<![CDATA[
How New payment Change Business rules
(Panel Discussion) 16/2/05 by PC World Magazine
Business Forum
ดูเหมือนว่า นับวันเทคโนโลยี ก็จะเข้ามามีบทบาทต่อชีวิตประจำวันมากขึ้นด้วยรูปแบบของการให้บริการต่างๆ และยังเป็นเครื่องมืออีกรูปแบบหนึ่งที่เข้ามาเพิ่มความสะดวกสบายให้ผู้ บริโภคในปัจจุบันให้จับจ่ายใช้สอยได้อย่างคล่องตัวมากขึ้น ซึ่งอาจเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่ส่งผลต่อการทำธุรกิจรูปแบบใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นได้ รวมถึงรูปแบบการชำระเงินในรูปแบบต่างๆ ที่หลายหน่วยงานได้กล่าวถึง และมีการนำมาพัฒนาใช้ในการให้บริการสำหรับลูกค้าที่ต้องการ
payment หรือ payment Gateway จึงกลายเป็นรูปแบบของการให้บริการทางการเงินรูปแบบใหม่ ที่ผู้ประกอบการนำมาเพิ่มความสะดวกให้กับลูกค้า ได้มีทางเลือกมากยิ่งขึ้น สำหรับการชำระสินค้าผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์รูปแบบต่างๆที่เกิดขึ้นในขณะนี้ แต่ด้วยข้อจำกัดบางประการ และขอบเขตการให้บริการในบางส่วน ทำให้ระบบ payment ยังไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร
PC World เล็งเห็นถึงแนวโน้มและการขยายตัวของระบบ payment ในประเทศไทย จึงได้จัดเสวนาขึ้น โดยได้เรียนเชิญผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับระบบ payment มาร่วมแสดงความคิดเห็นในแง่มุมต่างๆ รวมถึงอนาคตของการให้บริการชำระเงินในรูปแบบนี้ จะเป็นไปในทิศทางใดต่อไป และจะมีผลกระทบใดเกิดขึ้นบ้างเมื่อไทยมีระบบ payment ที่สมบูรณ์แบบให้บริการ
สำหรับผู้ที่เข้าร่วมเสวนาในหัวข้อ "How New payment Change Business rules" ส่วนใหญ่จะเป็นตัวแทนจากองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการ payment ในขณะนี้ ซึ่งประกอบไปด้วย
- อาทร เตชะตันติวงศ์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)
- สุโชติ ชีวิโกเศรษฐ ผู้ก่อตั้งบริษัท Paysbuy จำกัด
- ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ตลาด ดอท คอม จำกัด
- ภรณี หรูวรรธนะ ผู้อำนวยการฝ่ายอิเล็กทรอนิกส์ สายงานเลขาธิการองค์การ ธนาคารกสิกรไทย
- สรศักดิ์ พึ่งรัตน์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายบริการจัดการด้านการเงิน สายงานบรรษัทธุรกิจ ธนาคาร กสิกรไทย
- พงษ์ระพี เตชพาหพงษ์ กรรมการผู้จัดการบริษัท Mind Connections จำกัด และบรรณาธิการที่ปรึกษานิตยสาร PC World
PCW : Mobile Payment มี Concept อย่างไร
อาทร : Mobile Payment ก็คือการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่แทนกระเป๋าเงิน ซึ่งจะเป็นได้ทั้งบัตรเครดิต เงินสด หรือบัตรเอทีเอ็ม โดยใช้
ริการผ่านเครือข่าย แต่ด้วย Concept คร่าวๆ Mobile Payment ในที่นี้เป็นเสมือนเครื่องมือรูปแบบหนึ่งที่ใช้แทนตัวบัตรพลาสติกการ์ดที่ เป็นเครดิตการ์ด หรือบัตรเดบิต ซึ่งสามารถชำระค่าสินค้าและบริการต่างๆ ได้
