<![CDATA[

โครงการศึกษาวิเคราะห์พัฒนาการของ ผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส

 
*****(ฉบับย่อ)*****

 

 
  • บทนำ

    ภ ายใต้บริบทการวิเคราะห์เชิงปริมาณธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์โลก ภูมิภาค และของประเทศไทย พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารในยุคสังคมแห่งปัญญาและการเรียนรู้ (Knowledge-based Society) การวิจัยนี้ เป็นการวิเคราะห์เชิงปริมาณพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในระดับโลก ภูมิภาค และประเทศไทย รวมถึงการศึกษาข้อมูลผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย เพื่อนำมาประเมินสถานการณ์ของการทำธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในปัจจุบัน และเป็นพื้นฐานในการกำหนดกลยุทธ์รายสาขา เพื่อช่วยผู้ประกอบวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในการพัฒนาธุรกิจพาณิชย์อิเล ็กทรอนิกส์

    คณะผู้วิจัยได้ให้คำจำกัดความของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ว่าหมายถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจใดๆ ระหว่างบุคคลหรือระหว่างธุรกิจสองฝ่ายขึ้นไป ที่กระทำบนเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ เช่นการจอง สั่งซื้อ เจรจาต่อรอง ประมูล ชำระเงิน โฆษณา บริการลูกค้า หรือธุรกรรม ในรูปแบบอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นภายในบริษัทเอง เช่น การออกแบบ การผลิตสินค้า การติดต่อประสานงาน การทำธุรกรรมด้านการชำระเงิน โดยสามารถอยู่ในรูปแบบธุรกิจกับธุรกิจ (B2B) ธุรกิจกับผู้บริโภค (B2C) ผู้บริโภคกับผู้บริโภค (C2C) หรือธุรกิจกับภาครัฐ (B2G) หรือรูปแบบอื่นๆ ที่อาจกำหนดขึ้นตามพัฒนาการของธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ก็ได้

    ง านวิจัยนี้ แบ่งออกเป็น 3 ส่วนด้วยกันคือ ส่วนที่ 1 เป็นการศึกษา วิเคราะห์ การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และการเจริญเติบโตของธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ สถานการณ์โลก ภูมิภาค และของประเทศไทย กรอบการศึกษาเน้นการสำรวจมูลค่าตลาดพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในระดับโลก สำรวจสถานภาพโดยรวมของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก การวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในระดับภูมิภาค และประเทศไทย ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการเจริญเติบโตของธุรกิจ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ แนวโน้มพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์โลก ภูมิภาค และในประเทศไทย การศึกษาผลิตภาพพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์รายสาขาของประเทศไทย และการพัฒนาแบบจำลองพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย ข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์เป็นข้อมูลทุติยภูมิจากแหล่งข้อมูลต่างๆ อันไ
    ้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กลุ่มธนาคารโลก United Nations Conference on Trade and Development (UNCTAD) International Telecommunication Union (ITU) United Nations Industrial Development Organization (UNIDO) และองค์กรเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organisation for Economic Co-operation and Development หรือ OECD) เป็นต้น

    ในส่วนที่ 2 เป็นการศึกษา วิเคราะห์เชิงคุณภาพ ข้อมูลผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย โดยการศึกษาจะใช้แบบสอบถาม เป็นแหล่งข้อมูลปฐมภูมิ และทำการวิเคราะห์โดยอ้างอิงจากหลักการของ Balanced Scorecard ซึ่งทำการประเมินธุรกิจ จาก 4 ด้านหลัก อันได้แก่ ด้านลูกค้า ด้านการเรียนรู้และการพัฒนา ด้านกระบวนการภายใน และด้านการเงิน นอกจากนั้น ยังมีการประเมินในด้านอื่นๆ คือ ด้านการตลาด ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในส่วนนี้ ยังได้มีการประมวลความต้องการการสนับสนุนจากภาครัฐ ในมุมมองของผู้ประกอบการ รวมถึงข้อเสนอแนะ และแนวคิดในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน สำหรับการประกอบธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์อีกด้วย

