<![CDATA[

ใจกลางกรุงโซล เราจะได้ยินเสียงเพลงป๊อปยอดฮิตและแสงไฟที่สาดส่องในตลาดดองแดมุนตลอดทั้งคื น เพื่อดึงดูดบรรดานักท่องเที่ยวที่หลั่งไหลไม่ขาดสาย เพราะที่นี่คือศูนย์รวมแฟชั่นสุดฮิตจากแดนกิมจิ ที่กำลังโด่งดังไปทั่วเอเชีย กับราคาที่สุดแสนสบายกระเป๋า เรียกได้ว่าที่นี่เป็นสวรรค์ของบรรดานักช้อปโดยแท้

        Gmarket Inc. จากเกาหลีใต้ กำลังจะกลายเป็นตลาดออนไลน์แห่งใหม่ที่จับกระแสบริโภคนิยมของชาวเกาหลีเอาไว ้ได้ และจุดหมายปลายทางของการชอปปิงของชาวเอเชียอาจมาหยุดลงที่นี่    Gmarket Inc.ยังวางเป้าหมายในการแข่งขันกับ eBay Inc. ซึ่งมีสาขาอยู่ที่เกาหลีแบบเต็มตัวอีกด้วย   Gmarket เป็นที่ถูกตาต้องใจบริษัท ยาฮู อิงค์ จากอเมริกา ผู้บริหารยาฮูสั่งเคาะโต๊ะซื้อหุ้นของ Gmarket ไปแล้วถึง 9% และบริษัทแห่งนี้เพิ่งจะก้าวเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่า นมา โดยการเปิดขายหุ้นผ่านตลาดหลักทรัพย์แนสแด็ก นอกจากนั้นบริษัทยังมีเป้าหมายในการขยายตัวสู่ตลาดในประเทศจีน ญี่ปุ่น และอเมริกาอีกด้วย

ปัจจุบัน Gmarket ไม่มีแม้แต่สต็อกสินค้าคงคลัง เพราะการเปิดร้านค้าออนไลน์สามารถทำให้ผู้ขายจัดการระบบสินค้า และหมุนเวียนได้อย่างคล่องตัว Gmarket ทำหน้าที่เป็นแค่นายหน้าที่จะจัดการเรื่องการจ่ายเงิน โดยได้รับค่าตอบแทนเป็นส่วนต่างจากธุรกรรมการโอนเงินที่เกิดขึ้นบนเวบไซต์  สำหรับในส่วนของลูกค้านั้น คู ยง แบ ซีอีโอของ Gmarket กล่าวว่า บริษัทเป็นเสมือนห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ในรูปแบบออนไลน์ ซึ่งทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกในการชอปปิงออนไลน์ที่หลากหลาย

       “ปัจจุบันรูปแบบแฟชั่นค่อนข้างหลากหลาย และเราก้าวเข้ามาในห้วงเวลาที่วัฒนธรรมทางการแต่งกายกำลังเป็นธุรกิจที่มาแร งและทำเงิน” เขากล่าว ในการให้สัมภาษณ์ที่สำนักงานใหญ่ของบริษัทที่กรุงโซล  มีการประเมินกันว่ามูลค่าของสินค้าที่มีการจำหน่ายอยู่ใน Gmarket ในช่วงไตรมาสที่สองของปีนี้อยู่ที่ 543.8 พันล้านวอน หรือประมาณ 567 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันนี้ของปีที่แล้วถึง 163%  มีผู้ลงทะเบียนผ่านเวบไซต์ทั้งสิ้นแล้วกว่า 9.2 ล้านคนในขณะที่ประเทศนี้มีประชากรทั้งหมด 48 ล้านคน โดยส่วนใหญ่สมาชิกจะเป็นผู้หญิง อายุระหว่าง 20-30 ปี

