<![CDATA[

สร้างธุรกิจด้วยซอฟต์แวร์ Instant E-Commerce การเริ่มต้นอย่างมืออาชีพของมือใหม่หัดออนไลน์
การสร้างธุรกิจอีคอมเมิร์ซ กำลังกลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง ซึ่งเป็นความนิยมที่ต่างไปจากช่วงธุรกิจดอทคอมบูมเมื่อ 4–5 ปีที่ผ่านมา ความต่างดังกล่าวคือผู้ประกอบการหันมาสนใจและมีความต้องการสร้างธุรกิจอีคอมเมิร์ซอย่างจริงจัง มีการศึกษาหาความรู้ประกอบการสร้างธุรกิจในหลายๆ มิติ หลายๆ แง่มุม ทั้งเรื่องการพัฒนาเว็บไซต์ การสร้างธุรกิจ การทำการตลอดทั้งในและต่างประเทศ


ในวิธีการสร้างธุรกิจอีคอมเมิร์ซนั้นมีด้วยกันหลายวิธี แต่วิธีหนึ่งที่ได้รับความนิยมคือการใช้ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปที่มีชื่อเรียกต่างกันออกไปตามแต่ผู้พัฒนาขึ้น อาทิ Instant E-Commerce หรือ Quick Commerce ซึ่งวิธีการสร้างธุรกิจแบบนี้มีจุดเด่นอยู่ที่ความเร็วในการสร้างธุรกิจ มีราคาต่ำ ผู้สร้างไม่ต้องใช้ความรู้ด้านโปรแกรมมาก และที่สำคัญซอฟต์แวร์เหล่านั้นมีการพัฒนามาจนมีศักยภาพ สามารถรองรับธุรกิจในระดับเล็กถึงใหญ่ได้เลยทีเดียว

ด้วยปัจจัยข้างต้นเรื่องของธุรกิจการสร้างอีคอมเมิร์ซ เชื่อว่ากำลังอยู่ในความสนใจของประชาชนทั่วไป ทางบรรณาธิการได้เข้าไปทำการศึกษา ถึงแนวโน้มและสถานการต่างๆ เพื่อจะนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับธุรกิจการสร้างพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์โดยอาศัยซอฟต์แวร์สำเร็จรูป ไม่ว่าจะเป็น โอกาสทางการตลาด การตอบรับของกลุ่มผู้ประกอบการ และการเปรียบเทียบซอฟต์แวร์ในมิติต่างๆ

การพัฒนาหรือการสร้างเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซในปัจจุบันมีแนวทางหลักๆ อยู่ไม่กี่แนวทาง โดยมากแล้วผู้ประกอบการจะอาศัยวิธีการในลักษณะการจ้างนักพัฒนามืออาชีพเข้ามาจัดการธุรกิจของตัวเอง มีการตกลงกันถึงความต้องการของผู้ประกอบการถึงเรื่องต่างๆ ที่เป็นเรื่องหลักๆ บนหน้าเว็บไซต์ ของการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ อาทิ วิธีการแสดงสินค้าบนแคตตาล็อกออนไลน์ วิธีการเลือกสินค้าใส่ในตระกร้าสินค้า วิธีการชำระเงิน รวมถึงการออกแบบหน้าตาของเว็บไซต์ ซึ่งบางบริการที่จัดไว้ให้ของนักพัฒนามืออาชีพจะเป็นในลักษณะเทมเพลท คือ มีรูปแบบหน้าตาเว็บไซต์ที่ถูกออกแบบไว้แล้ว เพียงแค่ผู้ประกอบการมีสินค้าและข้อมูลต่างๆ ก็สามารถนำมาใส่ไว้บนรูปแบบที่ถูกจัดวางไว้แล้วอย่างง่ายดาย วิธีการนี้ก็ได้รับความนิยมในระดับหนึ่งแต่มีข้อสังเกตว่าเว็บไซต์นั้นๆ จะมีหน้าตาและการจัดวางฟังก์ชั่นการใช้งานคล้ายๆ กันไปหมด

ส่วนอีกวิธีหนึ่งที่ผู้ประกอบการหลายรายเรียกใช้บริการจากนักสร้างเว็บมืออาชีพคือ ปล่อยให้มีการออกแบบอย่างเต็มที่ สร้างสรรค์เว็บอีคอมเมิร์ซให้ตรงกับความต้องการของผู้ประกอบการมากที่สุด ทั้งการออกแบบ แอพพลิเคชั่นต่างๆ ที่คิดให้บริการแก่ผู้ใช้เว็บ รวมถึงการคิดในเรื่องการตลาดให้ครอบคลุม โดยมากบริการรับสร้างเว็บนั้นๆ จะใช้สโลแกนว่า โทเทิล โซลูชั่น สำหรับเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ ลักษณะวันสต้อปเซอร์วิสบนเรื่องอีคอมเมิร์ซ