    ส ำหรับส่วนที่ 3 อันได้แก่ การเสนอแนะแนวทางในการพัฒนากลยุทธ์ สำหรับการสนับสนุน และการดำเนินธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้ประกอบการในประเทศไทย คณะผู้วิจัยได้ทำการศึกษา และวิเคราะห์ผลการศึกษาจากส่วนที่ 1 และ 2 กรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศ ฉบับปัจจุบัน จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภัยคุกคามของธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย ปัจจัยบวกของประเทศ ทั้งนี้เพื่อนำเสนอกลยุทธ์ในการดำเนินงานของภาครัฐ ในการสนับสนุนธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศ ตลอดจนเสนอแนะกลยุทธ์ และปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จ ในการประกอบธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 5 ประเภท สำหรับผู้ประกอบวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ทั้งนี้โดยพิจารณาจากความเหมาะสมของผลิตภัณฑ์ตามหลักพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ แนวโน้ม และสภาวะตลาดทั้งในและต่างประเทศ

 
กลับสู่เมนู [TOP]
 
  • บริบทธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ระดับโลก ภูมิภาค และประเทศไทย

    ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันในเวทีการค้าโลกว่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ มีอัตราส่วนการเจริญเติบโตในอัตราที่สูง จากการอ้างอิงข้อมูลของ Forrester พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์โลกในปี 2549 จะมีมูลค่าสูงถึง 12,837 พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยคิดเป็นสัดส่วนจากกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วถึงร้อยละ 93.4 และจากกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาเป็นร้อยละ 6.6 โดยในส่วนของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนานี้ อัตราการเติบโตที่สูงที่สุดจะมาจากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

    ปัจจัยที่มีผลต่อการเติบโตของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประกอบไปด้วย ปัจจัยด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านเครือข่ายและเทคโนโลยี สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ลูกค้าและธุรกิจ สภาพแวดล้อมด้านนโยบายและกฎหมาย และปัจจัยสนับสนุนอื่นๆ โดยจะพบว่าประเทศที่พัฒนาแล้วมีความพร้อมด้านอิเล็กทรอนิกส์สูงกว่าประเทศที่กำลังพัฒนา

    สำหรับดัชนีความพร้อมด้านอิเล็กทรอนิกส์ (E-Readiness) สามารถวัดได้จาก โครงสร้างพื้นฐานเครือข่ายและเทคโนโลยี (Connectivity and Technology Infrastructure) สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ (Business Environment) ลูกค้าหรือกลุ่มผู้ใช้อินเทอร์เน็ต (Consumer) ส
    ภาพแวดล้อมด้านนโยบายและกฎหมาย (Legal and Policy Environment) ด้านวัฒนธรรมและสังคม (Social and Culture) และปัจจัยสนับสนุนธุรกิจด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Supporting E-Services) เมื่อเปรียบเทียบประเทศไทยกับประเทศในกลุ่มที่พัฒนาแล้ว จะพบว่าประเทศไทยยังขาดความพร้อมในเกือบทุกด้าน

    ส ำหรับอัตราการเจริญเติบโตของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในระดับภูมิภาคทั่วโลก เมื่อพิจารณามูลค่าที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปี จะพบว่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในเขตภูมิภาคเอเชีย มีอัตราการเติบโตที่สูงที่สุด โดยมีประเทศญี่ปุ่นเป็นผู้นำในเรื่องมูลค่าการซื้อขายในส่วนของธุรกิจประเภท B2C รองลงมาคือ ประเทศเกาหลีใต้ ไต้หวัน และจีน อย่างไรก็ดี มีการคาดหมายว่า ในปี 2549 ประเทศจีนจะมีอัตราการเติบโตสูงที่สุดและจะมีมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบ บธุรกิจกับผู้บริโภคสูงถึง 10.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ อันเนื่องมาจากการเปิดประเทศ การใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตอย่างเข้มข้น และจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตต่อประชากรจีนที่เพิ่มขึ้นในอัตราที่สูง สำหรับประเทศไทยมีมูลค่าของตลาดพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในปี 2545 ที่ 147 ล้านเหรียญสหรัฐ และคาดว่าจะมีมูลค่าตลาดในปี 2549 อยู่ที่ 963 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเท่ากับมีอัตราการเติบโตที่ร้อยละ 139 นับเป็นตัวเลขที่สูงเมื่อเปรียบเทียบกับอัตราการเติบโตของประเทศที่มีมูลค่า ของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่สูงอยู่แล้วในปัจจุบัน เช่น ประเทศไต้หวัน ฮ่องกง หรือสิงคโปร์