AIS เล็งเห็น แนวโน้มปริมาณการใช้งานที่เพิ่มขึ้น ซึ่งในปัจจุบันมีผู้ใช้โทรศัพท์มือถือประมาณ 40 % ของประชากร ทั้งประเทศ หรือมีประมาณ 25 ล้านคน และจากวิสัยทัศน์ของเอไอเอสที่ไม่ต้องการวางบทบาทของตนเองไว้แค่การเป็น Mobile Operator แต่ต้องการเป็น Wireless Service Provider ซึ่งหมายถึงบริการอะไรก็ได้ถ้าใช้เครือข่ายเอไอเอ แล้วขยายผลต่อไป แล้วเกิดธุรกิจกรรม หรือเกิดบริการใหม่ๆ เกิดขึ้น
AIS Mobile Payment เป็นหนึ่งในบริการที่ตอบโจทย์ข้างต้นได้เป็นอย่างดี ไม่แน่ว่าในอนาคตลูกค้าอาจใช้โทรศัพท์ในการบังคับรถยนต์ การเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือการทำกิจกรรมต่างๆได้ เอไอเอส โมบาย เพเมนท์ฯ เป็นหนึ่งที่ตอบโจทย์นั้น เช่น ใช้โมบาย บังคับรถยนต์ เข้าอินเทอร์เน็ต กิจกรรม
สรศักดิ์ : เป็น ไปได้ เพราะในปัจจุบันลูกค้าสามารถซื้อโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้สะดวก แต่การขอมีบัตรเครดิตนั้นค่อนข้างจะมีกฎระเบียบที่ควบคุม โดยเฉพาะเรื่องของฐานเงินเดือน อาจทำให้มีผู้ใช้บริการน้อยกว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ จะเปรียบเทียบเครดิตการ์ดกับโทรศัพท์เคลื่อนที่คงไม่ได้ เพราะปัจจัยในการสนับสนุนให้เกิดการใช้งานนั้นแตกต่างกัน
PCW : Payment เป็นภัยคุกคามของธนาคารหรือไม่ เพราะในอดีตที่ผ่านมายังไม่มีใครให้บริการ Payment นอกจากธนาคาร
สรศักดิ์ : ปัจจุบัน ธนาคารในประเทศไทยมีประมาณ 15 แห่งที่เปิดให้บริการ และลูกค้าก็สามารถติดต่อได้หลายช่องทาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่างทางที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ ก็มีหลายช่องทางไม่ว่าจะเป็น Internet Banking หรือ Mobile Phone
ขณะที่ธนาคารแห่ง ประเทศไทยพยายามสร้างมาตรฐานของการให้บริการทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้ทุกคนที่ใช้บริการอยู่ภายใต้มาตรฐานเดียวกัน เพราะในปัจจุบันการให้บริการของแต่ละบริษัทยังไม่มีมาตรฐานการ ตัวอย่าง เช่น เอไอเอส เวลาติดต่อกับธนาคารเพื่อให้บริการ Payment ก็จะมีรูปแบบบริการอย่างหนึ่ง ในขณะที่ธนาคารต่างๆ ก็จะมีรูปแบบของการให้บริการอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งยังไม่มีมาตรฐานในการผลักดัน ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยจะเป็นตัวกลางที่จะสร้างมาตรฐานให้ธนาคารแต่ละแห่ง ซึ่งผมไม่มองว่าการทำ pay ment ของเอกชนจะเป็นภัยคุกคามต่อธนาคาร แต่จะเป็นการผลักดันเพื่อให้เกิดการแข่งขัน เพื่อผลประโยชน์ของผู้บริโภค
อาทร: จะเห็นได้ว่าในปัจจุบัน หากมีเทคโนโลยีใดเกิดขึ้นมาใหม่ ส่วนใหญ่จ
ะยังไม่มีมาตรฐานใดออกมารองรับ และมักจะเป็นการให้บริการลักษณะส่วนบุคคลของแต่ละบริษัทหรือองค์กรที่จะ เปิดให้บริการ ขึ้นอยู่ที่ว่าองค์กรใด หรือแบรนด์ใดจะนำเสนอให้กับลูกค้าได้ก่อน หลังจากนั้นมาตรฐานจะตามมา
AIS มองว่าเป็นการสร้างสีสันให้ตลาดมากกว่า คงไม่ไปมีผลกระทบใดกับธนาคาร และเราก็อยากจะเป็นพันธมิตรระหว่างกันมากกว่า เพราะจะบอกว่าในวันหนึ่งข้างหน้า Mobile Payment นั้นจะมาแทนที่การใช้เงินทั้งหมดก็คงเป็นไปได้ยาก