แต่ปัจจุบันยังมีวิธีการหนึ่งในการสร้างสรรค์เว็บไซต์ประเภทอีคอมเมิร์ซที่ได้รับความนิยมในกลุ่มผู้ประกอบการระดับเริ่มต้นที่กำลังคิดมองหาและสร้างสรรค์การค้าบนโลกไซเบอร์ คือการสร้างเว็บไซต์ด้วยตัวเอง อาศัยซอฟต์แวร์ที่ผ่านการออกแบบมาเพื่อสร้างเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซโดยเฉพาะ ภาษาที่ใช้เรียกวิธีการหรือซอฟต์แวร์ดังกล่าวนั้น โดยมากจะใช้คำว่าพวก Instant E-Commerce หรือ Quick Commerce หรือซอฟต์แวร์อีคอมเมิร์ซสำเร็จรูป ที่มีจุดเด่นเรื่องของความเร็วในการติดตั้ง ง่ายต่อการทำ เหมาะสำหรับผู้ใช้ในระดับเริ่มต้น ไม่ต้องใช้ความรู้พื้นฐานทางด้านโปรแกรมและความรู้ด้านไอทีมากเกินไปนัก และสิ่งที่สำคัญอีกประการการใช้บริการซอฟต์แวร์เหล่านี้มีต้นทุนต่ำ เพียงหลักร้อยบาทก็สามารถเป็นเจ้าของร้านค้าออนไลน์ได้

หากจะกล่าวไปแล้ววิธีการสร้างเว็บไซต์ด้วยตัวเองนั้นมีด้วยกันสองรูปแบบคือ หนึ่ง อาศัยโปรแกรมสำเร็จรูปดังกล่าวที่มีขายราคาไม่แพง แ
ะการสร้างเว็บไซต์โดยอาศัยวิธีการโอเพนซอร์ส ซึ่งผู้ประกอบการในปัจจุบันอาจนำโอเพนซอร์สทางด้านอีคอมเมิร์ซมาพัฒนาต่อยอดได้บนการลงทุนที่ไม่สูงนัก

เครื่องมือในการสร้างธุรกิจอีคอมเมิร์ซแบบที่เป็นนิยม ก็คือการใช้โปรแกรมอินสแตนท์อีคอมเมิร์ซ อาทิ โปรแกรม ควิกคอมเมิร์ซ พัฒนาโดยบริษัทตลาดดอทคอม

www.TARAD.com  โปรแกรม อินสแตน ซึ่งมีราคาที่ผู้ประกอบการกลุ่มเริ่มต้นสามารถตัดสินใจซื้อและลองใช้งานระบบได้ทันที

ในมุมของผู้ประกอบการสิ่งที่ต้องคำนึงถึงสำหรับการตัดสินใจเลือกใช้โปรแกรมอีคอมเมิร์ซสำเร็จรูปนั้น มีหลักเกณฑ์คร่าวๆ ว่า หนึ่ง ควรเลือกศึกษาอย่างละเอียดถึงฟังก์ชั่นการใช้งานของโปรแกรมต่างๆ ว่ามีความครอบคลุม และรองรับการใช้งานของผู้ประกอบการได้มากน้อยเพียงไร

แนวทางและข้อคิดสำหรับผู้ประกอบการเองต้องมีแนวคิดเกี่ยวกับวิธีการเลือกเหล่าบรรดาโปรแกรมเว็บไซต์สำเร็จรูปเหล่านั้นว่า คงต้องดูที่ออพชั่นต่างๆ ที่มีบริการไว้ เพราะแต่ละที่ก็จะมีบริการที่แตกต่างกันออกไป และสิ่งที่ผู้ประกอบการไม่ควรมองข้ามสำหรับการเลือกใช้ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปคือ หนึ่ง เรื่องการเลือกใช้โฮสติ้งของผู้ให้บริการอินสแตนท์ ว่าสามารถรองรับความต้องการของผู้ประกอบการได้ในรูปแบบใด สอง ภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการพัฒนาเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซว่าเป็นภาษาอะไร มีจุดดีจุดด้อยอย่างไร และสุดท้ายเรื่องของแบนด์วิดธ์ ที่เป็นส่วนสำคัญของเว็บไซต์ประเภทอีคอมเมิร์ซ

