ก่อนอื่น ขอบอก่อนครับว่าข้อความที่จะอ่านต่อจากนี้เป็น เกิดขึ้นตอนสติไม่ค่อยดีเท่าไร (มึนๆ นิดๆ) อาจจะมีภาษาอะไรไม่สุภาพบ้าง ก็ต้องขออภัยมา ณ. ที่นี่ด้วยครับ เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในคือวันที่ 11 มกราคม 2010 เวลา เทียงคืนนิดๆ เป็นข้อความที่รวมมาจาก Twitter ของผม อาจจะไม่ค่อยต่อเนื่องเท่าไร แต่ก็น่าจะพอได้อะไรบ้างครับ
Pawoot P.
มันเริ่มจาก ฝรั่งเศสเล็งเก็บภาษี เว็บไซต์ยักษ์ใหญ่
ขอวิเคราะห์ เหตุการณ์ "ฝรั่งเศสเล็งเก็บภาษี เว็บไซต์ยักษ์ใหญ่ Google, Yahoo, Facebook " ผมเองรู้สึกและกำลังจับตามองเรื่องนี้มานานแล้วละครับ อย่างเหตการณ์ในปัจจุบัน เว็บไซต์ยักษ์ใหญ่ในโลกหลายแห่ง กำลังสนุกสนานกับการสร้างรายได้อย่าง "มหาศาล" จากประเทศต่างๆ ทั่วโลกได้อย่างมากมายในรูปแบบของ Long Tail คือหาโมเดลรายได้เก็บเงินนิดหน่อยๆ แต่เก็บจากคนทั่วโลก ก็สามารถทำให้เกิดรายได้มหาศาล โดยใช้โอกาสให้ผู้ซื้อทั่วโลกสามารถชำระเงินผ่านออนไลน์ ผ่านบัตรเครดิตชำระตรงไปที่ บริษัทเแต่ละแห่งในประเทศนั้นๆ ได้เลย (บริษัทบางแห่งอาจจะมีการวางแผนการรับเงินโดย เปิดบริษัทในประเทศบางประเทศที่มีสิทธิทางด้านภาษี ทำให้เค้าสามารถ ได้ผลประโยชน์ทางด้านภาษีมาก) ทั้งนี้เพื่อให้เกิดกำไรสูงสุด จึงทำให้ปัญหาบางอย่าง เพราะการ "จ่ายเงินตรงและออกไปยังประเทศของบริษัทเว็บไซต์ยักษ์ใหญ่ต่างๆ ผ่านทางอินเทอร์เน็ต" ทำให้ เว็บไซต์ใหญ่ๆ ไม่ต้อง "เสียภาษี" ให้กับรัฐบาลของหลายๆ ประเทศทั่วโลก เพราะการชำระเงินผ่านสามารถส่งผ่านอินเทอร์เน็ต ข้ามไปยังประเทศของเค้าเลย ซึ่งจะเห็นได้ว่า หลายๆ ประเทศมีการจ่ายเงินผ่านออกช่องทางออนไลน์ ไปยังประเทศที่บริษัทเว็บไซต์ใหญ่ ๆอยู่ อาจจะมีมูลค่าหลายร้อยล้านบาทหรือพันล้านบาทต่อปีเลยทีเดียว นี้คือ "ความเสียเปรียบ ของประเทศที่เว็บไซต์ใหญ่ ๆหลายๆ แห่งไม่ได้มีบริษัทตั้งอยู่" เพราะ "การจ่ายเงินตรงออกไปยังประเทศที่บริษัททเว็บไซต์ใหญ่ๆ อยู่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือประโยชน์อะไรกับภาครัฐหรือประเทศที่เว็บไซต์นั้นไม่ได้ตั้งอยู่เลย" ประเทศเหล่านั้นไม่ได้แม้แต่เงินค่าภาษีการจ้างคน ภาษีธุรกิจ ซักบาท