<![CDATA[

ฟอร์เรสเตอร์ รีเสิร์ชเปิดเผยผลการสำรวจพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคออนไลน์ในปี 2006 โดยระบุว่าเป็นครั้งแรกที่ชาวอเมริกันจ่ายเงินให้กับสินค้าแฟชั่นมากกว่าอุป กรณ์คอมพิวเตอร์
       

       ธุรกิจอีคอมเมิร์สของสหรัฐอเมริกายังคงเติบโตต่อเนื่อง โดยในปี 2006 ผลสำรวจระบุว่าภาพรวมอุตสาหกรรมมีมูลค่า 220,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้น 25 เปอร์เซ็นต์ เหนือกว่าที่นักวิเคราะห์ประมาณการณ์เอาไว้ว่าจะขยายตัวเพียง 20 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบจากปี 2005
       
       ส่วนหนึ่งที่ทำให้การค้าบนโลกออนไลน์ขยายตัวได้รวดเร็ว และมีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นมากนี้ เป็นเพราะผู้บริโภคเปลี่ยนมาใช้อินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์มากขึ้น ในขณะที่ตัวเว็บไซต์เองก็ออกแบบให้ผู้ซื้อใช้บริการได้สะดวกมากยิ่งขึ้น ซึ่งจากการศึกษาของฟอร์เรสเตอร์พบว่า ช่องทางการค้าออนไลน์ลักษณะนี้จะเติบโตต่อไป และมีส่วนแบ่งตลาดเพิ่มมากขึ้นเมื่อเทียบกับช่องทางการขายแบบปกติ
       
       ฟ อร์เรสเตอร์ได้ยกตัวอย่างว่า เว็บไซต์ที่นำเสนอข้อมูลของเนื้อผ้า และรายละเอียดต่าง ๆ บนชุดได้ละเอียด มีโอกาสได้ยอดซื้อเพิ่มขึ้น เพราะสามารถจูงใจและให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจซื้อได้ดีกว่า สำหรับสินค้าเครื่องแต่งกายที่มียอดขายออนไลน์สูงสุดคือรองเท้า คิดเป็นมูลค่า 18,300 ล้านเหรียญสหรัฐ (ทั้งนี้ไม่นับรวมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว) ซึ่งเหตุผลส่วนหนึ่งที่ทำให้การขายรองเท้าออนไลน์เติบโต คือบริการจัดส่งสินค้าให้ฟรี และมีส่วนลดเพิ่มเติมให้ลูกค้า
       
       หันมามองตลาดคอมพิวเตอร์ และซอฟต์แวร์ก็มียอดขายเติบโตต่อเนื่อง เพิ่มขึ้น 20 เปอร์เซ็นต์จากปี 2005 คิดเป็นมูลค่า 17,200 ล้านเหรียญสหรัฐ
       
       ทั้งนี้ นายสก็อต ซิลเวอร์แมน กรรมการบริหารของ Shop.org ผู้ว่าจ้างทำการสำรวจครั้งนี้กล่าวว่า "ร้านค้าปลีกเริ่มประสบความสำเร็จในการชักจูงใจผู้บริโภคให้ซื้อสินค้าออนไล น์ได้แล้ว พวกเขาทำให้การซื้อสินค้าผ่านทางเว็บไซต์เป็นเรื่องธรรมดาทั่วไป"
       
       ไม่เพียงเท่านั้น นายซิลเวอร์แมนแห่ง Shop.org ยังเชื่อว่าอุตสาหกรรมค้าปลีกออนไลน์เหล่านี้จะเติบโตอย่างต่อเนื่อง และตัวเลขการขยายตัว 20 เปอร์เซ็นต์นี้จะไม่ใช่ความสำเร็จสูงสุด นอกจากนั้นเขายังได้คาดการณ์ว่า ยอดขายในปี 2007 นี้จะอยู่ที่ 259,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเติบโตจากปี 2006 เพิ่มขึ้น 18 เปอร์เซ็นต์
       
       "ธุรกิจค้าปลีกอาจเริ่มมองเห็นโอกาสในการทำตลาดมากขึ้น แต่ผู้จัดจำหน่ายบางส่วนยังขาดการประเมินศักยภาพด้านการลงทุนระบบอีคอมเมิร์ สที่เหมาะสม เช่น อาจมีการเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ ๆ ลงไปมากเกิน และนำมาซึ่งค่าใช้จ่ายให้องค์กรเพิ่มขึ้น" ซิลเวอร์แมนกล่าว
       
       หนึ่งในบริษัทที่ลงทุนเพิ่มฟีเจอร์ให้กับระบบหน้าร้านได้แก่ อเมซอน ซึ่งในกรณี ทางอเมซอนได้ออกมาชี้แจงว่า การลงทุนพัฒนาระบบขายสินค้าของเว็บไซต์เป็นการลงทุนระยะยาว และเชื่อว่าจะได้รับผลตอนแทนที่คุ้มค่า
       
       อย่างไรก็ดี ยอดการค้าปลีกออนไลน์คงยังไม่สามารถเข้ามาแทนที่หน้าร้านปกติได้ เนื่องจากแม้จะมีตัวเลขยอดขายที่สูง แต่หากเปรียบเทียบกับยอดค้าปลีกโดยรวมแล้ว มันยังมีมูลค่าเท่ากับ 7 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น มีเพียงสินค้าบางชนิดที่ยอดขายออนไลน์มีเปอร์เซ็นต์สูงเมื่อเทียบกับการค้าป ลีก
       
       สินค้าดังกล่าวคือธุรกิจคอมพิวเตอร์ โดยมียอดขายออนไลน์คิดเป็น 44 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับ
ยอดขายทั้งหมด

       
       เรียบเรียงจากรอยเตอร์

http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9500000055056

]]>