        Gmarket เปิดตัวครั้งแรกเมื่อปี 2000 โดยใช้ชื่อในการจดทะเบียนที่ต่างจากปัจจุบัน โดยบริษัทเปลี่ยนชื่อเป็น Gmarket ในเดือนตุลาคมปี 2003 และวางเป้าหมายในการขายสินค้าออนไลน์โดยตรงไปที่สินค้าแฟชั่นอย่างเสื้อผ้าแ ละเครื่องประดับ ในวันนี้กว่า 40% ของยอดขายใน Gmarket คือสินค้าจำพวกแฟชั่น ชอย ซัง ฮยุน เป็นผู้หนึ่งที่พยายามปั้นร้านค้าของตัวเองให้ประสบความสำเร็จ แต่เขากลับทำไม่ได้ ในที่สุดเขาพบว่า หนทางการค้าแบบออนไลน์น่าจะลงตัวกับเขามากกว่า โดยเขาปิดร้านที่เคยตั้งอยู่ในย่านแฟชั่นของโซลไปแล้ว แต่กลับมาเปิดหน้าร้านออนไลน์ผ่าน Gmarket ขายเสื้อผ้าอินเทรนด์และจับกลุ่มสุภาพสตรีวัยรุ่น

“จะว่าไปแล้ว มีข้อจำกัดของการทำธุรกิจออนไลน์อยู่เหมือนกัน ผมจึงต้องศึกษาเรื่องธุรกิจผ่านอินเทอร์เน็ต” ชอย วัย 34 ปีกล่าว ในปัจจุบัน รายได้ทั้งหมดของเขามาจากการขายของออนไลน์ทั้งสิ้น รูปแบบของ Gmarket แตกต่างจากเวบไซต์ที่ให้ลูกค้าเข้ามาประมูลสินค้าออนไลน์กันเหมือนอีเบย์ แต่ Gmarket เพิ่มมูลค่าให้กับตัวเองด้วยการบริหารการชำระเงินและธุรกรรมทั้งหมด เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าและร้านค้าที่ลงทะเบียนเอาไว้ นอกจากนั้น เวบไซต์ยังสามารถจัดวางระบบติดตามสินค้า และตรวจตราการชำระเงินเอาไว้ด้วย ส่วนใหญ่แล้วสินค้าที่จำหน่ายผ่านเวบไซต์ของ Gmarlet จะเป็นสินค้าใหม่และราคาต่อรองไม่ได้ แต่แม้กระนั้นทางเวบไซต์ก็เพิ่มทางเลือก และสร้างสีสันให้กับการค้าขายด้วยการเปิดให้มีฟังก์ชันการประมูลด้วย

จากข้อมูลการสำรวจปริมาณผู้ใช้อิ
เทอร์เน็ตโดยบริษัทที่ปรึกษา KoreanClick พบว่า การเปิดประมูลผ่านระบบออนไลน์ กำลังเผชิญหน้ากับการแข่งขันสูง หลังจากที่หลายเดือนที่ผ่านมาผู้ใช้อินเทอร์เน็ตหลายรายหันไปเลือกซื้อสินค้ าจาก Gmarket กันมากขึ้น  ในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา มียอดการประมูลสินค้าออนไลน์ประมาณ 17.3 ล้านคน ในขณะที่ผู้ซื้อสินค้าผ่าน Gmarket ก็มีมากถึง 16.2 ล้านคน

“ก่อนหน้านี้ การประมูลสินค้าออนไลน์ เรียกได้ว่าเป็นรูปแบบธุรกรรมผ่านอินเทอร์เน็ตที่เป็นที่นิยมมากที่สุด แต่ Gmarket ได้เข้ามาเปลี่ยนสถานการณ์นั้นไป โดยแบ่งให้ตลาดมี 2 รูปแบบ และมีผู้เล่นรายหลัก 2 บริษัท” ควอน มิง จัน นักวิเคราะห์จาก KoreanClick กล่าว พร้อมกับบอกว่า “การแข่งขันระหว่างการประมูลสินค้า กับรูปแบบการขายผ่านระบบออนไลน์ในแบบที่ Gmarket กำลังทำ ทำให้คู่แข่งทั้งสองรายนี้ต้องสู้กันแบบยิบตา”