เพราะบริษัทเว็บไซต์ใหญ่ๆ จะจ้างคนประเทศนั้นๆ ไปรวมอยู่ประเทศอื่นๆ ใกล้เคียงเอาไว้รวมกัน เพื่อความสะดวกในการบริหารจัดการ และประหยัดค่าใช้จ่าย นีื้คือความได้ เปรียบของธุรกิจที่อยู่ในโลกออนไลน์ ที่สามารถ "กำหนดเส้นทางการเดินทางของเงินได้" ไม่ยาก โดยไม่ต้องเสียภาษีให้กับแต่ละประเทศ กลับมามองเมืองไทย ธุรกิจต่างๆ ของไทย "ใช้ความได้เปรียบด้านนี้ น้อยมากๆ" มีเพียงน้อยนิดของธุรกิจออนไลน์ที่ใช้ความได้เปรียบนี้ ส่วนใหญ่ เราจะเป็นผู้ "ซื้อ" มากกว่า ดังนั้นการผมเห็นข่าวของ รัฐบาลฝรั่งเศส จะออกมาเก็บภาษีกับเว็บใหญ่ๆ เช่น Google, Yahoo, Facebook ตามข่าวนี่ ผมเห็นด้วย 100%
วิธีการแก้ปัญหาของเรื่องนี้
ทางออกของวิธีการเก็บภาษี นี้ไม่ยากครับ คือ การผลักดันให้เว็บใหญ่ๆ เปิดสาขาในประเทศที่ไปเปิดให้บริการ กำหนดให้เค้ามีการรับรายได้ผ่านสาขาในประเทศ เมื่อมีการกำหนดให้ มีการเกิดรับรายได้ผ่านสาขาในประเทศนั้นๆ ข้อดีคือ ประเทศนั้นๆ สามารถเก็บภาษีและสามารถช่วยเหลือสนับสนุนท้องถิ่นๆนั้นๆ ได้ แต่คำถามคือ เว็บใหญ่ๆ จะยอมหรือเปล่า?? คำตอบคือ "ยอม" หากภาครัฐ ออกกฏและเข้ามาดูตรงนี้อย่างชัดเจนอย่างที่ รัฐบาลฝรั่งเศสกำลังจะทำ (ขอให้ +1 สำหรับเค้า) หากเราไม่ทำวันนี้ ต่อๆไป เราจะเสียเปรียบและสูญเสียรายได้ปีนึงหลายพันล้านบาท จากการซื้อสินค้าหรือบริการผ่านทางออนไลน์ออกไปตรงๆ มีบริษัทเว็บไซต์ ตปท.หลายๆ บริษัทในปัจจุบันที่มีรายได้มหาศาลจากคนไทย แต่ไม่เคยเสียภาษีให้ประเทศไทยเลย เช่น Amazon, Ebay, Google, Yahoo การผลักดันให้บริษัทต่างๆ เหล่านั้นเข้ามา ตั้ง office ในไทยช่วยอะไรได้หลาย ๆ อย่าง เช่น การพัฒนาด้านคน, เทคโนโลยี, การได้ภาษีมาพัฒนาอุตสหกรรมด้านนี้ และอีกมาก ที่่ผ่านมา รัฐบาลจีนยังทำได้.. อย่าไปยอมเค้าสิ โดยวิธีการ Block ปิด หรือหันไปสนับสนุน local web แทนครับ แบบที่หลายปท.ทำ มีคำถามเกิดขึ้นกันว่า หากเราทำแบบนี้แล้ว จะทำให้ผู้บริโภคคือผู้รับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นหรือเปล่า? < ผมเชื่อว่ามันไม่สามารถเพิ่มขึ้นได้มาก เพราะโครงสร้างด้านราคามันมี Global Standard และ rate คุมเอาไว้อยู่
มองด้านดีของเรื่องนี้.!