และส่วนที่ขาดไม่ได้คือการทำความเข้าใจกับระบบการรักษาความปลอดภัยในเรื่องการจ่ายเงิน ในปัจจุบันระบบการรักษาความปลอดภัยถ้าจะดูในส่วนของระบบการจ่ายเงินคงต้องมีการให้บริการจ่ายเงินผ่านบัตรเครดิต ที่กำลังได้รับความนิยมจากผู้ใช้ นอกเหนือจากนั้นยังรวมถึงโอกาสในการพัฒนาต่อยอดของเว็บไซต์ที่ผ่านการสร้างขึ้นมาจากซอฟต์แวร์

ผู้ประกอบการต้องตั้งอยู่บนแนวคิดที่ว่าจะสามารถทำอย่างไรให้ผู้ใช้ หรือผู้บริโภคได้ใช้งานซื้อ-ขายสินค้าบนหน้าเว็บได้เพียงไม่กี่คลิก เครื่องมือต่างๆ ต้องเอื้อประโยชน์ต่อธุรกิจมากที่สุด

การพัฒนาเว็บไซต์ด้านอีคอมเมิร์ซในแบบอาศัยซอฟต์แวร์สำเร็จรูป รวมถึงการอาศัยความสามารถของโอเพนซอร์สนั้นจะเป็นการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ให้มีธุรกิจออนไลน์ได้อย่างต่อเนื่องและเพิ่มจำนวนขึ้นต่อเดือนหลายร้อยเว็บไซต์ จากการเก็บข้อมูลจากผู้พัฒนาซอฟต์แวร์เจ้าหลักๆ ที่ทำตลาดอยู่ในประเทศไทย สรุปได้ว่าในแต่ละเดือนจะมีผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซรายใหม่เพิ่มขึ้นจำนวนหลายร้อยราย

แนวความคิดด้านการตลาดที่ผู้พัฒนาระบบซอฟต์แวร์สำเร็จรูปสำนักต่างๆ จะต้องผนวกเข้ามาเพื่อสร้างตลาดให้กับผู้ประกอบการ ไม่ว่าจะเป็นตลาดในประเทศไทย หรือมุ่งไปที่ตลาดต่างประเทศ พิจารณาดูที่ฐานลูกค้าต่างๆ ของผู้พัฒนาว่ามีจำนวนมากน้อยเพียงใด ประสบความสำเร็จในระดับใด สำหรับผู้เริ่มต้นธุรกิจอีคอมเมิร์ซการทำการตลาดด้วยตัวเองอาจเป็นเรื่องยากลำบาก การเริ่มสร้างแบรนด์ของผู้ประกอบการใหม่นั้นอาจต้องอาศัยกลยุทธ์ที่เรียกว่า “เหาฉลาม” คือเกาะไปกับผู้ที่โตอยู่ในตลาดเพื่อสร้างชื่อ จุดสังเกตประการหนึ่งก็คือบริษัทผู้พัฒนาซอฟต์แวร์อีคอมเมิร์ซสำเร็จรูปนั้นมักจะมีตลาดกลาง ไว้รองรับหน้าร้านของผู้ประกอบการรายใหม่นั้นๆ

การติดตามเทคโนโลยีเพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับธุรกิจนับว่าเ
ป็นส่วนสำคัญในการสร้างธุรกิจให้มีความเติบโต เป็นการเติบโตอย่างมีหลักการ การสังเกตคู่แข่ง การกำหนดราคาที่อยู่บนฐานของกลไกราคาก็เป็นเรื่องสำคัญ ที่ไม่สามารถมองข้ามได้

ระบบการจ่ายเงินก็มีความสำคัญ เพราะผู้บริโภคต้องการความมั่นใจกับการจ่ายเงินเพื่อซื้อสินค้าในแต่ละครั้ง รวมถึงการรักษาความปลอดภัยของฐานข้อมูล อาทิ ชื่อ ที่อยู่ อีเมล์แอดเดรส และหมายเลขบัตรเครดิต ปัจจุบันพัฒนาการของระบบธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ที่พัฒนาเรื่องระบบการรักษาความปลอดภัยการชำระเงินมีความปลอดภัยในระดับสูง สามารถมั่นใจได้ด้วยแนวคิดในลักษณะการ Verify หรือ การแสดงตัวตนเจ้าของบัตรด้วยการกรอกรหัสผ่านเฉพาะบุคคล นอกเหนือจากการกรอกเบอร์บัตรเครดิตเพียงอย่างเดียว

