<![CDATA[

    ในการทำเว็บไซต์ให้ประสพสำเร็จ และมีคนเข้ามาใช้บริการอย่างต่อเนื่อง จะต้องประกอบไป ด้วยองค์ประกอบหลายๆ อย่าง ที่จะทำให้เว็บไซต์นั้นน่าสนใจ และน่าที่จะเข้ามาใช้บริการ ซึ่งเราสามารถทำให้เว็บไซต์เราเป็นเว็บไซต์ที่มีความน่าสนใจและประสพความสำเร็จ โดยอาศัยองค์ประกอบ 6 ส่วน ซึ่งจะประกอบไปด้วย C 6 ตัวด้วยกันครับ

C ontent (ข้อมูล)

C ตัวแรกคือ Content หรือ ข้อมูล ซึ่ง ”ข้อมูล” ถือเป็นส่วนสำคัญและเป็นหัวใจหลักอันดับหนึ่งของการที่จะ ทำให้เว็บไซต์ของคุณดูน่าสนใจ  โดยรูปแบบของข้อมูล (Content) ที่มีให้บริการในเว็บไซต์ ในตอนนี้มีหลายรูปแบบ เช่น  ข้อมูลในรูปแบบตัวหนังสือ, รูปภาพ, เสียงเพลง, หนัง VDO, ภาพเคลื่อนไหว (Flash Animation) และแอพพิลเคชั่น เป็นต้น ซึ่งรูปแบบของข้อมูลแต่แบบก็ขึ้นอยู่กับ รูปแบบและประเภทของเว็บไซต์ที่ให้บริการ เช่น เว็บไซต์ www.MCOT.or.th เป็น เว็บไซต์ที่ให้บริการข่าว ทั้งในรูปแบบตัวหนังสือ (Text) , ฟังข่าววิทยุทางอินเทอร์เน็ต (เสียง) หรือ ดูภาพข่าวเคลื่อนไหวได้ทันที (VDO) ซึ่งเป็นการผสมผสานของการให้บริการที่หลากหลายรูปแบบของข้อมูล

สำหรับการทำเว็บไซต์ของคุณข้อมูลที่ดี และน่าเข้าไปอ่านและใช้บริการควรประกอบไปด้วย

ข้อมูลใหม่สดเสมอ

            คง ไม่ดีแน่หากมีคนเข้ามาในเว็บไซต์ของคุณแล้วพบกว่าข้อมูลภายในเว็บไซต์ของ คุณเก่าและไม่อัพเดท เช่น เจอข่าวเก่าๆ ตั้งแต่ปีมะโว้ ที่หน้าเว็บไซต์ของคุณ หรือ พบว่าคุณอัพเดทเว็บครั้งเมื่อสองปีก่อน โดยดูจากวันที่ คุณแจ้งเอาไว้ ซึ่งหากคนเข้ามาพบเห็นข้อมูลที่เก่าล้าสมัยในเว็บไซต์คุณ เค้าก็คิดว่าเว็บนี้คงไม่ได้ทำมานานแล้ว ข้อมูลขาดความสดและความน่าเชื่อถือ ก็อาจจะทำให้เค้าไม่อยากจะกลับมาเว็บไซต์ คุณอีกเลยก็ได้ ดังนั้นคุณควรหมั่น อัพเดทข้อมูลเว็บไซต์คุณอยู่ เสมอและหากควรจะหลีกเลี่ยงการ ใส่วันที่ที่อัพเดทล่าสุด เอาไว้หน้าเว็บ หากคุณไม่มั่นใจว่าคุณจะอัพเดทประจำ

 

