<![CDATA[

          การชำระเงินผ่านช่องทางไฮเทค หรือที่เรียกกันว่า "อิเล็กทรอนิกส์ เปย์เม้นท์" น่าจะมีตัวเลขของการทำธุรกรรมต่อปีอยู่ในระดับตั้งแต่หลายพันล้าน จนถึงหมื่นล้าน ปัจจุบันวงการอิเล็กทรอนิกส์ เปย์เม้นท์มีความตื่นตัวมากขึ้น โดยเฉพาะการหันมาจ่ายเงินง่ายๆ ผ่านบัตรกดเงินสด ผ่านมือถือ ผ่านแถบบาร์โค้ด ฯลฯ เหล่านี้กลายเป็นช่องทางที่น่าจับตาของเจ้าของบริการต่างๆ ที่หันมา "เอาใจ" คนยุคใหม่ ด้วยการเปิดให้มีการชำระค่าบริการผ่านช่องทางไฮเทคเหล่านี้มากขึ้น

"ไอเอสเอสพี" (ISSP) ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตภายใต ้ชื่อ "อี-โก เน็ต" (E-GO NET) เป็นอีกหนึ่งบริษัทที่เห็นถึง "ช่องทาง" ใหม่ๆ แบบไฮเทค ในการอำนวยความสะดวกให้ลูกค้าในการจ่ายเงินค่าบริการอินเทอร์เน็ต ที่ไม่ใช่รูปแบบเดิมๆ ด้วยการจับมือกับธนาคารไทยพาณิชย์ (เอสบีซี) ให้ลูกค้าได้จ่ายค่าใช้บริการ "อี-โก เน็ต" ผ่านตู้เอทีเอ็มระบบเลเซอร์ โดยใช้การ์ดอินเทอร์เน็ตติดบาร์โค้ดในการทำธุรกรรม

"บัณฑิต ว่องวัฒนะสิน" กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเตอร์เนต โซลูชั่น แอนด์ เซอร์วิส โพรวายเดอร์ จำกัด (ISSP) บอกว่า อิเล็กทรอนิกส์ เปย์เม้นท์ ถือเป็นการเปิด Channel ใหม่ๆ เพื่อให้ลูกค้าได้มีทางเลือกมากขึ้นในการซื้อชั่วโมงอินเทอร์เน็ต ความร่วมมือกับธนาคารไทยพาณิชย์เพื่อเปิดช่องทาง "อี-โก เอทีเอ็ม บาร์โค้ด" จึงเกิดขึ้น

"ช่องทางการซื้อชั่วโมงอินเทอร์เน็ตลักษณะนี้ ถือว่าเป็นนวัตกรรมใหม่ที่เปิดให้บริการ และสามารถตอบสนองความต้องการให้กับสมาชิกกลุ่มเทรนดี้ได้อย่างเต็มที่ บริการนี้จะช่วยให้สมาชิกอี-โก เน็ต ที่มีอยู่กว่า 400,000 รายทั่วประเทศสามารถใช้บริการได้อย่างสะดวกรวดเร็ว นอกเหนือจากช่องทางซื้อชั่วโมงอินเทอร์เน็ตเดิมที่มีอยู่" บัณฑิต ว่า

ผู้ที่ต้องการเติมเงินเพิ่มชั่วโมงเน็ตด้วยวิธีดังกล่าว สามารถใช้บัตรชั่วโมงอินเทอร์เน็ตของอี-โก ที่มีแถบบาร์โค้ดติดอยู่ไปที่ตู้เอทีเอ็มของเอสบีซีที่มีระบบเลเซอร์ กดรหัสเอทีเอ็มส่วนตัว เลือกเมนูบนหน้าจอในหัวข้อ "จ่ายบิลด้วยบาร์โค้ด" จากนั้น สแกนบาร์โค้ด โดยวางบัตรชั่วโมงเน็ตที่มีแถบบาร์โค้ด ขยับขึ้นลงช้าๆ จนได้ยินเสียงปี๊ป ระบุจำนวนเงินที่ต้องการจ่าย ตรวจสอบความถูกต้อง พร้อมทั้งรับสลิปยืนยันการจ่ายเงินเป็นขั้นตอนสุดท้าย

