<![CDATA[

        ตามที่ได้กล่าวถึงในครั้งที่แล้วว่า วันนี้เราจะมาคุยกันถึงเรื่องมาตรการป้องกันการใช้บัตรเครดิตปลอมให้แก่ผู้ประกอบการทั้งหลายตามที่ได้มีการเขียน อีเมล์ขอให้ผมพูดถึง ในเรื่องดังกล่าวกัน ในส่วนของบทความนี้ จะแยกเป็น 2 ส่วน คือ มาตรการป้องกันทางด้านเทคนิค และ มาตรการป้องกันทางด้านกฎหมาย โดยจะเริ่มกันในส่วนของ การป้องกันทางด้านเทคนิคก่อนครับ

 

       จากหนังสือพิมพ์ ไฟแนนท์เชียล ไทม์ และ หนังสือพิมพ์ เอเชียนวอลล์สตรีท เจอนัล ฉบับลงวันที่ 27 มกราคม 2545 ได้หยิบยกประเด็น ปัญหาเกี่ยวกับการใช้บัตรเครดิต ปลอมบนอินเตอร์เน็ตว่า เป็นปัญหาใหญ่ ซึ่งทำให้ยอดการจำหน่ายสินค้าหรือการให้บริการทางอินเตอร์เน็ตลดลงเป็นอย่างมาก บริษัทเครดิตการ์ด ยักษ์ใหญ่อย่าง วีซ่า (Visa) ได้ลงทุนเกี่ยวกับเทคโนโลยีป้องกันการใช้บัตรเครดิตปลอมบนอินเตอร์เน็ต มากกว่า 45,000 ล้านบาทต่อปี เพื่อให้ลูกค้าผู้ใช้บัตรวีซ่าเชื่อมั่นได้ว่า บัตรเครดิตที่ใช้เครือข่าย ของวีซ่ามีความปลอดภัยมากกว่าเครือข่ายอื่น สิ่งที่น่าแปลกอย่างหนึ่งของการใช้บัตรเครดิตปลอมบนอินเตอร์เน็ต คือ ร้อยละ 70 ของบัตรเครดิตปลอมที่ใช้บนอินเตอร์เน็ต มักจะใช้กับเว็บไซต์ที่ให้บริการประมูลสินค้าผ่านทางอินเตอร์เน็ต อาทิเช่น เว็บไซต์ อีเบย์ ดอทคอม (ebay.com) ซึ่งภายหลัง อีเบย์ ได้มีการเปลี่ยนมาใช้เทคโนโลยี การชำระเงินด้วยระบบ pay pal ซึ่งเป็นการส่งอีเมล์เพื่อชำระเงินให้แก่ร้านค้าและวิธีการนี้เป็นที่นิยมมากในประเทศสหรัฐ- อเมริกา ซึ่งเราจะได้กล่าวถึงรายละเอียด ของการชำระเงินโดยวิธีนี้ในโอกาสต่อไป

 

สิ่งหนึ่งที่หนังสือพิมพ์ เอเชียนวอลล์สตรีท เจอนัล ได้ลงตีพิมพ์ไว้และผมคิดว่าน่าสนใจและอาจเป็นประโยชน์กับผู้ให้บริการขายสินค้า หรือให้บริการผ่านทางอินเตอร์เน็ต ชาวไทยโดยเฉพาะเจ้าของเว็บไซต์หรือเว็บมาสเตอร์ทั่วไป คือ มาตรการป้องกันการใช้บัตรเครดิตปลอมบนอินเตอร์เน็ต ซึ่งบริษัท Yahoo Inc ซึ่งเป็นเจ้าของเว็บไซต์ชื่อดัง ยาฮู ดอทคอม (yahoo.com) ได้เสนอมาตรการหรือข้อสังเกต 9 ข้อ ที่รวบรวมมาจากประสบการณ์ของ yahoo ที่เผชิญกับปัญหาบัตรเครดิตปลอมบนอินเตอร์เน็ทว่า ผู้ใช้บัตรเครดิตปลอมบนอินเตอร์เน็ทมักจะใช้วิธีการ ดังต่อไปนี้

 

1. สถานที่ส่งสินค้า (Suspect Ship Address) ผู้ที่ใช้บัตรเครดิตปลอมบนอินเตอร์เน็ตมักจะสั่งซื้อสินค้าและจะจัดส่งไปประเทศต่าง ๆ ที่อยู่ในเครือข่ายน่าสงสัย อันได้แก่ ประเทศโรมาเนีย มาซิโดเนีย เบลารูส ปากีสถาน รัสเซีย ลิทัวเนีย อียิปต์ ไนจีเรีย โคลัมเบีย มาเลเซีย และ อินโดนีเซีย ซึ่งประเทศดังกล่าวข้างต้น เว็บไซต์ ยาฮู ระบุว่ามีอัตราการใช้บัตรเครดิตปลอมสูง และส่วนใหญ่ไม่สามารถที่จะตรวจสอบที่อยู่และความถูกต้องของบัตรเครดิตได้