ข้อมูลมีความถูกต้อง

ข้อมูล ในเว็บไซต์คุณควรจะมีข้อมูลที่ครบถ้วน ถูกต้องและสอดคล้องกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เว็บไซต์บางประเภทที่ต้องการ ความแม่นยำและถูกต้องของข้อมูลสูง เช่นเว็บไซต์ข่าว, เว็บไซต์ข้อมูลหุ้น เป็นต้น ซึ่งบางครั้ง ข้อมูลบางประเภทอาจจะต้องมีการแจ้งช่วงเวลาที่ได้ข้อมูลมา เพื่อความถูกต้องที่ครบถ้วน เช่น ข้อมูลราคา ทองคำ, น้ำมัน และหากข้อมูลบางอย่างที่คุณได้มาจากคนที่เข้ามาในเว็บ คุณควรจะมีการแจ้งถึง ความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องระหว่างข้อมูลในส่วนที่มีคนทั่วไปสามารถนำมาลงไว้ ในเว็บคุณ ด้วย เพราะข้อมูลในส่วนเหล่านี้คุณไม่สามารถควบคุมได้

 

อ้างอิงถึงแหล่งที่มาของข้อมูล

            มี การคัดลอกข้อความใดจากเว็บไซต์ หนังสือพิมพ์ สิ่งพิมพ์หรือแหล่งข้อมูลอื่น ๆ มาลงในเว็บไซต์ของคุณ คุณควรจะแจ้งแหล่งที่มาของข้อมูลด้วย เว้นแต่จะมีข้อตกลงเป็นอย่างอื่น กับแหล่งข้อมูลนั้นๆ ซึ่งข้อนี้อยู่ใน หลักจริยธรรมของเว็บไซต์ไทย ซึ่งออกโดยสภาวิชาชีพผู้ดูแลเว็บไทย  (www.webmaster.or.th/council) แต่ตอนนี้ก็มีบางเว็บไซต์ที่ยินดีที่จะแจกข้อมูลภายในเว็บไซต์ของตนให้กับคนอื่นๆ นำไปลง เช่นเว็บไซต์ www.thaisarn.com เป็นเว็บที่แจกข่าว ให้กับเว็บไซต์ที่สนใจจะนำไปลง โดยจะใช้เทคโนโลยี Web Services หรือ XML เป็นช่องทางในการกระจายข่าวให้กับผู้ที่สนใจจะนำข่าวไปลง

 

การจัดการและบริหารข้อมูล (Content Management )

   &
nbsp;   นี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งในการที่จะทำให้ข้อมูลในเว็บไซต์ของคุณมีความน่าสนใจ และเป็นข้อมูลที่ดี แต่สิ่งที่สำคัญอีก สิ่งหนึ่งสำหรับข้อมูลในเว็บไซต์คือ  การจัดการและบริหารข้อมูล
(Content Management ) ภายในเว็บไซต์ ซึ่งสามารถแบ่งรูปแบบของการจัดการข้อมูลในเว็บไซต์ออกได้เป็น 2 ประเภท

1.       เว็บไซต์ที่มีข้อมูลไม่มีการเปลี่ยนแปลงบ่อย (Static Content)

เป็น รูปแบบการทำเว็บไซต์ที่มีข้อมูลที่ไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลงบ่อย ซึ่งรูปแบบของการตอบสนอง กับผู้เข้ามาก็จะเป็นรูปแบบเหมือนเดิมทุกครั้ง เช่นเว็บไซต์ ข้อมูลบริษัท โดยส่วนใหญ่เว็บไซต์ในประเภทนี้จะทำเว็บไซต์ในรูปแบบ HTML ไม่ มีการใช้แอพพิลเคชั่นหรือโปรแกรมมิ่งเข้ามาช่วยทำ ซึ่งข้อดีของเว็บรูปแบบนี้คือโหลดได้รวดเร็วเพราะไม่มีความซับซ้อนของข้อมูล แต่ข้อเสียก็คือ การเปลี่ยนแปลงข้อมูลจะทำได้ยาก โดยเฉพาะอยากยิ่ง หากมีเว็บไซต์นั้นๆ มีข้อมูลที่มีจำนวนมาก และมีรูปแบบที่คล้ายๆ กัน จะต้องใช้ผู้ที่มีความรู้ในการเขียนเว็บไซต์เป็นคนคอยแก้ใขหรือปรับเปลี่ยน ให้ทุกครั้ง

 