    สำหรับมูลค่าตลาดพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบ B2B ประเทศเกาหลีใต้เป็นประเทศที่มีมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สูงเป็นอันดับที่หนึ่งในเอเชีย ตามด้วยประเทศไต้หวัน จีน และฮ่องกง โดยมีการคาดหมายว่า ในปี 2549 ประเทศจีนจะมีอัตราการเติบโตสูงที่สุด และจะมีมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบ B2B สูงถึง 175.25 พันล้านเหรียญสหรัฐ อันเนื่องมาจากการเปิดประเทศ การมีพันธมิตรทางการค้าและบริษัทข้ามชาติที่เข้าไปลงทุนในประเทศจีนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

    การเพิ่มขึ้นของมูลค่าตลาดพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์อย่างต่อเนื่อง เป็นผลส่วนหนึ่งมาจากปฏิญญาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce Declaration) ที่จัดทำขึ้นโดยองค์การการค้าโลก (World Trade Organization) โดยมีการออกกฎเกณฑ์ต่างๆ เพื่อใช้สนับสนุนและผลักดันให้เกิดการดำเนินงานในส่วนของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ อาทิเช่น กำหนดให้ประเทศสมาชิกละเว้นภาษีศุลกากร มีการยกร่างกฎหมายต้นแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในขณะเดียวกันกลุ่มความร่วมมือระดับภูมิภาคต่างๆ ก็มีการจัดกิจกรรม การประชุมสัมมนา เพื่อวางกรอบนโยบาย และกำหนดขั้นตอนในการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในแต่ละประเทศ อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่จะช่วยผลักดันการเติบโตของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ ความพร้อมของแต่ละประเทศ จึงจำเป็นที่รัฐบาลจะต้องเข้ามามีบทบาทในการที่จะกำหนดนโยบายและแผนงาน เพื่อพัฒนาประเทศตามแนวทางการประเมินของดัชนีความพร้อมด้านอิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนปรับปรุงและวางรากฐานของประเทศเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของการทำการค้าในรูปแบบใหม่ๆ ของธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

 
กลับสู่เมนู [TOP]
 
  • การพิจารณาความพร้อมและโครงสร้างพื้นฐานของพาณิชย์
    อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย

    การตระหนักถึงองค์ประกอบทางสังคมและเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป และการเล็งเห็นถึงความสำคัญที่จะต้องมีนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่สอดรับกับความเปลี่ยนแปลงทั้งใน และต่างประเทศ ประเทศไทยจึงได้กำหนดนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศฉบับแรก (IT 2000) ในปี พ.ศ. 2539 และจัดทำกรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศในระยะที่สอง หรือ IT 2010 ซึ่งจะครอบคลุมช่วง พ.ศ. 2544 – 2553 โดยให้ความสำคัญกับบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศ ในฐานะเครื่องมือในการขับเคลื่อน และพัฒนาประเทศ ทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยเน้นถึงการประยุกต์ใช้ในสาขาหลักที่เป็นเป้าหมายของการพัฒนา กระบวนการพัฒนากลยุทธ์เทคโนโลยีสารสนเทศ มีเป้าหมายหลักสามด้านคือ (1) ส่งเสริมให้มีการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศในส่วนต่างๆของสังคม (2) สนับสนุนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และ (3) เพื่อให้บริการและมีการควบคุมของรัฐบาลผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนั้นการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศในภาคการพาณิชย์ (e-Commerce) ก็เป็น 1 ใน 5 กลยุทธ์หลักอีกด้วย

    น อกเหนือจากการพัฒนากรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศ ประเทศไทยได้มีการพิจารณาร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อการดำเนินธุรกิจพาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์ อีกเป็นจำนวนทั้งสิ้น 6 ฉบับ และได้มีการประกาศใช้ กฎหมายชื่อว่า “พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544” เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2544 และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 2545 สำหรับการดำเนินงานในส่วนอื่นๆ ได้มีความพยายามในการกระจายการใช้งานของอินเทอร์เน็ตออกสู่ภูมิภาคมากขึ้น เช่นโครงการอินเทอร์เน็ตตำบล อินเทอร์เน็ตโรงเรียน การให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง อินเทอร์เน็ตไร้สาย และความพยายามในการผลักดันให้หน่วยงานภาครัฐได้มีโอกาสใช้งานระบบอินเทอร์เน ็ตมากขึ้น
    หากกลับมาพิจารณาถึงดัชนีความพร้อมด้านอิเล็กทรอนิกส์ โดยเปรียบเทียบประเทศไทยกับประเทศอื่นๆ ในเอเชียในปี 2546 จะพบว่า ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 9 รองจาก ออสเตรเลีย ฮ่องกง สิงคโปร์ เกาหลีใต้ นิวซีแลนด์ ไต้หวัน ญี่ปุ่น และมาเลเซีย โดยประเทศไทยมีคะแนนสูงสุดในด้านสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ และคะแนนต่ำที่สุดในด้านโครงสร้างพื้นฐานเครือข่ายและเทคโนโลยี ซึ่งหากพิจารณาจำนวนเลขหมายโทรศัพท์พื้นฐานต่อจำนวนประชากร 100 คน หรือจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตแล้ว ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำกว่าประเทศอื่นๆ

    สำหรับมูลค่าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย หากพิจารณาข้อมูลในปี 2545 พบว่ามีมูลค่าสูงถึง 63,727 ล้านบาทโดยร้อยละ 77 มาจากพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบ B2B และร้อยละ 23 มาจากพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบ B2C สถิติการจดทะเบียนโดเมนเนมเมื่อเดือนสิงหาคม 2547 มีโดเมนเนมที่จดทะเบียนในประเทศไทยทั้งสิ้น 15,583 โดเมนเนม และเป็นโดเมนเนม .co.th สูงถึง 11,811 โดเมนเนม โดยมีโดเมนเนม .in.th สูงเป็นอันดับที่ 2 จำนวน 1,385 โดเมนเนม

    ในส่วนของประเภทสินค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสำรวจในปี 2545 พบว่าสินค้าและบริการที่มีการซื้อขายแบบอิเล็กทรอนิกส์มากที่สุดเป็นสินค้าประเภท หนังสือและสิ่งพิมพ์ รองลงมาคือสินค้าประเภทซอฟท์แวร์ ฮาร์ดแวร์ ภาพยนตร์สื่อบันเทิง และการจองที่พักและบริการอิเล็กทรอนิกส์ ตามลำดับ

 
กลับสู่เมนู [TOP]
 
  • ความสัมพันธ์ระหว่างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการเจริญเติบโตของธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

    ก ารพัฒนาเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนเป็นสิ่งจำเป็นของทุกประเทศ การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยขึ้นอยู่กับปัจจัยภายในและภายนอกประเ ทศได้แก่ ระดับการเปิดประเทศ ผลิตภาพการผลิต จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ต โครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีและการสื่อสาร จากนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจของไทยที่มุ่งการขยายตัวทางเศรษฐกิจตามเป้าหมาย โดยเน้นการพึ่งพิงต่างประเทศสูงขึ้น มีการเปิดประเทศ โครงสร้างสินค้าส่งออกมีการเปลี่ยนแปลงจากสินค้าเกษตรเป็นสินค้าอุตสาหกรรม ทำให้ธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมีลักษณะเอื้ออำนวยต่อการทำธุรกิจระหว ่างประเทศ มีความสำคัญมากขึ้นในการที่จะช่วยให้รัฐบาลสามารถดำเนินนโยบายได้ตามเจตนารม ณ์ที่ตั้งไว้