แต่อย่ามองแต่ในด้านไม่ดีอย่างเดียวของปัญหานี้ เราก็ต้องมองอีกมุมด้วยว่า การจ่ายเงินออกไปเว็บไซต์ยักษ์ใหญ่ ของต่างประเทศโดยตรง บางครั้งก็นำมาซื้อรายได้ให้กับผู้ประกอบการในประเทศด้วยเหมือนกัน เช่น คนไทยที่ค้าขายใน Ebay อยู่ก็ได้รายเพิ่มมากขึ้น, คนที่ไปลงโฆษณาออนไลน์ในเว็บไซต์ต่างๆ ก็ได้คนเข้ามามากขึ้นเช่นกัน แต่สิ่งที่น่าสนใจ ผู้ประกอบการเหล่านี้ มักจะไม่มีการเสียภาษีให้กับภาครั ซึ่งหากมองมุมมองภาครัฐเราก็คงสูญเสียรายได้ไปบางส่วน ดังนั้นเราคงต้องมา เปรียบเทียบและวิเคราะห์ดูว่า สิ่งเราได้มา กับสิ่งเราเสียไป มันคุ้มกันหรือไม่ นี้คือสิ่งที่ น่าจะพลักดันให้ หน่วยงาน หรือองค์กรไหน หรือใครก็ได้ มาศึกษาและวิเคราะห์ตัวเลขดู น่าทำเน๊อะ
วิเคราะห์อุตสาหกรรมเว็บไซต์ไทยอย่างเปิดเผยดีกว่า
แต่สิ่งทีน่าสนใจที่สุดคือ "การสนับสนุนให้เว็บไซต์ไทย เปิดหูเปิดตา ไปออกตลาดโลกบ้าง" อย่างมัวอยู่แต่ในกะลาแบบนี้ ขอโทษนะ หากจะพูดอะไรแรงๆ ออกไป แต่สิ่งที่น่ากลัวที่สุดคือ การรวมตัว พื้นฐานของ ธุรกิจเว็บไซต์ในเมืองไทยอ่อนแอมากๆ เรียกว่า "เหลวเป๋วได้เลย" สิ่งที่หลายๆ คนเคยบอกว่า "ภาษาไทย" จะเป็นตัวกั้นให้ ต่างชาติเข้ามาได้ยาก แต่วันนี้มันไม่ใช่แล้ว.
ตัวอย่างเจ๋งๆ เช่น Facebook เคสการเข้ามาในเมืองไทยของ Facebook น่าสนใจมาก .. เค้าเข้ามาโดยอาศัย concept ของ "Social Contribution" คือ ให้คนท้องถิ่นช่วยกันแปล Facebook เป็น Version ภาษาท้องถิ่น.. แค่นี้ Facebook ก็สามารถพัฒนา Facebook Version ไทยออกมาได้ดีๆ แล้ว โดยอาศัยคนไทยด้วยกัน "ช่วยกันแปล" เจ๋งมาก +100 สำหรับ Facebook แต่ในมุมกลับกัน คนไทย มั่วแต่พัฒนาเว็บไซต์เพื่อ "ตอบสนองคนไทยอย่างเดียว" มันก็แค่ตลาดเล็กๆ เท่านั้น ผมอยากเปิดตาคนพัฒนาเว็บไซต์ไทย ว่าออกไปสู่ตลาดโลกเหอะ "เมืองไทย เล็กไปสำหรับคนทำเว็บเมืองไทย" มองอะไรกว้างๆ หน่อย… พี่น้อง..!
