการที่หลากหลายมากขึ้น

กุญแจสำคัญของธุรกิจให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่คือ

1.ระบบพื้นฐานเปย์เม้นท์ บิลลิ่ง ซิสเต็มส์ (Payment billing system)
2.ฐานลูกค้าขนาดใหญ่
3.การสร้างเครื่องหมายการค้าของอุปกรณ์และบริการสื่อสารเคลื่อนที่
4.การให้ข้อมูลแก่ผู้ใช้
5.การสร้างช่องทางสื่อสารให้กับคู่ค้า

ทั้ง 5 ข้อที่กล่าวคือการสร้างระบบโมบาย คอมเมิร์ซนั่นเอง

คุณสมบัติทั่วไปของโมบาย คอมเมิร์ซที่สำคัญคือ

1.โมบิลิตี้ (Mobility) คือ ผู้ใช้งานสามารถนำติดตัวไปได้และเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง
2.บรอด รีช อะบิลิตี้ (Broad reach ability) คือ ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงบริการที่หลากหลายได้ทุกที่ ทุกเวลา
3.ยูบิควิตี้ (Ubiquity) คือ ผู้ใช้งานมีความง่ายต่อการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ทุกที่ทุกเวลา

4.คอนวีเนียนซ์ (Convenience) คือผู้ใช้งานมีความสะดวกในการเชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์และระบบเครือข่ายอื่นๆ ได้ง่าย 5.โลคัลไรซ์เซชั่น ออฟ โปรดักส์ แอนด์ เซอร์วิส (Localization of products and services) คือ ผู้ใช้งานสามารถได้รับบริการแบบเฉพาะพื้นที่ และรู้ตำแหน่งของตัวเองในขณะที่ใช้งานเอ็ม-คอมเมิร์ซ ยังเป็นบริการที่ทำให้เกิดความง่ายในการซื้อสินค้า บางครั้งช่วยให้ผู้บริโภคประหยัดเวลาและเงินในกระเป๋า อย่างไรก็ตามปัญหาหลักคือ ผู้บริโภคก็ยังไม่มีความมั่นใจในความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล

โมบาย เพย์เม้นท์ (Mobile payment :m-payment) เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของการพัฒนาเอ็ม-คอมเมิร์ซ โดยที่ประเทศเกาหลีเป็นตัวแบบในการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ ระบบเอ็ม-เพย์เม้นท์เป็นระบบที่เก็บข้อมูลเกี่ยวกับเครดิตของผู้ใช้ในหน่วยค วามจำของโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยในโทรศัพท์เคลื่อนที่จะมีการฝังชิพและสายอากาศ ไว้เพื่อติดต่อสื่อสาร ซึ่งสามารถใช้ส่งข้อมูลเพื่อจ่ายค่ารถเมล์และรถไฟฟ้าใต้ดินซึ่งจะถูกรวมอยู่ ในบิลบัตรเครดิต

ประชาชนชาวเกาหลีสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการค้นหารายชื่อร้านอาหาร และค้นหาตารางภาพยนตร์ จนถึงซื้อตั๋วภาพยนตร์ โดยใช้ อินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งผู้ใช้บริการสามารถจ่ายเงินเพื่อซื้อสินค้าและบริการได้เกือบทุกอย่างผ่ านโทรศัพท์เคลื่อนที่ การบริการชำระเงินผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ ถูกวางแผนโดยบริษัทผู้ผลิตโทรศัพท์โดยมีความร่วมมือกับโอเปอร์เรเตอร์ มีการออกแบบซอฟต์แวร์เพื่อรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้ จนผู้ใช้มีความมั่นใจในความปลอดภัยจากจุดอ่อนด้านความปลอดภัยของบัตรเครดิต การทำเช่นนี้ทำให้มียอดการขายเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

ในปัจจุบัน ธนาคารเกือบทุกแห่งในประเทศเกาหลีมีการเสนอบริการโมบาย แบงกิ้ง (mobile banking) และในปี 2004 ธนาคารกลางของเกาหลีได้แถลงว่ามีผู้บริโภคกว่า 300,000 ราย ที่มีการใช้บริการโมบาย แบงกิ้ง และการบริการรูปแบบอื่นๆ ผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ ฟังก์ชันการทำงานของการซื้อขายผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์บนอุปกรณ์สื่อสารเคลื่ อนที่ จะรองรับ และสนับสนุนการทำรายการต่างๆ ซึ่งรวมทั้งการทำธุรกรรมทางการเงิน ความปลอดภัยในการแลกเปลี่ยนข้อมูลบัตรเครดิต การจองตั๋ว ซื้อหนังสือ เกม และเพลง โดยลดการใช้เงินสด บัตรเครดิต หรือบัตรเดบิต อุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ให้ผู้บริโภคทำการซื้อขายเสมือนได้ทุกที่ เช่นเดียวกันกับการจำหน่ายสินค้าโดยปราศจากการเปลี่ยนแปลงหรือซื้อตั๋วในขณะ ที่กำลังเดินทาง การยอมรับการบริการพาณิชย์บนอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ ปัจจัย
ที่เป็นตัวผลักดันคือความง่ายในการใช้งาน รวมทั้งเรื่องของราคาที่เหมาะสม และเรื่องของความปลอดภัย