    ด ังที่กล่าวข้างต้น การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาวอย่างมีเสถียรภาพและมีศักยภาพในการแข่งข ันนั้น กระบวนการผลิตจะต้องมีผลิตภาพ (Productivity) ผลิตภาพเป็นดัชนีที่สะท้อนภาพการเติบโตอย่างมีเสถียรภาพได้ และยังใช้ในการวัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันได้อีกด้วย อย่างไรก็ดี การเพิ่มผลิตภาพการผลิตยังต้องอาศัยการพัฒนาของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ควบคู่ ไปกับการพัฒนาปัจจัยด้านโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

    จากการจัดอันดับของ International Institute for Management Development (IMD) ประเทศไทยมีจุดอ่อนที่สำคัญคือ ปัจจัยแข่งขันด้านโครงสร้างพื้นฐานโดยเฉพาะด้านโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์ ตลอดจนการเจริญเติบโตของธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ยังอยู่ในระดับต่ำ เช่น เมื่อพิจารณาอัตราส่วนการใช้คอมพิวเตอร์ต่อจำนวนประชากรจะพบว่า ประเทศไทยมีการใช้คอมพิวเตอร์เพียง 43 เครื่องต่อประชากร 1,000 คน (ยังไม่รวมโครงการคอมพิวเตอร์เอื้ออาทรในปี 2546) ในขณะที่ค่าเฉลี่ยของการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ดังกล่าวอยู่ที่ 207.5 เครื่อง นับว่าอัตราการใช้คอมพิวเตอร์ของไทยยังต่ำอยู่มาก

 
กลับสู่เมนู [TOP]
 
  • ผลิตภาพพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์รายสาขาและแบบจำลองพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย

    โครงสร้างเศรษฐกิจไทยที่วัดจากผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศที่แท้จริง ประกอบด้วย 3 ภาคเศรษฐกิจหลักที่สำคัญ ได้แก่ ภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการ โดยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (ปี 2542–2546) ภาคเกษตรกรรมมีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 10.02 ต่อปี ภาคอุตสาหกรรมมีสัดส่วน ร้อยละ 44.97 ต่อปี และภาคบริการมีสัดส่วนร้อยละ 45.01 ต่อปี จากผลการศึกษาในโครงการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยในด้านเศรษฐกิจมหภาคพบว่า ผลิตภาพของอุตสาหกรรมไทยรวม 48 หมวดอยู่ที่ 106.9 โดยอุตสาหกรรมที่มีผลิตภาพสูงกว่าดัชนี 100 มีจำนวน 18 หมวด

    จากการที่ผลิตภาพเป็นผลมาจากการใช้เทคโนโลยีในการผลิต ซึ่งรวมไปถึงการใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในการดำเนินธุรกิจ ดังนั้น เพื่อให้บรรลุเป้าหมายอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ซึ่งมีผลิตภาพเป็นห
    ึ่งในปัจจัยในการพัฒนาเศรษฐกิจดังกล่าว ภาครัฐจึงควรเพิ่มขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ประกอบกับการประยุกต์ใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในอุตสาหกรรมรายสาขาต่างๆ เพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้เพื่อยกระดับคุณภาพกำลังแรงงานและประสิทธิภาพการผลิต

    กลไกหลักในการขับเคลื่อนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในอุตสาหกรรมรายสาขาต่างๆ ให้เติบโตอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลัก 5 ประการ ได้แก่