http://translate.camfrog.com/< ขอบคุณมากครับ นีืคืออีกตัวอย่าง ที่อาศัย "Social Contribution" ที่อาศํยคนในท้องถิ่นที่ช่วยกันของทาง Camfrog
อุตสาหกรรมเว็บไซต์ไทยอ่อนแอมากๆ
ปัญหามันอยู่ตรง ที่ "ฐานของอุตสาหกรรมเว็บไซต์ไทย มันอ่อนแอมากๆ" – เราเป็นผู้เสพมากว่าผู้สร้าง.! เราต้องการ "ผุ้สร้างใหม่ๆ" มากกว่านี้ ท้าเลย.. หากคุณคิดอะไรเกี่ยวกับเว็บไซต์แบบดีๆ เหี้ยๆ ทำเลยครับ… คิดว่าไม่ไหวใช้วิธี "สร้างทีม" และปรึกษาคนเก่งๆ "ทำให้เป็นจริงๆ ให้ได้" คนไทยเก่งๆ เยอะนะ แบบว่า เยอะฉิบหายเลยละ แต่ส่วนใหญ่ "ไม่กล้า ไม่เอาจริง หรือเอาจริงแล้วชอบลุยเดียว" สรุปสุดท้ายก็คือ.. จอดสนิท ผมไม่โทษใครหรอกแต่สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับอุตสหกรรมไทยตอนนี้คือ "เราต้องการตัวอย่างดีๆ ที่สำเร็จ ที่เป็นตัวอย่าให้คนอื่นๆ เดินตาม" หากเรามีกลุ่มคนกลุ่มนี้เยอะๆ ผมว่ามันคือการวางรากฐาน และสร้างตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จให้คนอื่นๆ ได้เห็น และสร้างมุมมองดีๆ ว่าเราเองก็ทำได้เช่นกัน
ทางออกของอุตสาหกรรมเว็บไทย
ผมแนะนำเลยนะ สำหรับคนทำเว็บไซต์ ไอเดียดี + ทีมงานดี + Vision ดี + execution ดี ผมว่าคุณสำเร็จได้ไม่ยากเลยครับ ขาดอันไหน หาเติมเอาเลย ไม่ยากแล้วเดียวนี้ อยากให้ทุกคนที่ อ่านอยู่ หลับตา แล้วลองคิดเล่นๆ ว่า "กูอยากทำโปรเจ็กอะไร ให้คนทั่วโลก หรือคนทั่วเอเซียใช้ดีวะ?" ทำให้ตัวเองเห็นมุมมองนี้ก่อน คนทำเว็บไทย "ลองเลิกคิด ว่า กูจะทำเว็บให้คนไทยใช้สิ" เปิดมุมมองออกไปกว้างๆ หน่อยสิ.. เสียดาย เรายังขาดตัวอย่างเจ๋งๆ น่ะ ผมว่าเรามีคนทำเว็บ รุ่นใหม่ อยู่ใน Twitter นี้เยอะ จำคำผมเอาไว้ คิดงานอะไร "คิดเพื่อคนทั่วโลก" แล้วผมเชื่อว่าโอกาสคุณจะเปิดกว้างมั่กๆ เลย อย่าอ่าน tweet ผมเพลินครับ ผมว่า "คุณ" เองก็สามารถมีไอเดียดีๆ ที่สามารถทำให้เว็บไทยโตไปในระดับโลกได้ คิดสิ คิดเว้ย.. อย่าเอาแต่อ่าน เป้าผมตอนนี้ ทำให้ E-Commerce ไทยออกไประดับโลก… แต่ผมคนเดียวคงไม่พอ… ผมอยากเห็นคนไทยอีกหลายๆ ทำอะไรที่แตกต่าง ทีมงานดี ๆมีอยู่รอบตัวครับ.! มีหลายเว็บเปิดโอกาสสร้างทีมได้ อย่ามั่วแต่ RT คำพูดผม ผมว่าไอเดียในหัวคุณ จะสามารถสร้างมุมมองให้คนอื่นๆ คิดได้… งัดมันออกมาเว้ย.! ฮ่าๆ ทำยังไงกันดี อ่าน Tweet ผมแล้ว "คุณมีไฟ" สร้างเป้าหมายของคุณเอาไว้ตอนนี้เลย (ก่อนที่มันจะหายไป) แล้วจับจ้องกับมัน นึกถึงมันในวันต่อๆ ไปแล้วหาทางทำมัน.!
จำคำผมว่า "ถ้าเอาแต่คิด แล้วไม่ได้ทำ ยังไงคุณก็ไม่โตหรอก" คิดแล้วทำ.. พลาดแล้วคือ ประสบการณ์ยังไงคุณก็โต.!
อ่านมาถึงตรงนี้ อย่าคาดหวังว่าประเทศเราจะโตได้อย่างไร หากคุณ "ไม่คิดจะเริ่มจากตัวคุณเอง" คิดแล้วก็ทำ สนุกกับมัน เลิกคิดได้แล้วว่า มันทำไม่ได้ มีอุปสรรคนั้น นู้น เพราะแค่ "คุณคิดว่ามันทำไม่ได้ มันก็ทำไม่ได้ตั้งแต่คุณคิดแล้วละ" เปลี่ยนความคิดแล้วมาคิดกันว่า "จะทำยังไง เพื่อที่จะทำมัน ให้ได้ดีกว่า"