ปัจจัยที่ทำให้ เอ็ม-คอมเมิร์ซในประเทศเกาหลีประสบความสำเร็จ อาจสรุปได้ดังนี้ คือ

1.จากสถิติการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ของประชากรเกาหลี นับได้ว่ามีการเพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยนับตั้งแต่ปี 1997 และมีจำนวนเพิ่มมากกว่าการใช้อินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์พื้นฐาน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่เป็นตัวขับเคลื่อนโมบาย คอมเมิร์ซ ในประเทศเกาหลี

2.ในประเทศเกาหลี มักจะมีคอนเทนท์ที่เกี่ยวกับโทรศัพท์เคลื่อนที่ ที่ได้รับความนิยม ได้แก่ การดาวน์โหลดริงโทน เกม ตลอดจนการดาวน์โหลดเพลง โดยสิ่งที่พิสูจน์ได้อย่างชัดเจนก็คือ เกมบนโทรศัพท์เคลื่อนที่นั้นสามารถสร้างรายได้อย่างมหาศาล รวมถึงบริการเอ็มเอ็มเอส (MMS: Multimedia messaging service)

อีกทั้งยังรวมถึงการบริการที่สนับสนุนแฟลช แอนิเมชัน และการโฆษณาแบบวิดีโอ คลิป มัลติมีเดีย การบริการทีวี ออน โมบาย ที่สามารถดาวน์โหลดภาพโทรทัศน์ได้ด้วยโทรศัพท์เคลื่อนที่ และการให้บริการจีพีเอส (Global Positioning System : GPS) ร่วมกับแผนที่อิเล็กทรอนิกส์ นับได้ว่าเป็นแรงดึงดูดที่สำคัญที่ทำให้คนเกาหลีใช้บริการ เอ็ม-คอมเมิร์ซ

3.มีการสร้างแอพพลิเคชั่นต่างๆ เพื่อให้ผู้บริโภคนั้นสามารถเลือกได้ตามความต้องการ ซึ่งสามารถเพิ่มการจับจ่ายใช้สอยผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ การโหลดเสียงเรียกเข้าอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ เป็นที่นิยมในหมู่ของวัยรุ่นที่มีความรอบรู้ทางด้านเทคโนโลยี ซึ่งเป็นเสียงเรียกเข้าแบบทั่วไป ส่วนแบ่งของรายได้จะถูกแบ่งให้ระหว่าง บริษัทผู้ผลิตเพลง, นักดนตรี, และโอเปอเรเตอร์ ซึ่งความสำเร็จของการดาวน์โหลดริงโทน เป็นเรื่องที่ดีสำหรับอุตสาหกรรมเพลง

4.สามารถสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโมบาย โอเปอเรเตอร์กับสถาบันการเงิน เช่น ธนาคาร, บริษัทบัตรเครดิต และการทำงานร่วมกันอย่างประสานสอดคล้อง ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นที่สุดในการก่อให้เกิดความสำเร็จ

5.ประเทศเกาหลีมีโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีสารสนเทศที่ดี รวมทั้งประชากรเกาหลีเองได้มีความสนใจและนิยมที่จะเข้าสู่โลกของอินเทอร์เน็ ต และใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 6.รัฐบาลมีการส่งเสริมและมีการวางแผนเทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งในส่วนของบุคคลและตามบ้าน และคอร์ปอเรทโทรศัพท์กำลังจะกลายไปเป็นอุปกรณ์สื่อสารที่สำคัญของมนุษยชาติ ความคาดหวังในรูปแบบการให้บริการที่หลากหลาย มีมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งๆ ที่ยังมีข้อจำกัดในเรื่องของจอภาพที่มีขนาดเล็กก็ตาม

บทความของ ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ / settapong_m@hotmail.com / www.guru-ict.com จากหนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ Bizweek

]]>