<![CDATA[
เมื่ออาทิตย์ที่ผ่าน (8-9 กรกฏาคม 48) มีจัดงานสัมมนาวิชาการ "Thailand ICT Alliance" ขึ้นโดยกระทรวง ICT เพื่อระดมสมองและหาแนวความร่วมมือ ในรูปแบบ "พันธมิตร" กับหน่วยงานต่างๆ จากทางหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ในการช่วยกันระดมสมองและวางแผนการขับเคลื่อนการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสารของประเทศไทย ก้าวไปสู่การเป็นศูนย์กลางในภูมิภาค โดยแผนประเด็นการหารือ แบ่งออกเป็นหลายส่วนได้แก่ E-Government, E-Commerce, E-Industry, E-Education, E-Society, แนวโน้มเทคโนโลยี
ผมเองก็ได้เข้าไปมีส่วนร่วม ในกลุ่มพันธมิตรด้าน E-Commerce โดยในวันนั้นได้มีการระดมสมองจากหน่วยงานและองค์กรต่างๆ ในแต่ละด้านที่เกี่ยวข้องกับ E-Commerce มากมาย โดยการประชุมแบ่งออกเป็น 7 กลุ่มที่เกี่ยวข้องกับ E-Commerce ได้แก่
1. ตลาดกลางอิเลิกทรอนิกส์ (E-Marketplace)
2. การจ่ายเงินออนไลน์ (E-Payment)
3. ระบบขนส่ง (Logistic)
4. กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับ E-Commerce
5. การโปรโมท สินค้าและบริการ
6. ความสร้างความเชื่อถือ (Trust) และ CA
7. การสนับสนุนด้านการเงิน (Financial Support)
โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมมากมายจากหน่วยงานและองค์กรด้าน E-Commerce ต่างๆ เช่น กรมพัฒนาธุรกิจ, บิสไดเมนชั่น, TT&T,เนคเทค TARAD.com, ชมรมนักข่าวไอที พันธวนิช, ธนาคารกรุงไทย, TOT, กรมสรรพากร และหน่วยงานอื่นๆ อีกมากมาย มากกว่า 50 องค์กรในวันนั้น
ภาพ : บรรยกาศการประชุมในวันงาน
ในการประชุมหาแนวทางในวันนั้นได้แบ่งโต๊ะการคุยออกเป็นกลุ่มๆ โดยแต่ละกลุ่มก็ได้มีการระดมสมองหาแนวทางการร่วมมือกันระหว่างองค์กร เพื่อสร้างความต่อเนื่องและเข้มแข็งในการที่จะทำให้ธรุกิจ E-Commerce ของเมืองไทย หลายๆประเด็นมีความน่าสนใจมาก หลังจากที่หลายๆ กลุ่มได้มีการออกมาสรุปแนวทางการ การทำงานของแต่ละกลุ่ม
แต่ประเด็น ที่ผมเห็นว่ามีความน่าสนใจมากๆ หลังจากที่ได้มีการระดมสมองกันในกลุ่มของ ตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ คือ ปัญหาการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ใช้ E-Commerce และการรวมตัวกันของกลุ่มผู้ประกอบการ E-Commerce ในเมืองไทย ซึ่ง 2 หัวข้อนี้เป็นหัวข้อที่ได้รับการพูดคุยกันมากที่สุดในกลุ่ม
การสร้างความเชื่อมันให้กับผู้ใช้บริการ E-Commerce
ตอนนี้ทางกรมพัฒนาธุรกิจการค้ากำลังริเริ่มโครงการการรับเรื่องราวปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับอีคอมเมอร์ซและอินเทอร์เน็ต โดยเป็นแนวทางการร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ เช่น กรมพัฒนาธุรกิจ, ตำรวจ, สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค, สมาคมผู้ดูแลเว็บไทย และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยตอนนี้กำลังเตรียมพูดคุยเพื่อสร้างความพร้อมในการรอบรับการเติบโตของอินเทอร์เน็ต ซึ่งหากโครงการนี้เกิดขึ้นแล้ว น่าจะช่วยสร้างความน่าเชื่อถือในการใช้ E-Commerce ให้กับคนไทยได้อย่างมาก