    1. ผลิตภาพจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การเพิ่มผลิตภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ควรเน้นไปที่กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายที่มีศักยภาพ 11 อุตสาหกรรมประกอบด้วยอุตสาหกรรมอาหาร แฟชั่น (สิ่งทอ เสื้อผ้า อัญมณีและเครื่องหนัง) ยานยนต์ ซอฟท์แวร์ ท่องเที่ยวและสุขภาพ กลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ (แผงวงจรไฟฟ้า อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์และไดโอด เครื่องรับวิทยุและโทรทัศน์) เคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติก เหล็กและเหล็กกล้า ผลิตภัณฑ์ยาง เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน
    2. จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตต่อประชากร จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตต่อประชากร 1,000 คน ของไทยอยู่ที่ 79 คน ต่อประชากร 1,000 คน นับว่าเป็นอัตราที่ต่ำมากเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยที่ 211 คน ต่อประชากร 1,000 คน การเพิ่มจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย นโยบายให้คนไทยมีบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงใช้ 1 ล้านรายในปี 2547 และนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการผลักดันให้เกิดรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Government) จะช่วยลดความความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศและความรู้ (Digital Divide) และเป็นการขับเคลื่อนประเทศโดยใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์อีกด้วย
    3. ปัจจัยโครงสร้างพื้นฐานเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยี และปัจจัยสนับสนุนธุรกิจด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ มีความสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาประเทศแบบก้าวกระโดด (Leapfrogging) ประเทศไทยมีดัชนีความพร้อมด้านอิเล็กทรอนิกส์ต่ำกว่าประเทศที่อื่นๆ ที่นำมาเปรียบเทียบ เนื่องจากขาดปัจจัยสนับสนุนด้านงบประมาณในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาเครือข่ายให้เพียงพอต่อความต้องการ การใช้เทคโนโลยียังอยู่ในวงจำกัด การขาดความต่อเนื่องและความชัดเจนในการพัฒนาธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์อย่างต่อเนื่อง
    4. สภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เอื้ออำนวยต่อการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เกิดจากการมีผู้ประกอบการและธุรกิจข้ามชาติที่จำเป็นต้องทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศในด้านต่างๆ ส่งผลให้มีจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
    5. นโยบายและกฎหมายเพื่อรองรับธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ร่าง พ.ร.บ. ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และร่าง พ.ร.บ. ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งประกาศเป็นกฎหมายชื่อว่า “พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544” เป็นการสนับสนุนธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทยในอนาคต นอกจากนี้ กำลังดำเนินการจัดทำกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศอีก 4 ฉบับ ได้แก่ กฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กฎหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ และกฎหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์

    ก ารกำหนดแนวทางในการพัฒนาการใช้พา
    ณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในอุตสาหกรรมรายสาขาต่า งๆ จะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศไทย ซึ่งควรทำควบคู่ไปกับการสนับสนุนการสร้างระบบนวัตกรรมใหม่ๆ การสร้างมาตรฐานสินค้าและผลิตภัณฑ์ การปรับปรุงปัจจัยการผลิต การพัฒนาผู้ผลิตและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง โดยเน้นให้เกิดโครงสร้างของการไหลเวียนของความรู้ในระบบการพัฒนาเทคโนโลยีสา รสนเทศและการสื่อสาร และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ จากการศึกษาผลิตภาพปัจจัยการผลิตของอุตสาหกรรมไทยภายใต้กรอบเป้าหมายอัตรากา รขยายตัวทางเศรษฐกิจ พบว่า ผลิตภาพทุนสูงกว่าผลิตภาพเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และผลิตภาพแรงงานในทุกอุตสาหกรรม ชี้ให้เห็นถึงบทบาทของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในอุตสาหกรรมหลักโดยเฉพาะในกลุ่ มอุตสาหกรรมเป้าหมายที่มีศักยภาพ 11 อุตสาหกรรม อันประกอบด้วยอุตสาหกรรมอาหาร แฟชั่น (สิ่งทอ เสื้อผ้า อัญมณีและเครื่องหนัง) ยานยนต์ ซอฟท์แวร์ ท่องเที่ยวและสุขภาพ กลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ (แผงวงจรไฟฟ้า อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์และไดโอด เครื่องรับวิทยุและโทรทัศน์) เคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติก เหล็กและเหล็กกล้า ผลิตภัณฑ์ยาง เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน ซึ่งจะช่วยผลักดันให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาวต่อไป

 
กลับสู่เมน ู[TOP]
 
  • การประเมินลักษณะธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย

    ใ นการวิจัยครั้งนี้ คณะผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลของผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ โดยอาศัยหลักของ Balanced Scorecard ในการประเมิน ได้แก่ การประเมินด้านลูกค้า การประเมินด้านการเรียนรู้และการพัฒนา การประเมินด้านกระบวนการภายใน การประเมินด้านการเงิน นอกจากนั้น มีการประเมินในด้านอื่นๆ ได้แก่ การประเมินด้านการตลาด การประเมินด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการประเมินด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนั้น มีการประมวลความคิดเห็นเพิ่มเติม ในเรื่องของเอกลักษณ์ที่โดดเด่นที่ธุรกิจสามารถนำมาใช้สร้างความได้เปรียบใน การแข่งขัน และ ในส่วนของการสนับสนุนจากภาครัฐเพื่อให้ธุรกิจของผู้ประกอบพาณิชย์อิเล็กทรอน ิกส์สามารถอยู่รอดได้ และมีผลประกอบการเป็นที่น่าพอใจ