ภาวุธ : ในต่างประเทศ แนวความคิดในลักษณะนี้ "Forum M Commerce" ของกลุ่มคนที่ทำ Payment มีการจับกลุ่มคุยกันเกี่ยวกับเรื่องนี้บ้าง โดยเฉพาะร่วมกันสร้างมาตรฐานของบริการ M Commerce ชึ้นมาเป็นปีแล้วเหมือนกัน แต่ยังไม่มีความเคลื่อนไหวทางด้านนี้ออกมา
ภรณี : เราต้องการให้ลูกค้ามีความสะดวกสบายในการใช้เงิน มีการทำอะไรที่ปลอดภัย M Commerce M Payment ก็เป็น Complement เพียงแต่ต้องหากลยุทธ์ให้ได้ ว่า จะทำอย่างไร บัตรเครดิตจะเชื่อมโยงอย่างไร หลังจากหักเงินสดแล้วทำอย่างไร แต่อย่าลืมว่าธุรกิจในปัจจุบันเกิดขึ้นจากสองทาง คือ ผู้ซื้อ และ ผู้ขาย ถึงแม้ว่าลูกค้าจะอยากใช้บริการมากน้อยแค่ไหนก็ตาม หากร้านค้าไม่พร้อมที่จะให้บริการ ธุรกรรมต่างๆ ก็ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ ทั้งนี้เพราะ รูปแบบธุรกิจบางอย่างอาจจะเข้ากับ M Payment แบบหนึ่ง เข้ากับตลาดแบบหนึ่ง หรืออาจจะเข้ากับธนาคารก็แบบหนึ่ง
จริงๆ แล้วมีผู้เล่นในตลาดอีกสองกลุ่มที่เราต้องคำนึงถึง คนส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญที่ลูกค้าว่าเขามีความสะดวกหรือยัง หากจะใช้โทรศัพท์มือถือในการจ่ายค่าใช้จ่ายต่างๆ แต่ยังไม่ได้คำนึงถึงร้านค้าว่ามีความพร้อมหรือยัง อย่างร้านค้าเมื่อติดต่อกับ AIS เขาจะต้องคำนึงถึงเรื่องใดบ้าง อย่างกรณีที่ โทรศัพท์หาย หรือซิมการ์ดหาย จะมีการดำเนินการอย่างไร
ในอดีตธนาคารจะ อยู่ตรงกลางระหว่างผู้ใช้และผู้ให้บริการ แต่ในปัจจุบันเมื่อมีผู้เล่นอย่าง AIS เข้ามาเพิ่ม ส่งผลให้เกิดแรงกดดันเพิ่มขึ้น คำถามคือปัญหาก็มีมากขึ้น เพราะระหว่างกลางที่เกิดขึ้นเริ่มไม่ชัดแล้วว่าปัญหาอยู่ตรงไหน ธนาคารหรือร้านค้า
เดิมที ธนาคารทีให้บริการระบบ Payment นั้น ได้ให้ทางเลือกว่าชำระเงินทางไหนก็ได้ แต่ไม่ไมีการประชาสัมพันธ์เท่าที่ควร หรือ อาจเป็นเพราะพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ไม่รู้ ขณะเดียวกันทางธนาคารเองได้พยามยามศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคด้วยเช่นกัน ซึ่งการพูดถึง M Payment วันนี้ไม่ได้หมายความว่าจะต้องประสบความสำเร็จในทันที แต่เราก็มองว่าในอนคาตจะต้องเกิดขึ้น เพียงแต่ว่าแต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะทำงานร่วมกันอย่างไร
อาทร : AIS เชื่อว่า บริการใดที่เกิดขึ้นในประเทศ และเป็นสิ่งใหม่ ในบางครั้งผู้นำตลาดก็จะต้องทำ แม้ว่าในช่วงแรกจะยังไม่เห็นรูปธรรมที่ชัดเจนก็ตาม อย่างเรื่อง Payment ยังอยู่ในขั้นของการให้ความรู้อย่างหนัก ซึ่งอาจจะเสี่ยงที่จะประสบความสำเร็จ หรือความล้มเหลวได้ ซึ่งผู้ให้บริการเองก็ไม่ทราบเช่นกัน แต่เราเชื่อมั่นว่า สิ่งที่เราปูทางไว้ อย่างรอบคอบ และทำให้ดี จะทำให้ประสบความสำเร็จได้เช่นกัน
PCW : อยู่ดีๆ มีคนลุกขึ้นมาทำ PaySbuy ทำ Payment แข่งกับบริษัทขนาดใหญ่ ตรงนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร
สุโชติ : ผมเคยทำงานอยู่กับธนาคารกสิกรมาก่อน โดยดูแลด้าน Internet Banking , E- Mobile, E-Commerce ต่างๆ พวกช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ซึ่งจะรู้จักโปรดักต์ของ Bank ดีพอสมควร ขณะนั้น พาร์ทเนอร์ ที่ผมติดต่อด้วยคือบริษัท SinaptIQ ซึ่งเป็นบริษัทที่ทำ Payment Gateway ให้กับกสิกรไทย ทำระบบบัตรเครดิตให้กับธนาคาร
นอกจากนี้บริษัท SinaptIQ ยังมีประสบการณ์ด้านการพัฒนาแอพพีเคชันให้แก่วงการธนาคารของไทย และเป็นบริษัทไทยแห่งแรกและแห่งเดียวที่ได้รับการรับรองจาก Visa และ MasterCard ให้เป็นผู้พัฒนาระบบ "Verified by Visa" และ "SecureCode" โดยในปัจจุบันบริษัท SinaptIQ ได้เป็นผู้พัฒนาระบบดังกล่าวให้แก่ธนาคารชั้นนำของไทยมากมาย และบริษัท SinaptIQ ยังเป็นผู้พัฒนาแอ็พพิเคชั่นระบบการชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือซึ่งเป็น แอพพิเคชั่นที่ธนาคารชั้นนำให้บริการอยู่ในปัจจุบัน
จากการรรู้จักตรง นั้นทำให้เป็นจุดเริ่มต้นที่จะออกมาทำธุรกิจ PaySbuy เอง โดยได้รับแนวคิดมากจาก paypal ของอเมริกา ซึ่งผมเคยใช้บริการของ Paypal ช่วงก่อนที่จะกลับประเทศไทย แล้วก็รู้สึกชอบ ดังนั้น พอกลับมาเมืองไทยก็คิดอยากจะทำ โดยมีความคิดที่ว่ารูปแบบของ Paypal Thailand น่าจะเกิดขึ้นได้
PCW : ไม่คิดว่า Paypal จะเข้ามาในประเทศไทยบ้าง?
สุโชติ : ในสมัยที่ทำงานอยู่ที่ธนาคารนั้น เพิ่งจะทราบว่าทางธนาคารแห่งประเทศไทย ไม่อนุญาตให้เข้ามาดำเนินธุรกิจในไทย ด้วยกฎเกณฑ์ และเหตุผลบางประการของธนาคารแห่งประเทศไทยในตอนนั้น
ภรณี : ธนาคารแห่งประเทศไทยไม่ได้บอกว่าใครเข้าได้หรือไม่ได้ เพราะแบงก์ชาติ ไม่สามารถห้ามได้ แต่แบงก์ชาติอยู่ในบทบาทที่ว่า การทำ Payment เป็นหน้าที่ของใคร ซึ่งระบุไว้เลยว่า การทำ Paymentเป็นหน้าที่ของธนาคารในประเทศไทย
ดังนั้นการทำ B2P แบงก์ชาติถือว่าไม่รับทราบ ใครก็ตามที่จะมาเป็นตัวแทนในการทำ Payment ในประเทศไทย จะต้องได้รับใบอนุญาต ดังนั้นที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่าในการให้บริการ Payment ต้องธนาคารพาณิชย์เท่านั้น เพราะไม่มีใครควบคุมขั้นตอน หรือขบวนการในการทำธุรกรรมได้ ไม่ใช่ใครทำก็ทำได้ เพราะแบงก์ชาติจะต้องตรวจดูทั้งหมดของผู้ที่จะเข้ามาให้บริการ ไม่ว่าจะเป็นจดทะเบียน ขบวนการของการให้บริการ
PCW : New Payment ใหม่ๆ ส่งผลกระทบต่อวิธีคิดเชิงธุรกิจหรือไม่ หรือมีธุรกิจใหม่เกิดขึ้นหรือไม่
สุโชติ : บริการ Payment ที่ให้บริการอยู่ในขณะนี้ ยังเน้นรูปแบบเว็บ E-commerce ก่อน แต่ในอนาคตจะขยายไปสู่ Mobile ด้วย บริการของเราจะเน้นการให้ความสะดวกสบาย สำหรับลูกค้าที่ต้องการซื้อขายสินค้าบน Internet ให้ สามารถรับชำระเงินได้สะดวก ถึงแม้ว่าจะมีบริการของ Internet Banking แล้วก็ตาม แต่ผมเชื่อว่า บริการที่ได้รับจะไม่ง่ายเท่าที่เราให้บริการในขณะนี้
