<![CDATA[
หากดูหัวข้อที่ผมจะเ ขียน ก็จะเห็นว่าเป็นเรื่องใหญ่และกว้างมาก ถือได้ว่าเป็นหัวข้อบทวิจัยทางเศรษฐศาสตร์ ที่จะต้องมีการค้นคว้าหาข้อมูลกันอย่างลึกซึ้ง ดังนั้นสิ่งที่ผมจะเขียนกับหัวข้อที่วางไว้ อาจไม่ตรงกันนัก โดยความตั้งใจแล้วผมอาจเขียนเรื่องตามหัวข้อนั้นจริงๆ แต่ด้วยความรู้ความสามารถอันน้อยนิด อีกทั้งเวลาที่จะไปค้นคว้าหาข้อมูลก็ไม่มี เลยจำเป็นต้องเขียนเท่าที่เขียนได้ แต่ก็ขอใช้หัวเรื่อง "E-Commerce : ผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย" เพื่อเป็นแรงกระตุ้นให้คนอื่นมาศึกษาเรื่องนี้ (อาจมีคนศึกษาอยู่แล้วก็ได้) และเผื่อมีใครมาอ่านเข้าและให้ข้อมูลเพิ่มเติม อาจทำให้ผมสามารถปรับปรุงบทความไห้ดีขึ้น บทความนี้จึงถือว่าอยู่ในขั้นร่าง และค้นคว้าหาข้อมูลตลอดไป
ในอดีตจากการผลิตเพื ่อบริโภคเอง มาสู่การแลกเปลี่ยนสินค้า มาสู่การการค้าขายด้วยเงินสด และบัตรเครดิตตามลำดับ วันนี้เราก็มาถึงยุคการค้าผ่านสื่ออิเลคโทรนิคหรือ E-Commerce ถ้าจะถามว่า E-Commerce คืออะไร มักไม่มีผู้ให้นิยามแต่จะอธิบายไปว่า เป็นการค้าผ่านสื่ออิเลคโทรนิค ซึ่งผู้อ่านผู้ฟังก็คงงงๆเหมือนกัน ผมจึงเคยได้ยินพิธีกรรายการวิทยุ ถามผู้มาบรรยายว่า การสั่งซื้อพิซซาทางโทรศัพท์เป็น E-Commerce หรือเปล่า (มองว่าโทรศัพท์เป็นสื่อ Electronic) ซึ่งผู้บรรยายก็บอกว่าจะว่าใช่ก็ได้ แต่การชาระเงินยังต้องใช้เงินสด แต่ E-Commerce ที่เขาทำกันอยู่นั้นเป็นการชำระโดยอิเลคโทรนิค เป็นการโอนเงินไม่มีการจ่ายเงินสด แสดงว่าโดยทั่วไปเราวัดความเป็น E-Commerce กันที่การชำระเงิน ถ้าเป็นการโอนเงินกันอัตโนมัติแล้ว จึงเป็น E-Commerce ซึ่งผมเองก็คงไม่มีอะไรขัดแย้ง กับมุมมอง E-Commerce มุมนี้แต่ประการใด เพียงแต่ให้ข้อสังเกตว่า ปกติการชำระเงินโดยการโอนเงินก็มีอยู่แล้ว ในยุคบัตรเครดิตก็มีการโอนเงิน จากบัญชีออมทรัพย์ไปชำระค่าใช้จ่าย ในบัญชีบัตรเครดิต หรือบัตรเดบิตก็ใช้การโอนเงิน จากบัญชีผู้ซื้อไปบัญชีผู้ขายอยู่แล้ว ซึ่งแน่นอนว่าการโอนเงินเหล่านี้ เป็นการโอนโดยทางอิเลคโทรนิค ดังนั้นหากจะมองเฉพาะการชำระเงินอย่างเดียว ก็อาจไม่เห็นความแตกต่างหรือแปลกใหม่อะไร
ในกระบวนการค้าขายนั ้น หากจะแบ่งขั้นตอนอย่างง่ายๆ ก็แบ่งออกได้เป็น 4 ขั้นตอนคือ 1. เสนอ 2. สนอง 3. ส่งมอบของ 4. ชำระเงิน เสนอในที่นี้ก็คือเสนอขายสินค้า การโฆษณา การวางสินค้าให้เห็น หรือการส่งจดหมายไปเสนอขาย หรือเสนอราคา ก็ถือว่าเป็นการเสนอทั้งนั้น ส่วนการสนองก็คือการตอบรับการเสนอ อาจโดยคำพูดขอซื้อ โดยการหยิบสินค้าไปที่เคาน์เตอร์จ่ายเงิน หรือโดยการออกใบสั่งซื้อ ส่วนการส่งมอบของ ก็คือการที่ผู้ขายมอบของที่ผู้ซื้อสั่งซื้อให้แก่ผู้ซื้อ การส่งมอบไม่จำเป็นต้องส่งมอบ ถึงมือผู้ซื้อเสมอไปอาจส่งมอบ แก่เรือที่ผู้ซื้อจัดมารับของก็ได้ ซึ่งเป็นกรณีที่นิยมใช้ในการค้าระหว่างประเทศ ที่ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ซื้อ ตั้งแต่ผู้แทนเรือรับมอบสินค้าขึ้นเรือ นั่นก็คือการส่งมอบซึ่งมีรายละเอียดอีกมาก ขั้นตอนสุดท้ายซึ่งอาจทำพร้อมกับการส่งมอบก็ได้ (ยื่นหมูยื่นแมว) ก็คือการชำระเงิน ซึ่งการชำระเงินนั้นก็มีรายละเอียด วิธีการอีกมากมาย ไม่ว่าจะจ่ายเป็นเงินสด บัตรเครดิต เปิด LC ซึ่งคงไม่กล่าวถึงในบทความนี้