 
กลับสู่เมน ู[TOP]
 
  • ภาพรวมของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย

    จ ากการสำรวจครั้งนี้ พบว่า ผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ส่วนใหญ่มีเว็บไซต์ มีอีเมล์ และมีการดำเนินธุรกิจโดยใช้เว็บไซต์ในการทำการซื้อขาย และแลกเปลี่ยนข้อมูล เป็นสัดส่วนที่เพิ่มมากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับการสำรวจในรายงานของศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอม พิวเตอร์แห่งชาติ เมื่อปี 2544 โดยในการสำรวจครั้งนี้ มีจำนวนเว็บไซต์ที่สามารถทำการซื้อขายได้เพิ่มขึ้นมากกว่า ร้อยละ 61 นอกจากนั้น เมื่อสำรวจประเภทอุตสาหกรรม พบว่ามีจำนวนธุรกิจในอุตสาหกรรมบริการในสัดส่วนที่เพิ่มมากขึ้น ใน
    ขณะที่ธุรกิจในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว มีสัดส่วนที่ลดลง สำหรับอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น ซอฟท์แวร์ ฮาร์ดแวร์ หรือสินค้าหัตถกรรม และการตกแต่ง ยังคงเป็นอุตสาหกรรมที่ได้รับความนิยมจากผู้ประกอบการเช่นเดิม

    เ มื่อพิจารณาถึงรูปแบบในการดำเนินธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ พบว่าจำนวนของธุรกิจในลักษณะของด้านธุรกิจกับผู้บริโภค (B2C) ยังมีจำนวนมากกว่า ด้านธุรกิจกับธุรกิจ (B2B) อย่างไรก็ดี จำนวนของผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในลักษณะของด้านธุรกิจกับธุรกิจเริ่มสูงขึ้นมาก นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาลักษณะของธุรกิจในห่วงโซ่อุปทาน พบว่ามีลักษณะธุรกิจซึ่งทำหน้าที่เป็น ผู้จัดจำหน่ายเป็นจำนวนมาก และมีผู้ประกอบการอีกหลายรายซึ่งทำธุรกิจในลักษณะของผู้ผลิตสินค้า และหันมาดำเนินธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการในการทำธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย

    น อกเหนือจากที่กล่าวข้างต้นแล้ว การศึกษาในครั้งนี้ยังพบว่า มีลักษณะการดำเนินธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในรูปแบบผสม คือมีทั้งการดำเนินธุรกิจผ่านอินเทอร์เน็ตและมีหน้าร้านทางกายภาพด้วย (Click and Mortar Company) ซึ่งมีปริมาณที่มากกว่าการดำเนินธุรกิจผ่านอินเทอร์เน็ตเพียงอย่างเดียว (Pure Internet Company) เมื่อศึกษาถึงรูปแบบในการสร้างรายได้จากธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ พบว่า ทั้งธุรกิจ B2B และ B2C ยังมีรายได้จากการขายสินค้า/บริการ เป็นหลัก โดยในภาพรวม มีธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่สร้างรายได้จากช่องทางอื่นๆ อีกด้วย อาทิ เช่น ค่าบริการจากการเป็นนายหน้า (Brokerage fees) ค่าบริการระบบ (Hosting fees) ค่าธรรมเนียมรายการค้า (Transaction fees) และค่าโฆษณา (Advertising fees) และเมื่อพิจารณาถึงลักษณะการจ่ายเงิน จะพบว่า ยังเป็นลักษณะของการจ่ายเงินแบบออฟไลน์ เช่นการโอนเงินผ่านบัญชีธนาคาร เป็นส่วนมาก โดยที่การจ่ายเงินออนไลน์จะเป็นในรูปแบบของการจ่ายผ่านบัตรเครดิต ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่ง ชาติ เมื่อปี 2544