ภรณี: ด้วยรูปแบบการให้บริการของ Internet Banking ถ้าความสะดวกคือ การโอนเงินแล้วไม่ต้องสนใจกันระหว่างผู้รับและผู้ส่ง ก็มีความสะดวกในระดับหนึ่ง แต่ถ้าเมื่อใดที่มีข้อกำหนดว่าผู้รับและผู้ส่งต้องเป็นคนๆ เดียวกัน ก็ไม่สะดวกแล้ว โดยฟีเจอร์แล้วมีข้อจำกัด ถ้า Pool กันได้จบ แต่ในปัจจุบันยังไม่สามารถ Pool กันได้
สรศักดิ์ : ตอนนี้แบงก์ชาติได้จัดตั้งคณะกรรมการชำระเงินแห่งชาติ หรือ ITMX (Interbank Transaction Management and Exchange) โ ดยมีธนาคารพาณิชย์ และ หน่วยงานไปรษณีย์ ร่วมเป็นกรรมการ ต่อไปถ้าเปิดกว้างในการโอนเงินขึ้น ลูกค้าที่ใช้บริการจากธนาคารใดก็สามารถทำธุรกรรมได้สะดวกยิ่งขึ้น
PCW : ถ้าตอนนี้ Pool กันได้แล้วจะมีธุรกิจใหม่ใดเกิดขึ้นบ้าง
อาทร : นอก จากบริการ Mobile Payment หรือ New Payment ซึ่งเป็นบริการชำระเงินแบบเคลื่อนที่ ซึ่งลูกค้าจะอยู่ที่ไหนก็สามารถใช้บริการได้ เพียงแค่มีเครือข่ายของผู้ให้บริการ เพราะการให้บริการ Mobile Payment จะทำให้เกิดทรานเซคชันมากขึ้น และเกิดการซื้อขายสินค้าในจำนวนที่เพิ่มมากขึ้น หรืออาจมองได้ว่า การมีช่องทางชำระเงินที่สะดวกขึ้นก็จะส่งผลให้เกิดการซื้อสินค้าได้ง่ายขึ้น และอาจมีธุรกิจใหม่ๆ เกิดขึ้น
สุโชติ : แนวโน้มของการทำธุรกิจออนไลน์จะเพิ่มมากขึ้นด้วยบริการของ Payment ที่เกิดขึ้น อย่างที่ผ่านมาธุรกิจ E-Commerce ในประเทศไทยจะยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ทั้งนี้เพราะระบบ Payment ที่ให้บริการอยู่ในขณะนี้ยังไม่สมบูรณ์แบบ และการซื้อสินค้าและขายสินค้ายังเป็นเรื่องยากอยู่เนื่องจากยังไม่แรง กระตุ้นให้เกิดการใช้บริการ แต่เราก็มองว่าหาก payment เกิดขึ้น ผมเชื่อว่า E-commerce ในประเทศไทยก็จะเกิดขึ้นได้เช่นกัน และถ้ามีระบบ payment ใหม่ๆ เกิดขึ้น ธุรกิจรูปแบบใหม่ก็จะเกิดขึ้นตาม
ด้วย
สรศักดิ์ : ถ้า ITMX เกิดขึ้น ก็จะทำให้การชำระเงินด้วยระบบ payment เกิดขึ้นด้วย ซึ่ง รูปแบบการให้บริการของ Payment หรือ บริการของเครดิตการ์ด ก็เหมือนกับการให้บริการของระบบเอทีเอ็ม คือถ้าผู้ใช้สามารถใช้บริการข้ามแบงก์ได้ ก็จะเพิ่มความสะดวกให้ผู้ใช้บริการ และอาจจะส่งผลต่อไปยังธุรกิจ ทำให้ธุรกรรมทางการเงินเกิดขึ้น ดังจะเห็นได้ว่า E-Business สำหรับ SMEs ในขณะนี้ก็มีบริการบ้างแล้ว แต่ยังมีข้อจำกัดตรงที่สามารถรับชำระเงินได้ผ่านแบงก์เดียวกันเท่านั้น แต่ถ้า ITMX เกิดขึ้น และรองรับการให้บริการมากกว่าธนาคารเดียว ก็จะเพิ่มความสะดวกของการให้บริการกับลูกค้ามากยิ่งขึ้น ซึ่งเมื่อถึงตอนนั้นผมเชื่อว่าลูกค้าอาจจะหันมาใช้บริการมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม การโอนเงินข้ามธนาคาร เพื่อรองรับธุรกรรมพาณิชย?อิเล็กทรอนิกส? ในระยะแรกอาจมีเพียงระบบเดียว ทั้งนี้เพื่อลดการลงทุนที่ซ้ำซ้อน ขณะเดียวกันก็เป็นการสร้างความแข็งแกร่งให้กับระบบการชำระเงินของประเทศ ดังนั้น ITMX จึงได้มีการกําหนดโครงสร้างองค์กร สิทธิและหน้าที่ ความรับผิดชอบของผู?ที่เกี่ยวข?องอย?างชัดเจน โดยธนาคารแห่งประเทศไทยจะเป็นผู?กํากับดูแล เพื่อประสิทธิภาพของระบบ และควบคุมความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ถือเป็นนการรักษาผลประโยชน?ของทุกฝ?ายที่เกี่ยวข?องนั่นเอง