"บัณฑิต" บอกว่า ปลายปี 2550 คาดว่าทุกบริการของไอเอสเอสพีจะเปิดช่องทางการชำระค่าบริการผ่านระบบอิเล็กท รอนิกส์แบบเต็มรูปแบบ โดยอนาคตมีแผนที่จะจับมือกับพันธมิตรที่จะเป็นช่องทางให้เกิดการทำธุรกรรมไฮ เทค โดยเฉพาะกับธนาคารต่างๆ มากขึ้น

"ขณะนี้ยอดการชำระค่าบริการผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ของบริษัทคิดเป็น 7% ของลูกค้าทั้งหมด โดยปัจจุบันมีลูกค้าของไอเอสเอสพีที่ทำธุรกรรมผ่านทุกช่องทางต่อเดือนราว 100,000 รายต่อเดือน แต่คาดว่าภายในสิ้นปีนี้น่าจะมีลูกค่าหันมาใช้บริการชำระเงินผ่านช่องทางอิเ ล็กทรอนิกส์เพิ่มเป็น 10%" นายบัณฑิต กล่าว

ด้าน "จรัมพร โชติกเสถียร" ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ (เอสซีบี) บอกว่า ปัจจุบันยอดการทำธุรกรรมผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์กำลังได้รับความนิยมเพิ่ม มากขึ้น และมีอัตราการเติบโตของการใช้งานที่สูง โดย ณ ปัจจุบันเอสซีบีมียอดการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของลูกค้ าคิดเป็นมูลค่าราว 1,200 ล้านบาท หรือประมาณ 10% ของยอดการทำธุรกรรมทั้งหมด

โดยการทำธุรกรรมผ่านสาขาธนาคารยังมีมากกว่า 80% ขณะที่การทำธุรกรรมด้วยช่องทางไฮเทคที่ธนาคารเปิดให้บริการในส่วนของตู้เอที เอ็ม เลเซอร์ ที่ให้ลูกค้าสามารถนำบาร์โค้ดไปส่องที่เครื่องแล้วทำธุรกรรมได้ทันที ขณะนี้มียอดผู้ใช้บริการต่อเดือนราว 100,000 ทรานเซคชั่น มีอัตรการเติบโตของการใช้งานมากกว่า 30%

ส่วนอินเทอร์เน็ต แบงกิ้ง ขณะนี้เอสซีบีมีฐานลูกค้ามากกว่า 300,000 ราย เป็นช่องทางที่มีอัตราการเติบโตของการใช้งานเพิ่มขึ้นทุกเดือน ขณะที่การทำธุรกรรมผ่านโทรศัพท์มือถือกลายเป็นช่องทางที่ได้รับความนิยมมากท ี่สุด

โดยหลัง
ากธนาคารเปิดให้บริการ ยอดลูกค้าเพิ่มขึ้นกว่า 100,000 ทรานเซคชั่น เพียงแค่ระยะเวลา 3 เดือน โดยคาดว่าอีก 4 เดือนข้างหน้ายอดการทำทรานเซคชั่นจะเพิ่มขึ้นเป็น 400,000 ทรานเซคชั่น

ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสบีซี บอกว่าปีนี้ธนาคารตั้งเป้าให้การชำระค่าสินค้าและบริการผ่านอิเล็กทรอนิกส์เ ติบโต 15% จากปัจจุบันอยู่ที่ 10% และคาดว่าในปี 2550 น่าจะขึ้นไปเป็น 22%

"ผมมองว่า ช่องทางการจ่ายเงินทางอิเล็กทรอนิกส์จะมีความนิยมในการใช้งานเพิ่มมากขึ้น เพราะสะดวก รวดเร็ว ไม่ต้องเข้าแถวต่อคิว โดยเฉพาะการทำธุรกรรมผ่านมือถือที่คาดว่าจะได้รับความนิยมเพิ่มสูงขึ้น ด้วยการเติบโตของยอดผู้ใช้มือถือ ตลอดจนเทคโนโลยีในมือถือ โดยเฉพาะมือถือที่เป็น 3 จี คาดว่าในอนาคตจะเป็นช่องทางการทำธุรกรรมที่ได้รับความนิยมมากที่สุดช่องทางห นึ่ง" จรัมพร ว่า

 เอกรัตน์ สาธุธรรม

ข้อมูลจาก

http://www.bangkokbizweek.com
]]>