2.       เว็บไซต์ที่เปลี่ยนแปลงข้อมูลอยู่เสมอ (Dynamic Content)

เว็บไซต์ ในรูปแบบนี้จะมีความง่ายและคล่องตัวในการจัดการและบริหารข้อมูลภายใน เว็บไซต์มากกว่า เว็บไซต์ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลบ่อย เพราะด้วยรูปแบบของเว็บไซต์ในลักษณะนี้จะใช้ แอพพิลเคชั่น หรือโปรแกรมมิ่งเข้ามาช่วยในการบริหารและจัดการ ซึ่งจะช่วยทำให้ผู้บริหารเว็บไซต์สามารถปรับเปลี่ยนหรือแก้ใขข้อมูลได้ อย่างง่ายดายและทันที  และเว็บไซต์ยังสามารถปรับ เปลี่ยนและตอบสนองได้ตรงกับความต้องการของผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมในเว็บไซต์ แต่ข้อเสียสำหรับเว็บไซต์ในลักษณะนี้คือ ต้องให้โปรแกรมเมอร์เป็นคนที่จัดทำระบบขึ้นมา และเว็บไซต์อาจจะช้า หากมีการจำนวนข้อมูลในฐานข้อมูลมากเกินไป

และตอนนี้ได้มีหลายแห่งได้พัฒนาระบบจัดการและบริหารข้อมูลผ่านเว็บไซต์  CMS (Content Management System) ขึ้นมา ซึ่งมีหลายๆ ตัวน่าสนใจมากและบางตัวก็ให้ใช้ฟรี.! เช่น Postnuke (www.Postnuke.com), Mambo Opensource (www.Mambohub.com) และสำหรับผู้ที่สนใจระบบ CMS นี้ ลองไปหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.cmsthailand.com

  รูปแบบของการหาข้อมูลมาไว้ในเว็บไซต์มี 3 รูปแบบใหญ่ๆ ได้แก่

1. ทางผู้จัดทำเว็บไซต์เป็นคนผลิตข้อมูลขึ้นมา (Self Feeding)
โดย ทางเว็บไซต์จะเป็นผู้ผลิต จัดทำข้อมูล ลงไปในเว็บไซต์ให้คน ที่เข้ามาในเว็บไซต์ได้อ่านกัน
ึ่งทางเว็บไซต์จะต้องมีคนคอยจัดทำข้อมูล เพื่อนำไปลงในเว็บไซต์ ซึ่งจะทำให้ต้องมีคนเป็นจำนวนหนึ่งในการบริหาร และ จัดการข้อมูล แต่ข้อดีสำหรับรูปแบบข้อมูลในลักษณะนี้คือ สามารถควบคุมและบริหารข้อมูลในเว็บไซต์ได้ตามความต้องการ ตัวอย่างเช่น เว็บไซต์ข่าว 

2. ข้อมูลมากจากผู้เข้ามาใช้บริการ (User Feeding)
เป็น รูปแบบของเว็บไซต์ที่ให้คนที่เข้ามาใช้บริการในเว็บไซต์เป็นคน ใส่ข้อมูลเข้ามาในเว็บไซต์ ซึ่งส่วนใหญ่เว็บไซต์ประเภทนี้จะเป็นเว็บประเภท เว็บไซต์ที่เปลี่ยนแปลงข้อมูลอยู่เสมอ (Dynamic Content) โดยทางเว็บไซต์ได้จัดเตรียม แอพพิลเคชั่นหรือหน้าเว็บไซต์เอาใว้ แล้วให้ผู้เข้ามาใช้บริการมาใส่ข้อมูลเข้าไปในเว็บไซต์ให้ ตัวอย่างเช่น เว็บไซต์ Pantip.com เป็นเว็บไซต์ที่มีเว็บบอร์ดให้คนมาเขียนใส่ข้อมูลลงไปและผู้ที่เข้ามาก็ เข้ามาอ่านกระทู้ต่างๆ ในเว็บบอร์ด โดยที่ข้อมูลไม่ได้มากจากทางเว็บไซต์เลย ซึ่งข้อดีก็คือ ไม่ต้องใช้คนมาคอยผลิตข้อมูลในเว็บไซต์ แต่สำหรับข้อเสีย ก็คือทางเว็บไซต์จะควบคุมรูปแบบ เนื้อหาของข้อมูลได้ค่อนข้างยาก 