PCW : ความปลอดภัย หรือความรู้สึกปลอดภัยจากการใช้บริการมีมากน้อยแค่ไหน
อาทร : เอไอ เอส สามารถยืนยันได้ว่าการใช้บริการของเรามีความปลอดภัย ในทุกทรานเซคชันที่เกิดขึ้น เนื่องจากเรามั่นใจในเทคโนโลยีที่ลงทุนไปว่าจะมีความปลอดภัยสำหรับลูกค้า ที่มาใช้บริการ ทั้งนี้ระบบ Payment ที่เอไอเอสนำเสนอให้กับลูกค้านั้น เอไอเอสมุ่งเน้นที่จะมอบความสะดวกสบายในการชำระเงินให้กับลูกค้าเป็นหลัก
ภรณี : ความ ปลอดภัยหรือไม่ปลอดภัยในความรู้สึกของผู้บริโภค คือสิ่งที่ผู้ประกอบการจะต้องสร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้บริการ โดยการทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเกิดการเปลี่ยนแปลงและมีความมั่นใจต่อระบบ Payment ที่ให้บริการ แต่ถึงอย่างไรลูกค้าจะมั่นใจหรือไม่มั่นใจนั้น ก็ขึ้นอยู่กับความพร้อมของผู้บริโภค และความพร้อมของผู้ให้บริการด้วยว่า พร้อมที่จะยอมรับและใช้บริการรูปแบบการชำระเงินด้วยระบบ Payment นี้มากน้อยแค่ไหน
PCW : มองว่าอีก 3 ปี ข้างหน้า Payment จะถูกขับเคลื่อนไปในทิศทางไหน
อาทร : เอไอ เอสคาดหวังบริการ Payment จะว่าจะได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น และมีอัตราการขยายตัวมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ จะสังเกตเห็นได้ว่าในขณะนี้ผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ส่วนใหญ่จะนิยมใช้บริการฟังก์ชันของ SMS หรือ GPRS และการเชื่อมต่อ Internet ด้วยมือถือมีตัวเลขเพิ่มขึ้นทุกวัน ดังนั้นเอไอเอส จึงมั่นใจว่า กลุ่มผู้ใช้บริการฟังก์ชันต่างๆ เหล่านี้ ในอนาคตเขาจะขยายไปสู่การใช้บริการ Payment ได้
สุโชติ : อาจจะเติบโตเพิ่มขึ้น แต่รูปแบบการให้บริการผ่าน WAP สำหรับตลาดในประเทศไทยนั้น คิดว่ายังอยู่ในช่วยของการเรียนรู้
ภาวุธ : ใน อนาคตอันใกล้ หากระบบการให้บริการต่างๆ มีการเชื่อมโยงกันหมด และไม่มีความยุ่งยากซับซ้อน ก็อาจทำให้เกิดการให้บริการมากขึ้นได้ แต่ในขณะนี้เป็นเรื่องของเทคโนโลยีที่นำมาใช้ เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้เกิดขึ้นนั่นเอง
ภรณี : ในมุม ของธนาคารนั้น Payment มี 2 รูปแบบ คือ Micro Payment และ Macro Payment ซึ่งในส่วนของ Micro นั้นภายใน 3 ปี น่าจะมองเห็นการเติบโตขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของการใช้ช่องทางใหม่ๆ ในการชำระเงิน แต่สำหรับในส่วนของ Macro นั้น เป็นเรื่องของธุรกิจ ดังนั้นจึงต้องการอะไรที่มีความมั่นใจ ต้องการหลักฐาน ซึ่งแบงก์ยังคงจะต้องเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้อง
B2B B2C ในอีก 3 ปี คงจะเติบโตขึ้น เพราะการค้ามีการแข่งขันกันมากขึ้น ดังนั้นการให้บริการดังกล่าวจะช่วยลดต้นทุนของธุรกิจ และเพิ่มความสะดวกให้ลูกค้าด้วยการนำระบบ Payment มาใช้ อย่างไรก็ตาม ธนาคารยังเป็นหน่วยงานกลางที่ผลักดันให้เกิดขึ้น แต่ปริมาณความต้องการของผู้ใช้บริการต้องเกิดขึ้นด้วย