คิม ไล-ลา พนักงานบริษัทขายสินค้าแห่งหนึ่งบอกว่า เธอเข้าไปชอปปิงสัปดาห์ละ 1 ครั้งที่ Gmarket โดยซื้อเสื้อผ้าราคาถูก ซึ่งการชอปปิงออนไลน์ทำให้เธอรู้สึกสนุกและผ่อนคลาย เธอยังบอกอีกว่าเธอไม่ได้มีปัญหากับระบบการซื้อสินค้าออนไลน์ อย่างเช่น การไม่ไว้วางใจและการขโมยสินค้า เพราะเวบไซต์แห่งนี้มีชื่อเสียงในด้านระบบรักษาความปลอดภัยดีเยี่ยม

“ไม่น่าเชื่อว่าของออนไลน์จะราคาถูก ส่งก็เร็ว และที่สำคัญที่สุดคือ Gmarket เป็นเวบไซต์ที่เชื่อถือได้มากกว่าเวบอื่นๆ” คิม วัย 29 ปีกล่าว

เดวิด จุง ผู้บริหารจาก Goldman Sachs กล่าวว่า Gmarket สามารถฉกฉวยโอกาสที่ดีจากการที่ระบบอินเทอร์เน็ตในเกาหลีใต้เริ่มเป็นรูปเป็ นร่าง และมีผู้ใช้เพิ่มมากขึ้น นอกจากนั้นระบบการชำระเงินก็มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และยังอำนวยความสะดวกทั้งผู้ซื้อและผู้ขายในการตรวจสอบอีกด้วย  “เราเพิ่งจะเจอรูปแบบของตลาดออนไลน์ที่เอื้อประโยชน์แก่ผู้ซื้อผู้ขายอย่างแ ท้จริง” จุง กล่าว โดยบริษัท Goldman Sachs เป็นผู้อยู่เบื้องหลังการนำ Gmarket เข้าตลาดหลักทรัพย์เองด้วย   ในส่วนของราคาหุ้นนั้น มีผู้ลงชื่อจองจำนวนล้นหลาม และราคายังขยับขึ้นสูงสุดอยู่ที่ 15.25 ดอลลาร์สหรัฐในเดือนมิถุนายนเมื่อครั้งเปิดจอง และในปัจจุบันราคาปรับลดลงมาบ้างตามสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก แต่ยังคงทรงตัวอยู่ที่ 14 ดอลลาร์สหรัฐ

     Gmarket หวังว่ารูปแบบของธุรกิจตัวเองนั้นจะสามารถนำไปใช้กับประเทศอื่นๆ ได้ด้วย โดยบริษัทตั้งเป้าว่าจะเปิดเวบไซต์ในภาคภาษาญี่ปุ่นในปีหน้า โดยจะเข้าไปแข่งตรงกับเวบไซต์ที่อยู่ในตลาดมาก่อนแล้วอย่าง Rakuten ซึ่งจากการสำรวจพบว่าเป็นเวบไซต์ที่คนให้ความนิยมเป็นอย่างมาก นั่นหมายถึงการบ้านชิ้นใหญ่ที่ Gmarket จะต้องเตรียมตัวด้วยเช่นกัน  ส่วนในตลาดอเมริกา บริษัทอาจจะต้องเจอกับคู่แข่งรายใหญ่ระดับโลก อย่างอะเมซอนดอทคอม และอีเบย์ ขณะเดียวกัน ระบบอินเทอร์เน็ต และรูปแบบการค้าผ่านระบบออนไลน์ในประเทศจีน ก็ยังไม่ได้รับการพัฒนามากเท่าที่ควร อย่างไรก็ตาม ผู้บริหารของ Gmarket ไม่ได้มุ่งหวังที่จะครองตลาดออนไลน์ในระดับโลก แต่ก็มั่นใจว่า การจับมือกับยาฮู อิงค์ จะช่วยขยายฐานตลาดให้เติบโตได้

“เราแค่ต้องการเจอกับตลาดใหม่ๆ และลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ” ซีอีโอของ Gmerket กล่าว “เป้าหมายล่าสุดของเราก็คือการหาตลาดที่เราจะสามารถโตขึ้นได้”

จากสำนักข่าว AP โดย BURT HERMAN

เรียบเรียงโดย ดวงกมล วงศ์วรจรรย์ จาก http://www.bangkokbizweek.com

]]>