ระบบการจ่ายเงินในแบบเก่าที่ใช้กันมาเช่น การโอนเงินและแฟกซ์สลิปการโอนไปให้ร้านค้า ก็ยังคงต้องมีอยู่ เพราะการค้าขายบนโลกออนไลน์นั้นไม่ได้รองรับเพียงแค่ผู้ถือบัตรเครดิตเพียงกลุ่มเดียวเท่านั้น

ปัจจุบันระบบการจ่ายเงินผ่านโทรศัพท์มือถือ สามารถเชื่อมโยงเข้ามาสู่โลกออนไลน์ได้แล้ว นับว่าเป็นช่องทางการจ่ายเงินที่สะดวก และสามารถปลุกกระแสธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างจริงจัง ผู้พัฒนาระบบการจ่ายเงิน ผู้ให้บริการระบบโทรศัพท์มือถือ และธนาคาร มีการเชื่อมต่อระบบข้อมูลกันอาศัยความสามารถของเทคโนโลยี SMS หรือ การดาวโหลดแอพพลิเคชั่นจ่ายเงิน บริการดังกล่าวท่านผู้อ่านคงจะเคยผ่านตาหูผ่านตาบ้างในชื่อว่า m-Payment, m-Bill, Digital wallet หรือชื่ออื่นๆ ก็สุดแล้วแต่

ประเด็นต่างๆ ที่กล่าวมา ผู้ประกอบการควรจะนำเอาไปเป็นเงื่อนไขประกอบการพิจารณาที่จะเลือกทดลองใช้ซอฟต์แวร์สำเร็จรูป ที่มีจำหน่ายอยู่ในตลาด นั่นหมานถึงผู้ประกอบการเองจะมีหลักยึดว่าซอฟต์แวร์นั้นๆ เหมาะสมกับธุรกิจของตัวท่านอย่างไร

การสังเกตพฤติกรรมผู้ซื้อ และขนาดธุรกิจของผู้ประกอบการ อาจเป็นตัวแปรหนึ่งที่จะกำหนดว่าคุณจะเลือกใช้ระบบใด ต้องการระบบการชำระเงินในรูปแบบไหน เรื่องเงินลงทุน เรื่องของลูกค้าเป้าหมาย จะเป็นตัวตอบโจทย์ว่าผู้ประกอบการนั้นๆ จะเลือกระบบการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในระดับใดมารองรับ ตัวอย่างเช่นถ้ากลุ่มลูกค้าหรือผู้ซื้อเป็นตลาดต่างประเทศ ก็มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเพิ่มระบบการชำระเงินผ่านบัตรเครดิต

โดยสรุปแล้วผู้ประกอบการเองที่กำลังคิดจะสร้างธุรกิจอีคอมเมิร์ซขึ้นมาควรจะต้องมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับธุรกิจในแง่มุมต่างๆ เบื้องต้น อาทิ เรื่องระบบช้อปปิ้งคาร์ท, ระบบการชำระเงินออนไลน์, ระบบการบริหารสินค้าในคลัง, วิธีเลือกโฮสติ้ง ต้องทำความเข้าใจสิ่งที่เรียกว่าเทคโนโลยีขั้นพื้นฐาน และผู้ประกอบการควรสำรวจความต้องการของตัวธุรกิจเองให้ถ่องแท้ด้วย

กลุ่มนักพัฒนารุ่นใหม่ชอบที่จะพัฒนาธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์จากเว็บไซต์สำเร็จรูป และนำมาพัฒนาต่อยอดโดยอาศัยโอเพนซอร์ส สามารถสร้างบริการที่หลากหลายบนหน้าเว็บไซต์นั้นๆ ได้ การใช้โอเพนซอร์สสามารถลดราคาต้นทุนของนักพัฒนาได้มาก

การพัฒนาร้านค้าอิเล็กทรอนิกส์ไม่ได้ยากและไม่ต้องอาศัยเงินลงทุนมากนัก การใช้ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปเพื่อสร้างร้านค้าอาจเป็นจุดเริ่มต้นของธุรกิจที่ดี ผนวกกับการอาศัยโปรแกรมที่เรียกว่าโอเพนซอร์ส เชื่อว่าผู้ประกอบการหน้าใหม่คงเห็นอรรถประโยชน์จากโปรแกรมดังกล่าวเพื่อสร้างธุรกิจอีคอมเมิร์ซได้อย่างสมบูรณ์แบบครับ

บทความจาก นิตย
าร E-Commerce
http://www.ecommerce-magazine.com
 

]]>