 

2. อีเมล์ที่ไม่สามารถตรวจสอบที่อยู่ย้อนหลังได้ (Untraceable E-Mail Address) ข้อสังเกตประการหนึ่งคือ ผู้ที่สั่งซื้อที่ใช้บัตรเครดิตปลอมมักจะเป็นลูกค้าที่ใช้อีเมล์ฟรีในการสั่งซื้อหรือใช้บริการบนอินเตอร์เน็ต อาทิเช่น อีเมล์ฟรีของเว็บไซต์ yahoo.com , hotmail.com และเว็บไซต์อื่น ๆ เนื่องจาก เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นเว็บไซต์ที่ขายสินค้าจะไม่สามารถตรวจสอบที่อยู่ของเจ้าของอีเมล์ฟรีดังกล่าวได้

 

3. การสั่งซื้อสินค้าราคาแพง (Expensive Items) ผู้ที่ใช้บัตรเครดิตปลอมบนอินเตอร์เน็ตมักจะสั่งซื้อสินค้าแบรนด์เนมที่มีราคาแพงและสั่งซื้อเป็นจำนวนมาก เนื่องจาก การใช้บัตรเครดิตปลอมนั้นมักจะใช้ได้เพียงครั้งเดียวและต้องใช้หมายเลขบัตรเครดิตปลอมอื่นเพื่อทำธุรกรรมครั้งใหม่

 

4. การสั่งซื้อสินค้าหลายประเภท (Multiple Items) วิธีการอีกอย่างหนึ่งที่เป็นที่นิยม คือ ผู้ที่ใช้บัตรเครดิตปลอมมักจะสั่งซื้อสินค้า ที่สามารถนำไปจำหน่ายต่อได้ในราคาสูงและง่ายแก่การจำหน่าย อาทิเช่น นาฬิกา ซาว์เบ้าด์ โดยสั่งซื้อเป็นจำนวนมากและหลาย ๆ ประเภท

 

5. ใช้บริการส่งมอบสินค้าแบบเร่งด่วน (Express Shipping) เพื่อป้องกันปัญหาการดำเนินคดีกับตนและเพื่อให้ผู้ขายสินค้าผ่านอินเตอร์เน็ตไม่มีเวลาตรวจสอบได้ทัน ผู้ใช้บัตรเครดิตปลอมมักใช้บริการสั่งซื้อสินค้าโดยส่งมอบสินค้าแบบเร่งด่วนเพื่อสินค้าจะได้ถึงตนเองโดยเร็วที่สุด

 

6.  ที่อยู่ที่ส่งสินค้าจะแตกต่างกับที่อยู่ในใบแจ้งหนี้ (Shipping Address Differs From Billing Address) ข้อน่าสังเกตอีกประการหนึ่งคือ ผู้ใช้บัตรเครดิตปลอมภายหลังจากสั่งซื้อสินค้าที่มีราคาแพงแล้วมักจะให้ส่งไปยังที่อยู่ที่แตกต่างจากที่อยู่ของเจ้าของบัตรเครดิต ซึ่งปรากฎอยู่บนใบแจ้งหนี้ของผู้ขาย ซึ่งวิธีการนี้จะทำให้ผู้ขายเกิดความสับสนว่าแท้ที่จริงแล้ว บุคคลใดเป็นผู้สั่งซื้อสินค้าที่แท้จริงและต้องใช้เวลาในการตรวจสอบเพื่อดำเนินคดีค่อนข้างมาก

 

7.ระบุที่อยู่ที่เรียกเก็บเงินที่น่าสงสัย (Suspicious Billing Address) ตัวอย่างของที่อยู่ที่ผู้ประกอบการทั้งหลายควรระมัดระวัง คือ ที่อยู่ที่เรียกเก็บเงินหรือส่งสินค้าเป็นตู้ ป.ณ. (P.O.Box) ซึ่งเป็นตู้ไปรษณีย์และสินค้าที่ไม่มีชื่อผู้รับที่แน่นอน ซึ่งในต่างประเทศนั้นภายหลังจากการสั่งซื้อสินค้าแล้ว ผู้ขายสามารถตรวจสอบที่อยู่ของผู้ซื้อผ่านทางอินเตอร์เน็ตได้ โดยใช้โปรแกรมแผนที่ที่ให้บริการผ่านทางอินเตอร์เน็ต เพื่อเช็คว่าที่อยู่ดังกล่าวมีจริงหรือไม่ ใ นส่วนของประเทศไทยนั้นแม้จะมีบริการเกี่ยวกับแผนที่ที่อยู่บนอินเตอร์เน็ตแต ่ก็เป็นบริการซึ่งผู้ใช้บริการต้องสมัครเป็นสมาชิกเท่านั้น เหตุนี้การตรวจสอบจึงอาจเป็นอุปสรรคมากกว่าการดำเนินการในต่างประเทศซึ่งมีความทันสมัยกว่า

 

8.เว็บไซต์ใหม่ (New Website) จากสถิติของการฉ้อโกงผ่านทางอินเตอร์เน็ตนั้น เว็บไซต์ที่โ
นฉ้อโกงผ่านทางอินเตอร์
เน็ต ส่วนใหญ่มักเป็นเว็บไซต์ที่เพิ่งเปิดใหม่ ซึ่งขาดประสบการณ์และเทคโนโลยีในการป้องกันการใช้บัตรเครดิตปลอมผ่านทางอินเตอร์เน็ต

 

9. การให้ส่งสินค้าโดยไม่ต้องมีการลงทะเบียน (Leave At Door) วิธีการนี้ใช้หลักจิตวิทยาง่าย ๆ ในการตรวจสอบ คือ หากท่านผู้อ่านต้องการสั่งซื้อสินค้าผ่านทางอินเตอร์เน็ตและชำระผ่านบัตรเครดิตในราคาที่ค่อนข้างสูงนั้น โดยปกติไม่ค่อยมีบุคคลใดในโลกที่ให้ผู้ขายส่งมอบสินค้าให้แก่ตนโดยไม่ได้มีการใช้ไปรษณีย์ลงทะเบียน เนื่องจาก โอกาสที่สินค้าอาจสูญหายมีค่อนข้างสูง

 

       ท่านผู้อ่านจะเห็นได้ว่า ข้อสังเกตดังกล่าวทั้ง 9 ประการ ของยาฮูนั้นเป็นวิธีการพื้นฐานแบบง่าย ๆ และดั้งเดิม แต่สามารถปรับใช้กับการสั่งซื้อสินค้าผ่านทาง อิเล็กทรอนิกส์หรืออินเตอร์เน็ตอย่างได้ผล นอกจากนี้ ปัจจุบันมีวิธีการเข้ารหัสในการใช้บัตรเครดิต (Encryption) กล่าวคือ ผู้ใช้บัตรเครดิตไม่ว่าจะเป็นของวีซ่าหรือ มาสเตอร์การ์ด ภายหลังจากการระบุหมายเลขบัตรเครดิตและวันหมดอายุของตนในการสั่งซื้อสินค้าผ่านทางอินเตอร์เน็ตแล้วจะต้องมีการใส่รหัสส่วนตัว เพื่อยืนยันความ ถูกต้องอีกครั้งหนึ่ง หากรหัสบัตรส่วนตัวดังกล่าวตรงกับข้อมูลที่ได้แจ้งกับบัตรเครดิต ธนาคาร
จ้าของบัตรก็จะอนุมัติให้ผู้ขายส่งมอบสินค้าได้
ซึ่งวิธีการนี้เป็นที่นิยมแพร่หลาย เป็นอย่างมาก อีกวิธีการหนึ่งที่เป็นที่นิยมเช่นกัน คือ การให้มี การชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ (E-cash) ซึ่งผู้ใช้เงินอิเล็กทรอนิกส์หรือ E-cash จะเปิดบัญชีไว้กับร้านค้าที่ขายสินค้าหรือธนาคารไว้แล้ว ซึ่งจะมีการคำนวณอัตราของเงินอิเล็กทรอนิกส์กับเงินจริงเหมือนอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราในปัจจุบัน อาทิเช่น ในเว็บไซต์ yumyai.com อาจระบุว่า เงิน 1 ยำ เท่ากับ 10 บาท เป็นต้น

 

จากที่กล่าวมาข้างต้น ก็เป็นวิธีการแก้ไขปัญหาในส่วนของนักเทคโนโลยี ซึ่งเป็นการรับแนวคิดที่จะนำเอาเทคโนโลยีมาเป็นเครื่องมือในการป้องกันการกระทำผิด และยับยั้งผู้ทำผิดกฎหมายไม่ให้เกิดความเสียหายหรือที่หลักกฎหมายอังกฤษ เรียกว่า “Lex Electronica” ในครั้งหน้าเราจะมาพูดกันถึงเรื่อง กฎหมายของไทยที่เกี่ยวข้อง กับการใช้บัตรเครดิตปลอมบนอินเตอร์เน็ต เพื่อให้ผู้ประกอบการทั้งหลาย
สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หากมีข้อพิพาทเกิดขึ้นจากการใช้บัตรเครดิตปลอมบนอินเตอร์เน็ต อย่าลืมติดตามนะครับ

 

ที่มา

ศูนย์พัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

ภาพประกอบทางอินเทอร์เน็ต]]>