3. ข้อมูลมากจากพันธมิตร (Partner Content)
ข้อมูล บางอย่างคุณก็สามารถนำมาจากพันธมิตรที่คุณได้ไปคุยหรือติดต่อไว้ก่อน แล้วดึงข้อมูลเหล่านั้นมาแสดงในหน้าเว็บไซต์ของคุณ ซึ่งตอนนี้มีเทคโนโลยีทางด้าน Web Services ที่ใช้เทคโนโลยที XML เข้ามาช่วยในการรับส่งข้อมูลระหว่างกัน โดยทำให้ เวบไซต์ต่างๆ ส่งข่าวเข้ามาในเครื่องของเราอย่างอัตโนมัติ เขาเรียกกันว่า RSS (Really Simple Syndication) RSS คือภาษา XML ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ตในอนาคต หลักการทำงานของมันคือ เวบไซต์แต่ละแห่ง จะแยกส่วนที่เป็นเนื้อหา หรือเนื้อข่าวจริงๆ ออกมาจากส่วนตกแต่งอย่างอื่น ออกมาอยู่ในรูปไฟล์ XML แล้วเราก็ใช้โปรแกรม RSS Reader จากเครื่องของเราไล่ดูดไฟล์ XML นี้จากเวบต่างๆ ที่ต้องการ ซึ่งตั้งได้อัตโนมัติว่าจะให้คอยเช็คข่าวบ่อยแค่ไหน จากนั้นก็นั่งอ่านข่าวทั้งหมดผ่านโปรแกรม RSS เพียงตัวเดียว ไม่ต้องเปลี่ยนเวบไปเรื่อยๆ ให้เหนื่อย ศัพท์แสลงของการอ่าน RSS นี้เรียกว่า RSS Feed ครับ ส่วนการจะดูว่าเวบไซต์ไหนมีการ Feed RSS บ้าง ให้สังเกตจากสัญลักษณ์คำว่า XML หรือ RSS ในกรอบสีส้ม ลิงค์จากสัญลักษณ์นี้หมายถึงไฟล์ RSS จากเวบไซต์นั้นนั่นเอง สำนักข่าวดังๆ อย่าง CNET, New York Times, BBC, The Register ให้บริการ RSS กันหมดแล้ว นอกจากนี้ Weblog ที่เคยแนะนำไป ก็สามารถอ่านผ่าน RSS Reader ได้ด้วย

สำหรับท่านที่กำลังจะเริ่มต้นหาข้อมูลมาลงในเว็บไซต์ของตน ก็สามารถนำวิธีเหล่านี้ไปใช้ได้ ซึ่งคราวหน้าผมจะมาพูดถึง C ตัวที่ 2 กันครับ ลองมาดูกันครับว่า คราวหน้าจะเป็นอะไร….

 

 

Pawoot P.  30/6/04


6 C กับความสำเร็จของเว็บไซต์ (ทั้งหมด)

1. ตอนที่ 1 C-Content : http://www.pawoot.com/node/116
2. ตอนที่ 2 C-Community : http://www.pawoot.com/node/120/
3. ตอนที่ 3 C-Commerce  : http://www.pawoot.com/node/169
4. ตอนที่ 4 C-Communication  : http://www.pa
woot.com/node/170

5. ตอนที่ 5 C-Customization  : http://www.pawoot.com/node/171/
6. ตอนที่ 6 C-Convenience : http://www.pawoot.com/node/274
 
 
บทความนี้เป็นลิขสิทธิ์ของ นายภาวุธ พงษ์วิทยภานุ หากต้องการนำไปใช้ที่อื่นๆ แจ้งนิดนึงนะครับที่ pawoot@tarad.com

]]>