<![CDATA[

สำหรับนักท่องเน็ตมืออาชีพทั้งหลาย ผมเชื่อว่าส่วนใหญ่จะต้องเคยได้ยินชื่อเสียง เข้าเยี่ยมชมเวบไซต์ หรือเข้าไปประมูลสินค้าจากเวบไซต์ eBay (http://www.ebay.com) กันมาบ้างครับ ซึ่งจะว่าไปแล้วเวบไซต์แห่งนี้เป็นหนึ่งในห้าเวบไซต์ในดวงใจผมที่มีโมเดลทาง ธุรกิจที่ค่อนข้างยอดเยี่ยม และมักจะได้การโหวตจากผู้ใช้เน็ตในสหรัฐให้เป็นเวบไซต์ยอดเยี่ยมแห่งปีเสมอ

ปัจจุบันอีเบย์มีสมาชิกที่ลงทะเบียนแล้วกว่า 50 ล้านคน มีจำนวนสินค้าในรายการเพื่อเตรียมขายหลายล้านชิ้น มีสินค้าที่ขายไปแล้วเป็นล้านชิ้น มีพันธมิตรทางธุรกิจใหม่ๆ เพิ่มขึ้นทุกเดือน และมีอัตราการเติบโตของสมาชิกแบบก้าวกระโดดทุกปี ดังนั้นอะไรที่ทำให้อีเบย์ประสบความสำเร็จได้ถึงขนาดนี้เป็นสิ่งที่น่าสนใจไ ม่น้อย ซึ่งหากจะเขียนเรื่องของอีเบย์แบบเจาะลึก ก็คงจะประมาณพอคเกตบุ๊คหนาๆ ซักเล่มเห็นจะได้ล่ะครับ

แต่ในวันนี้ ผมจะไม่เล่าเรื่องเกี่ยวกับการทำธุรกิจหรือการประสบความสำเร็จของอีเบย์ แต่ผมกำลังจะพูดถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับอีเบย์ที่น่าสนใจสองสามประเด็นไว้เป็ นอุทาหรณ์ เพราะเหตุการณ์เหล่านี้อาจจะเกิดขึ้นในบ้านเราได้เช่นกันครับ ถือว่าเอาบทเรียนของอีเบย์มาเป็นกรณีศึกษากันก็ได้นะครับ

การหลอกลวงจากมิจฉาชีพ

อย่างที่เกริ่นนำข้างต้นล่ะครับว่า อีเบย์นั้นยิ่งใหญ่ขนาดไหน เฉพาะเรื่องสมาชิกของอีเบย์นั้น หากวิเคราะห์อย่างละเอียดแล้วจะพบว่าค่อนข้างหลากหลายทั้งในเรื่องของอายุ ความชอบ ประสบการณ์ และความเข้าใจในเรื่องของเทคโนโลยี และอื่นๆ ดังนั้นภาพแห่งความเป็นจริงที่แฝงอยู่ในอีเบย์นานแล้วคือ มีการเกิดขึ้นของกลุ่มมิจฉาชีพหลายกลุ่ม หลายรูปแบบ ที่แฝงอยู่ภายใต้ร่มเงาของสมาชิก ซึ่งซุ่มรอโอกาสและจังหวะที่เหมาะสมก็จะลงมือทันทีกับเหยื่อทันที ยกตัวอย่างเช่น

    ท หลอกขอข้อมูลส่วนตัว

ตัวมิจฉาชีพจะพยายามเข้าไปสร้างความสนิทสนมคุ้นเคยกับผู้ใช้ทั่วไปในกล ุ่มต่างๆ และจะจัดหมวดหมู่ของผู้ใช้แต่ละคนที่ตนเองรู้จัก และเมื่อได้กลุ่มผู้ใช้เป้าหมายที่มากพอแล้ว ตัวมิจฉาชีพก็อาจจะส่งอีเมลหรือโทรไปคุยกับกลุ่มเป้าหมายเพื่อขอข้อมูลส่วนต ัวเพิ่มเติม เช่น ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์มือถือ หมายเลขบัตรเครดิต โดยจะแฝงตัวไปในหลายลักษณะเช่น เป็นพนักงานของอีเบย์ เป็นพนักงานของบริษัทบัตรเครดิต เมื่อเหยื่อหลงเชื่อและให้ข้อมูลส่วนตัวไป ตัวมิจฉาชีพก็จะนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในทางที่ไม่ถูกต้องต่อไป เช่น ขายข้อมูลส่วนตัวให้บริษัทบัตรเครดิต ขายข้อมูลให้บริษัทการโฆษณา

    ท หลอกขอรหัสผู้ใช้และรหัสผ่านเพื่อปลอมตัว

ตัวมิจฉาชีพกลุ่มนี้จะเป็นผู้ที่มีความสามารถด้านเทคโนโลยีและด้านภาษา ดีมาก (จะเรียกว่า ผู้เชี่ยวชาญ หรือ Expert ก็ได้) ส่วนใหญ่จะเริ่มต้นจากการสร้างเวบไซต์เสมือนแห่งหนึ่งซึ่งมีความคล้ายคลึงทั ้งหน้าตา สีสัน การใช้งานฟังก์ชันต่างๆ เหมือนกับเวบไซต์ของอีเบย์ทุกประการ ประหนึ่งว่า เป็นแฝดกันจริงๆ หลังจากนั้นจะส่งอีเมลที่มีสำนวนการเขียนที่ยอดเยี่ยมในหลาย ๆ ลักษณะ เช่น แจ้งว่า ระบบฐานข้อมูลสมาชิกมีปัญหาบ้าง หรือ เรากำลังปรับปรุงฐานข้อมูลสมาชิกบ้าง หรือ อีเบย์มีความยินดีที่จะมอบโปรโมชั่นให้บ้าง หรือ รหัสผู้ใช้และรหัสสมาชิกของท่านผิดปกติ กรุณาแสดงตัวตนของท่านบ้าง