เมื่อการค้าขายมีตั้ ง 4 ขั้นตอนเช่นนี้ การที่จะให้ความสำคัญกับการชำระเงิน ในการพิจารณาว่าเป็น E-Commerce หรือไม่นั้น ก็ดูจะกว้างไปหน่อย แต่การที่จะให้ทั้ง 4 ขั้นตอนต้องทำผ่าน Electronic หมด แบบนี้ก็จะทำให้ E-Commerce เกิดได้เฉพาะกับสินค้าบางประเภท ที่สามารถส่งมอบผ่าน Electronic ได้ ได้แก่พวก software คอมพิวเตอร์ ข้อมูล และบริการบางอย่างเท่านั้น แบบนี้ E-Commerce ก็จะแคบเกินไป ดังนั้นผมขอวางหลักไว้เองก็แล้วกันนะครับว่า E-Commerce จะต้องมีกระบวนการอย่างน้อย 3 ใน 4 ขั้นตอนนั้น ทำผ่าน electronic (ส่วนใครจะไม่เห็นด้วยก็ไม่มีปัญหาครับ ผมไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญอยู่แล้ว) ซึ่งไม่แปลกครับถ้าเราดูใน internet จะเห็นโฆษณาทาง internet มากมาย แล้วก็รับ order (คำสั่งซื้อ) ทาง internet ส่วนการส่งของนั้น ก็ขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้า ถ้าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์หรือโมเด็ม ก็ไม่สามารถ ftp ส่งมาให้เราได้อยู่แล้ว ส่วนการจ่ายเงินก็จะมีให้เรากรอกหมายเลขบัตรเครดิต ท่านผู้อ่านคงเคยพบเจอมาบ้างนะครับ ส่วน
ารสั่งพิซซาทาง internet แม้การเสนอกับการสนองจะทำผ่าน electronic แต่การส่งมอบและชำระเงินยังไม่ใช่ จึงยังไม่ใช่ E-Commerce
เมื่อรู้จัก E-Commerce บ้างแล้ว เราก็มาพุดถึงเรื่องใหญ่เลยคือ เรื่องผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย เหตุที่ต้องพูดถึงผลกระทบ ก็เพราะว่า E-commerce เป็นเรื่องใหญ่สำหรับเมืองไทย ใน internet เราอาจเห็นการขายของผ่าน internet มากมาย แต่ในไทยแล้วผมเห็นก็แต่ โครงการไทยทัศน์ซึ่งเป็นการ ขายบัตรโดยสารของสายการบินไทย ที่ร่วมมือกับธนาคารกรุงไทยเท่านั้น ถ้ายกตัวอย่างแค่นี้ก็อาจไม่เห็นว่า มันจะไปกระทบอะไรนักหนากับเศรษฐกิจไทย นอกจากทำให้คนเขียนโปรแกรม มีงานทำมากขึ้น ทำให้พนักงานรับจองตั๋วมีงานน้อยลง แต่จริงๆแล้วผลกระทบยังมีอีกมาก เช่นถ้าการค้าขายสะดวก บริษัทบางประเภทโดยเฉพาะบริษัทที่ขายบริการ จำเป็นจะต้องมีสำนักงานในประเทศไทยหรือไม่ ในเมื่อค้าขายมาจากต่างประเทศก็ได้ จะเกิดผลกระทบอย่างไรต่อตลาดแรงงานไทย จะเกิดผลกระทบอย่างไรต่อดุลการค้า ดุลการชำระเงิน จะมีผลดีต่อธุรกิจประเภทใด และจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจประเภทใด ที่เขียนมานั้นก็เป็นคำถาม ที่ผมไม่สามารถให้คำตอบได้ แต่มีคำถามหนึ่งซึ่งก็ไม่มีคำตอบเหมือนกัน แต่ผมจะขอเขียนถึงอย่างละเอียดหน่อย คือ E-Commerce มีผลกระทบอย่างไรต่อระบบภาษีอากร