แนวโน้มการใช้ บริการ Payment ที่จะขยายตัวเพิ่มขึ้นหรือไม่ คงเป็นหน้าที่หลักของผู้ประกอบการที่จะผลักดัน พร้อมทั้งสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าที่ใช้บริการ โดยประเด็นหลักควรชี้ให้เห็นถึงประโชยน์ของลูกค้าที่จะได้รับหากใช้บริการ จาก Payment ในการชำระเงินค่าสินค้าต่างๆ ทั้งนี้ก็คงต้องใช้เวลาสักระยะหนึ่งที่จะรอดูว่าบริการรูปแบบใหม่นี้จะเป็น จริงได้มากน้อยแค่ไหน
ล้อมกรอบ
ข้อกำหนดและขอบเขตของ ITMX
ITMX หรือ Interbank Transaction Management and Exchange เป?นโครงสร?างพื้นฐานและมาตรฐานระบบการชําระเงินระหว่างธนาคารรูปแบบหนึ่ง ที่จะนำไปสู่การเชื่อมโยงระหว่าง Payment Gateway ต่างๆ เพื่อให้สามารถทำรายการชำระเงินระหว่างธนาคารที่รองรับธุรกรรมพาณิชย์อิลเก ทรอนิกส์ได้อย่างกว้างขวาง
ITMX เป็นข้อเสนอของคณะกรรมการโครงการกำหนดโครง
ร้างพื้นฐานและมาตฐานระบบการ ชำระเงินประกอบด้วย ธนาคารแห่งประเทศไทย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(เนคเทค) และผู้ทรงคุณวุฒิจากภาครัฐ ธุรกิจสถาบันการเงิน ธุรกิจคอมพิวเตอร์ และนักวิชาการ ปัจจุบันมีผู้ให้บริการชำระเงิน (Payment Provider) รูปแบบต่างๆ ในประเทศไทยหลายราย แต่ธุรกรรมชำระเงินระหว่างธนาคารยังไม่แพร่หลายเท่าที่ควร ปัยหาที่พบคือขาดระบบรองรับหรือเชื่อมโยงการทำธุรกรรมระหวางธนาคารที่ทั่ว ถึง และผู้ใช้อาจจะยังไม่มีความมั่นใจในระบบที่มีอยู่ หน้าที่หลักของ ITMX คือการเป็น Switching และการจัดการรายการ โอนเงินและชำระเงินข้ามธนาคาร โดยมีมาตรฐานตามเกณฑ์ขึ้นต่ำสำหรับ ITMX เพื่อให้ ITMX ทำหน้าที่ในการจัดการข้อมูลได้อย่างครบถ้วนถูกต้องมีประสิทธิภาพและ ประสิทธิผลตามวัตถประสงค์ ทั้งนี้การออกแบบระบบ ITMX ควรคำนึงถึงความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับการพัฒนาของตลาดที่ให้บริการ ด้านการชำระเงินทั้งระดับภายในประเทศและมีความยืดหยุ่นมกพอที่จะตอบสนองต่อ การเปลี่ยนแปลงของสมาชิก
ล้อมกรอบ
PaySbuy คือ Paypal เมืองไทย
บริษัท PaySbuy ถูกจัดตั้งโดยกลุ่มบุคคลที่มีความรู้และประสบการณ์ด้านการธนาคาร และด้านเทคโนโลยีข้อมูลสารสนเทศ ระบบ PaySbuy ถูกพัฒนาและได้รับการดูแลด้านเทคนิคจากบริษัท SinaptIQ บริษัทที่ได้รับการรับรองจากบริษัท Microsoft ในฐานะ Microsoft Certified Company ทั้งนี้ PaySbuy ต้องการมุ่งที่จะสนันสนุนอุตสาหกรรม C-Commerce ของไทยให้ก้าวไกลด้วยบริการการรับ-ส่งเงินที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพ และปลอดภัย การรักษาความปลอดภัยด้านข้อมูลและการเข้ารหัสข้อมูล (Encryption) การรักษาความปลอดภัยด้านข้อมูลของคุณ การทำธุรกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ และการดูแลรักษาเงินของคุณ คือหัวใจในการดำเนินธุรกิจของ PaySbuy การให้บริการของ PaySbuy PaySbuy ทำการเข้ารหัสข้อมูลต่างๆ ของคุณทุกครั้งในการรับส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ของคุณและเซอร์เวอร์ของ เรา โดยใช้โปรโตคอล Secure Sockets Layer (SSL) และทำการเข้ารหัสด้วยกุญแจที่มีความยาว 128 บิต (an encryption key length of 128-bits) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ดีที่สุดเชิงพาณิชย์ในปัจจุบัน และเป็นเทคโนโลยีที่ถูกใช้โดยธนาคารพาณิชย์ชั้นนำทั่วไป โดยก่อนที่คุณจะทำการสมัครเปิดบัญชี หรือทำการเข้าสู่ระบบ PaySbuy กรุณาตรวจสอบเบลาเซอร์ที่คุณใช้ให้แน่ใจว่าเป็นเบลาเซอร์ที่สามารถรองรับ โปรโตคอล SSL เวอร์ชั่น 3 หรือสูงกว่า และเมื่อข้อมูลของคุณถูกส่งมาถึงเซอร์เวอร์ของเราแล้ว เราจะทำการจัดเก็บข้อมูลนั้นอย่างปลอดภัยที่สุดทั้งในแง่กายภาพหรือ อิเล็กทรอนิกส์ เซอร์เวอร์ของเราได้รับการคุ้มกันผ่านอิเล็กทรอนิกส์ Firewall และจะไม่สื่อสารโดยตรงต่อเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ดังนั้นข้อมูลส่วนตัวของคุณจะถูกเปิดเผยต่อเฉพาะเครื่องคอมพิวเตอร์หรือ บุคคลที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น
ล้อมกรอบ
mPay New Payment by AIS
mPay คือ บริการชำระค่าสินค้าและบริการผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ ที่เพิ่มความสะดวกสบายด้วยรูปแบบของร้านค้าที่ร่วมให้บริการที่หลากหลาย และปลอดภัยในทุกการใช้จ่ายด้วยรหัสส่วนตัว และมั่นใจได้กับการตรวจสอบรายการใช้จ่ายของคุณได้ตลอดเวลา ด้วยบริการ mPay คุณสามารถเลือกชำระเงินผ่านกระเป๋าเงินสด บัตรเครดิต หรือบัญชีธนาคารของคุณได้ตลอดเวลา
บริการ mPay ที่ให้บริการ สามารถใช้ชำระสิ
ค้าและบริการผ่านช่องทางต่างๆ ดังนี้
- mCASH คือ กระเป๋าเงินสดของโทรศัพท์มือถือ โดยสามารถใช้ได้เสือนเงินสดในการะเป๋าเงินที่คุณสามารถเติมเงินเข้าสู่ mCASH ผ่านทางตู้เอทีเอ็มของธนาคารที่เข้าร่วมโครงการได้
- Direct Debit (DD) เป็นบัญชีเงินฝากธนาคารที่ลูกค้ายินยอมให้ใช้ชำระค่าสินค้า หรือบริการ โดยการหักบัญชี
โดยลูกค้าสามารถกรอกแบบฟอร์มยินยอมให้ mPay ตัดบัญชีเงินฝากเพื่อชำระค่าสินค้าและบริการ - Credit Card (CC) คือ บัญชีเครดิต ที่ลูกค้าแจ้งความจำนงให้ใช้เป็น PI ในการชำระค่าสินค้า หรือบริการ โดยลูกค้ากรอบแบบหอร์มยินยอมให้ mPay ตัดบัญชีเงินฝากเพื่อชำระค่าสินค้าและบริการ
ทุก ครั้งที่ลูกค้าชำระสินค้า และบริการ คุณสามารถเลือกวิธีชำระเงิน ได้ตามที่ได้ลงทะเบียนไว้ (mCASH หรือ DD หรือ CC ) และจะได้รับ SMS เพื่อเก็บเป็นหลักฐาน โดยแสดงข้อมูลร้านค้า จำนวนเงิน วิธีชำระเงินที่คุณเลือกชำระและวันเวลาในการทำรายการ
ทั้งนี้ในการชำระค่าสินค้าและบริการผ่าน mPay ลูกค้าจะต้องใช้รหัสส่วนตัวในการทำรายการ (ใช้ PIN กรณีทำรายการผ่านมือถือ และใช้ Username + Password เมื่อทำรายการผ่าน Web) ยกเว้นกรณีที่เป็น Low value transaction มูลค่าต่ำกว่า 100 บาท จะตัดเงินจาก mCASH และไม่ต้องใช้ PIN
ข้อมูลบทความนี้จาก หนังสือ PC World
]]>