การรวมตัวของกลุ่มผู้ประกอบการ E-Commerce
ทุกวันนี้การช่วยเหลือ, การแก้ปัญหาและส่งเสริมให้กับผู้ประกอบการด้าน E-Commerce ยังไม่สามารถทำได้อย่างเต็มที่ และไม่ถูกจุดเท่าที่ควร เพราะตอนนี้ผู้ประกอบการธุรกิจด้าน E-Commerce ในเมืองไทยยังไม่มีการรวมตัวกันอย่างเป็นรูปเป็นร่าง สิ่งที่มีการถกประเด็นและมีการพูดคุยกันก็คือ "น่าจะมีการรวมตัวของกลุ่มผู้ประกอบการ E-Commerce" ขึ้นมาเพื่อ ร่วมกันแก้ปัญหา หรือหาแนวทางในการพัฒนาให้ E-Commerce ในประเทศไทยเติบโตไปอย่างมีทิศทางที่แน่นอน และเป็นไปในทางเดียวกัน
แนวทางการร่วมมือ
การรวมกลุ่มกันของกลุ่มผู้ประกอบการ E-Commerce จะประกอบไปด้วยผู้ประกอบการหลายๆ ด้านเช่น ผู้ให้บริการ ตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ C2C, B2C, B2B, B2G, ผู้ให้บริการการชำระเงินออนไลน์, ผู้ให้บริการขนส่ง, ผู้ให้บริการด้านการรักษาความปลอดภัย เป็นต้น และนอกจากนี้เรายังสามารถแบ่งกลุ่มของผู้ให้บริการด้าน E-Commerce ออกเป็นกลุ่มแต่ละอุตสาหกรรมเฉพาะทางได้เช่น ด้านท่องเที่ยวโรงแรม, ด้านแฟชั่น, ด้านสินค้า OTOP, ด้านสินค้าอุตสหกรรม เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อทำให้ E-Commerce สามารถเป็นเครื่องมื
ที่สามารถเสริมสร้างศักยภาพในการทำธุรกิจในแต่ละด้านของเมืองไทยให้สามารถแข่งขันกับต่างประเทศ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เข้าถึงกลุ่มลูกค้าทั่วโลกได้อย่างรวดเร็ว และง่ายกว่าช่องทางอื่นๆ และหากหน่วยงานอื่นๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนต้องการสนับสนุน หรือต้องการความช่วยเหลือ ก็สามารถติดต่อมายังกลุ่มผู้ประกอบการเหล่านี้ได้โดยตรง
ในกลุ่มจะมีการนัดคุยระดมความคิดเห็นในรวมตัวกันของกลุ่มผู้ประกอบการด้าน E-Commerce ในวันอังคารที่ 19 กรกฏาคม 2548 นี้ เวลา : 14:00 -16.00 น. ณ. บริษัท ICN ดูรายละเอียดและลงชื่อมาร่วมการประชุมได้ที่ http://www.pawoot.com/webboard/index.php?showtopic=343
ผมเองเชื่ออยู่ในใจเล็กๆ ว่าการพบปะกันครั้งนี้ของหน่วยงานต่าง ๆ ด้าน E-Commerce ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในเมืองไทยในครั้งนี้ น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาและเติบโตของ E-Commerce ในเมืองไทยอย่างเป็นรูปธรรม แต่ทั้งนี้และทั้งนั้นผมเองหวังอย่างยิ่งว่า ทางรัฐฯ จะเอาจริงเอาจังและนำงานแผนต่างๆ ที่ได้มีการวางเอาไปนำไปพัฒนาต่อ หากมีอะไรให้ทางเอกชนช่วยหรือสนับสนุนผมเชื่อว่าทุกคนยินดีอย่างยิ่ง เหมือนกันที่ทุกท่านมาร่วมกันในงานนี้ ผมเริ่มเห็นอนาคต E-Commerce เมืองไทยสดใสมากขึ้นแล้วครับ
Pawoot P. 9/7/05
]]>