ในการเขียนเรื่องเกี ่ยวกับภาษีอากรนี้ ในครั้งแรกผมตั้งใจที่จะหาข้อมูลจากกรมสรรพากร ก่อนที่จะเขียนแต่ท้ายที่สุดแล้ว ก็ไม่มีเวลาไปหาข้อมูลสักที เลยต้องเขียนแบบที่ฝากไว้ให้เป็นคำถามต่อไป มาเข้าเรื่องเลยนะครับ ตามปกติประเทศไทยเราเก็บภาษีเงินได้ จากหลักแหล่งเงินได้ผสมกับหลักถิ่นที่อยู่ นั่นคือบริษัทไทยไม่ว่าจะมีเงินได้ จากที่ไหนประเทศอะไร ก็ต้องมาเสียภาษีให้กับประเทศไทย ซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่(อาจมีการเครดิตภาษีที่เสียไปแล้วในต่างประเทศได้ แต่โดยหลักการแล้วต้องเสียภาษีตามถิ่นที่อยู่) ขณะเดียวกันบริษัทต่างชาติ มามีเงินได้ในประเทศไทย ก็ต้องเสียภาษีเงินได้ให้แก่ประเทศไทย ตามแหล่งเงินได้ที่เกิดในประเทศไทย คำถามมีอยุ่ว่า ถ้าบริษัทต่างชาติตัวอยู่ต่างประเทศ มามีกิจกรรมในไทย ผ่านสื่ออิเลคโทรนิค แล้วมีรายได้จากกิจกรรมนั้น ควรจะต้องเสียภาษีเงินได้ให้แก่ประเทศไทยหรือไม่
คำถามข้างต้นไม่ใช่เ รื่องที่ยังไม่เกิด ที่ผ่านมาก็มีกิจกรรมเช่นนี้เกิดขึ้นแล้ว เพียงแต่ผมไม่มีโอกาสตรวจสอบ ว่ากรมสรรพากรหรือกระทรวงการคลัง หรือธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ดำเนินการอย่างไรต่อกรณีเหล่านี้บ้าง ผมจะขอเล่าถึงกิจกรรมที่มีอยุ่แล้วในปัจจุบัน ก็คือผู้ขาย software ต่างประเทศ ไม่มีสำนักงานในประเทศไทย (ถ้ามีสำนักงานก็ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล) ไม่มีตัวแทนที่มีอำนาจในประเทศไทย มีแต่เพียงตัวแทนแนะนำสินค้าอยุ่หนึ่งคน เมื่อผู้ซื้อสนใจ software นี้ ก็ต้องทำคำสั่งซื้อ ไปต่างประเทศโดยตรง เป็นเงินตราต่างประเทศ หลังได้รับคำสั่งซื้อแล้ว ผุ้ขายก็ทำการติดตั้ง software นั้นจากต่างประเทศ ผ่านทาง internet เครื่องที่ถูกติดตั้งนั้นอยุ่ในประเทศไทย กิจกรรมที่ทำให้เกิดรายได้ ตัวกิจกรรมอยุ่ในประเทศไทย คนทำกิจกรรมอยู่ต่างประเทศ เวลาทำกิจกรรมคือการติดตั้ง software นี้อาจใช้เวลาเป็นเดือน สื่อสารกันโดย e-mail และโทรศัพท์ เมื่อครบระยะเวลาประกัน ก็มีการบำรุงรักษาซึ่งผู้ซื้อ ก็ต้องเสียค่าบำรุงรักษา ซึ่งการบำรุงรักษานี้ก็ทำผ่าน internet เช่นกัน รวมรายไ
้ในแต่ละปีในประเทศไทย หลายสิบล้านบาท จำเป็นต้องเสียภาษีเงินได้ในประเทศไทยหรือไม่
นั่นก็เป็นกรณีเดียว ในเรื่องเดียว ซึ่งก็เป็นเพียงคำถามฝากไว้ให้คิด ถ้าหากต่อไป กิจกรรมทำแบบข้ามชาติเช่นนี้กันมากๆ อะไรจะเกิดขึ้นกับเศรษฐกิจไทย นี้คือคำถามใหญ่ซึ่งผมไม่มีปัญญาตอบ จึงขอจบบทความนี้แต่เพียงเท่านี้
สุรชัย ดียิ่ง
ผู้อำนวยการ ศูนย์บริการคอมพิวเตอร์
มหาวิทยาลัยรังสิต
23 ธันวาคม 2540
ข้อมูลจาก http://itnet.rsu.ac.th/surachai/ecommerce1.html
]]>
I want to to thank you for this fantastic read!!
I definitely loved every little bit of it. I have you book-marked to look at new
stuff you post…
ถูกใจถูกใจ