บริการออนไลน์ในรุปแบบของ “การบริการตามตำแหน่งผู้ใช้ หรือ Location-based” อย่าง Foursquare หรือ Gowalla กำลังได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน (ในไทยตอนนี้ Foursquare ได้รับความนิยมามากกว่า Gowalla มาก) หรือล่าสุดทาง Facebook ได้เปิดบริการที่มีการนำ “ตำแหน่ง (Location)” ของผู้ใช้มาในชื่อบริการ “Facebook Place” แล้วด้วยเช่นกัน จึงได้ว่า แนวโน้มของเทคโนโลยี Location-based กำลังมาแรงและเริ่มเข้ามาบทบาทกับธุรกิจอย่างมาในอนาคตกันใกล้นี้แน่ๆ  แต่สำหรับคนที่ทำงานและทำธุรกิจคำถามคือ เราจะสามารถนำเทคโนโลยี Location-Based มาใช้กับธุรกิจของงานของเราได้อย่างไรบ้าง? เดียววันนี้เรามาดูกันครับ
 

  1. การให้รางวัลจากผู้ที่เข้าแวะมาหาเรา (Check-in)
    ตอนในบริการ Location-based อย่าง Foursquare, Gowalla หรือ Facebook Place เปิดโอกาสให้เจ้าของธุรกิจสามารถสร้างตัวตนในบริการต่างเหล่านั้น แล้วเปิดโอกาศให้คนที่แวะเข้ามาหา หรือ Check-in ที่ร้านค้าหรือธุรกิจของเรา สามารถได้รับรางวัลจากเราได้ เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เค้าเข้ามา และทุกครั้งที่เค้า Check-in ก็จะเป็นการบอกเพื่อนๆ ของเค้าผ่าน Social Network ไปด้วยว่าเค้ากำลังอยู่ที่ร้านค้าของเรา ซึ่งเป็นการโฆษณาและบอกต่อผ่านช่องทาง Social Network อย่าง Facebook หรือ Twitter ได้อย่างง่ายดายสำหรับธุรกิจ

     

    แต่เดียวนี้การ Check-in อาจจะสามารถทำได้โดยที่เจ้าตัวอาจจะไม่ได้มาที่ร้านค้าจริงๆ ก็ได้ ดังนั้นวิธีการใช้เทคโนโลยี QR Code มาแสดงอยู่ในร้านค้า เพื่อให้ผู้ที่เข้ามาในร้านค้าใช้โทรศัพท์มือถือเป็นตัว Check-in และยืนยันว่าได้มากจริงๆ ดูจะเป็นวิธีที่สามารถช่วยยืนยันตัวตนได้ดีเช่นกัน

  2. การใช้บาร์โค๊ดกับโซเชี่ยลมีเดีย
    สำหรับผู้ที่มีสินค้า และสินค้าของคุณอาจจะมีบาร์โค๊ดอยู่บนตัวสินค้า คุณสามารถประยุกต์ใช้บาร์โค๊ดเหล่านั้นในการสร้างประสบการณ์รูปแบบใหม่ให้กับผู้ซื้อ นอกเหนือจากการระบุราคาสินค้าผ่านบาร์โค๊ดเหล่าน้นเพียงอย่างเดียว เช่น ผู้ซื้อสามารถได้แต้ม เมื่อสแกนบาร์โค๊ดจากตัวสินค้า, สแกนบาร์โค๊ด เพื่อหาข้อมูลสินค้าได้เพิ่มเติม

     

    เนื่องจากตอนนี้ได้มีแอพพลิเคชั่นบนมือถือหลายๆ ตัวไม่ว่าจะเป็น iphone, Andriod หรือ blackberry ที่่สามารถอ่านบาร์โค๊ดต่างๆ ได้ง่ายๆ เช่น Barcode Scanner, Bako.do เป็นโปรแกรมบน iphone ที่ผู้ใช้สามารถสแกนสินค้าแล้วทำการเปรียบเทียบราคาสินค้าได้ (ในไทยยังไม่ค่อยเวิรก์เท่าไร) หรือ http://www.stickybits.com เป็นบริการที่เปิดโอกาให้ผู้ใช้สามารถสแกนบาร์โค๊ดแล้วเพิ่มข้อมูลไม่ว่าจะเป็นภาพสินค้า ข้อมูลและ VDO ลงไปได้

  3. การซื้อเป็นกลุ่ม (Group Deals)
    แนวโน้มของ Social Network มาแรงมากทำให้ “การซื้อของเป็นกลุ่ม หรือ Group Deals” กำลังได้รับความนิยมอย่างมาในขณะนี้ ไม่ว่าจะเป็นบริการของ  Groupon, LivingSocial, OpenTable, Yelp, หรือ Zagat ที่เปิดโอกาสให้ธุรกิจขนาดเล็กสามารถนำเสนอ สินค้าราคาพิเศษได้อย่างง่ายดายผ่านบริการลักษณะนี้ โดยสามารถนำเสนอได้แยกแต่ในพื้นที่ได้อย่างง่ายดาย และในตอนนี้เอง ก็มีแอพพลิเคชั่นบน Facebook ที่สามาถให้บริการลักษณะนี้ได้เช่นกันผ่านบริการของ http://www.wildfireapp.com

     

  4. การเล่นเกมส์ผ่าน Location-based
    ร้านค้าหรือธุรกิจสามารถ เปิดโอกาสให้ลูกค้สามารถ check-in เพื่อสะสมแต้ม หรือจะโพสต์ภาพ หรือเขียนข้อความเกี่ยวกับธุรกิจหรือ
    ร้านค้าของตน ลงบน Social Media ของลูกค้าเพื่อแข่งขันและผู้ชนะก็จะสามารถได้รับรางวัลได้

     

  5. การสมัครได้เพื่อได้รับสิทธิพิเศษ (Opt-in Deals)
    ด้วยบริการของของ http://www.bizzy.com คุณสามารถเขียนถึงบริการหรือร้านที่คุณใช้เป็นประจำ รวมถึงยังสามารถเชื่อมโยงเข้ากับธุรกิจเหล่านั้นได้ด้วย ทำให้ผู้ให้บริการสามารถนำเสนอสิทธิพิเศษกับบริการของตนได้อย่างง่ายดาย  และในขณะเดียวกัน  Bizzy ก็เปิดโอกาส ธุรกิจและร้านค้าต่างๆ สามารถสร้างสิทธิพิเศษขึ้นมาเพื่อมอบให้กับลูกค้าของตนได้อย่างง่ายดาย แต่ปัจจุบัน (กันยา 2010) ยังเปิดให้บริการเฉพาะในอเมริกาเท่านั้น แต่หากคนไทยคนไหนสนใจจะทำ ก็ดูเป็นสิ่งที่น่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว
จะเห็นได้ว่าวิธีการนำตำแหน่งของผู้ใช้ ณ.ขนาดนั้นมาใช้ร่วมกับธุรกิจของคุณผ่านเทคโนโลยี Location-based ดูจะเป็นแนวทางที่จะช่วยทำให้ธุรกิจไม่ว่าจะเป็นขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเพิ่มช่องทางในการเข้าถึงลูกค้าได้อย่างแม่นยำได้มากขึ้น ดังนั้นหากธุรกิจของไทยรายไหนได้มีโอกาสเริ่มได้ก่อนนั้นหมายถึงการจดจำและเพิ่มโอกาสความเป็นผู้นำในตลาดตรงนี้ได้อย่างแน่นอนครับ เอ้าลุยยยยยย