ทุกครั้งจะอ้างว่าปฏิบัติงานในนามของพนักงานอีเบย์ที่เกี่ยวข้องโดยตรง (นี่ก็ก๊อบปี้ซะเหมือน) เมื่อสมาชิกตัวจริงหลงเชื่อ โดยไม่ฉุกคิดว่า ผิดปกติ ก็จะคลิกไปยังลิงค์ที่กำหนด และให้ข้อมูลรหัสผู้ใช้และรหัสผ่านไป ตัวมิจฉาชีพจะก็นำข้อมูลทั้งสองนี้ไปใช้ปฏิบัติการต่อในนามเจ้าของตัวจริงทั นที เช่น สั่งซื้อสินค้า หรือขายสินค้า แต่ที่ร้ายสุดๆ ก็คือนำสินค้าของตัวเองที่มีคุณภาพต่ำแต่นำมาขายในราคาแพง พอมีปัญหาเกิดขึ้นภายหลัง ตัวเองก็ไม่เกี่ยวข้อง แถมได้เงินที่ขายได้ไปใช้สบายใจเฉิบไปแ
ล้ว

    ท หลอกขอรหัสผู้ใช้และรหัสผ่านเพื่อกลั่นแกล้ง

ลักษณะพฤติกรรมของตัวมิจฉาชีพจะคล้ายๆ กับกรณี หลอกขอรหัสผู้ใช้และรหัสผ่านเพื่อปลอมตัว แต่ต่างกันที่ว่ากรณีนี้จะเป็นการนำรหัสผู้ใช้และรหัสผ่านนั้น เพื่อใช้เข้าไปทำลายชื่อเสียงหรือเครดิตของเจ้าของที่แท้จริง เพราะอะไรหรือครับ คำตอบก็คือ สมาชิกที่ขายของในอีเบย์ได้ส่วนใหญ่นั้น จะต้องมีเครดิตที่ดี ซึ่งเกิดจากการสะสมชื่อเสียงในด้านต่างๆ มาเป็นระยะพอสมควร เช่น ขายของที่ตรงตามคำบรรยาย ส่งของตามกำหนดระยะเวลา มีความรับผิดชอบในสินค้าที่ขายตามข้อตกลงที่กำหนดไว้

สมาชิกหน้าใหม่ๆ ของอีเบย์ เวลาจะประมูลสินค้าสักชิ้น ส่วนมากก็จะต้องคลิกไปดูที่เวบบอร์ดโปรไฟล์ของผู้ขาย ดูเวบบอร์ดที่เกี่ยวข้องกับผู้ขายคนนั้นโดยเฉพาะ ซึ่งแน่นอนว่าหากอ่านข้อมูลต่างๆ แล้วดูน่าเชื่อถือ สมาชิกท่านนั้นย่อมไม่ลังเลที่จะเข้าร่วมประมูลสินค้ารายการนั้นอย่างแน่นอน การทำลายชื่อเสียงหรือเครดิตของเจ้าของที่แท้จริงนั้น มักจะทำในหลายๆ ลักษณะ เช่น แกล้งประมูลสินค้าราคาแพงให้ได้ แต่จะโยกโย้ที่จะโอนเงิน หรือรับสินค้า บางครั้งก็จะติดต่อขอยกเลิกการประมูล ดังนั้นผู้ขายก็จะเข้าไประบายความอึดอัดในโปรไฟล์ว่า นาย… ประมูลสินค้าแต่ยึกยักไม่ยอมรับสินค้า แถมท้ายจะมายกเลิกการประมูล แค่นี้เจ้าของที่แท้จริงก็แย่แล้ว

สถานการณ์ปัจจุบัน

ตัวอย่างเหตุการณ์ที่ผมนำมาเล่าให้ฟังนั้น ปัจจุบันทางอีเบย์ได้ออกมาตรการต่างๆ หลายอย่างเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นอีกในอนาคต เช่น มีหน้าคำแนะนำในการซื้อและขายสินค้าบนอีเบย์ มีหน้าคำแนะนำในการตั้งรหัสผู้ใช้และรหัสผ่าน มีระบบลูกค้าสัมพันธ์ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อให้ลูกค้าที่มีข้อสงสัยสามารถโทรมาสอบถามกับอีเบย์ได้โดยตรง (อดีตส่วนใหญ่จะโต้ตอบผ่านอีเมล ซึ่งไม่สะดวกและไม่ทันเหตุการณ์) เป็นต้น ผมหวังว่าบทความนี้จะช่วยให้ผู้ใช้เน็ตที่ชอบประมูลสินค้าบนเน็ต ได้ตระหนักในเรื่องเหล่านี้ไว้บ้างนะครับ เพราะความเสียหายที่เกิดขึ้น ผมถามตรงๆ ว่าจะเป็นใคร นอกเสียจาก ตัวท่านเอง ครับ

]]>