    สำหรับวัตถุประสงค์โดยรวมในการดำเนินธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ สรุปได้ว่าเพื่อเพิ่มช่องทางในการทำตลาดและการขยายช่องทางในการจัดจำหน่าย เพื่อวัตถุประสงค์ในการประชาสัมพันธ์สินค้า หรือบริการ และเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้บริโภค นอกจากนั้น ในเรื่องของการขาย พบว่ากลุ่มลูกค้าหลักของธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ยังเป็นกลุ่มลูกค้าภายในประเทศโดยสำหรับธุรกิจ B2C จะเป็นกลุ่มคนที่จบปริญญาตรี และอยู่ในวัยทำงานเริ่มต้นเป็นส่วนใหญ่ สำหรับการขายในตลาดต่างประเทศ จะมุ่งไปที่ ประเทศอเมริกา กลุ่มประเทศในทวีปยุโรป และในกลุ่มอาเซียนด้วยกัน เป็นสำคัญ อย่างไรก็ดี จากการศึกษาครั้งนี้ยังพบว่า การได้รับการรับรองความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์ของธุรกิจ ยังอยู่ในระดับต่ำมาก กล่าวคือธุรกิจส่วนใหญ่ยังขาดการรับรองความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์ เช่น VeriSign, Truste, หรือ BBB เป็นต้น ดังนั้นจึงอาจเป็นอุปสรรคต่อการทำ
    ธุรกรรมกับลูกค้าในต่างประเทศได้

    เมื่อพิจารณาถึงอายุในการทำธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ พบว่าผู้ประกอบการโดยส่วนใหญ่ยังขาดประสบการณ์ในการทำธุรกิจออนไลน์ เนื่องจากเพิ่งจะเริ่มทำธุรกิจได้โดยเฉลี่ย ไม่ถึง 4 ปี ดังนั้น จึงยังมีสิ่งที่จำเป็นต้องเรียนรู้อีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งสอดคล้องกับผลที่ได้รับในส่วนอื่นๆ ของแบบสอบถาม ทั้งนี้ ผู้ประกอบการได้ระบุความต
    องการให้ภาครัฐสนับสนุนในเรื่องของการฝึกอบรม ในหัวข้อต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ รวมไปถึงการทำตลาด การใช้เทคโนโลยีประกอบการทำธุรกิจ เพื่อให้สามารถประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

 
กลับสู่เมน ู[TOP]
 
  • การประเมินธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทยตามหลักการของ Balanced Scorecard

    จากผลการสำรวจสามารถสรุปได้ว่า ธุรกิจให้ความสำคัญต่อการบริการลูกค้า และมีความพยายามในการที่จะสร้างความสัมพันธ์ และความรู้สึกที่ดีให้กับลูกค้า เพื่อที่จะนำจุดดังกล่าว มาเป็นเครื่องมือในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน เช่น การควบคุมเวลาที่ใช้ในการส่งของ ความพยายามในการจัดส่งสินค้าให้ถูกต้องตามใบสั่งบริการ หรือความพยายามในการให้บริการลูกค้าเมื่อเกิดปัญหาในการสั่งซื้อ เป็นต้น อย่างไรก็ดี ยังพบว่าจำนวนลูกค้าที่เพิ่มขึ้นในแต่ละเดือน หรือปริมาณการซื้อซ้ำ ยังอยู่ในปริมาณที่ค่อนข้างจะน้อย แสดงให้เห็นว่า ความซื่อสัตย์ต่อผลิตภัณฑ์ (Customer Loyalty) ยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำ และยังสามารถที่จะนำมาเป็นจุดแข่งขันได้

    ส ำหรับในเรื่องของการเรียนรู้และการพัฒนา พบว่า ธุรกิจส่วนใหญ่มีศักยภาพในการที่จะเจริญเติบโต เนื่องจากพนักงาน และผู้บริหาร หรือผู้ประกอบการเอง มีระดับการศึกษาในระดับที่ดี มีความรู้ความเข้าใจในลักษณะธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในระดับปานกลาง นอกจากนี้ยังตระหนักถึงความสำคัญต่อการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และมีความพยายามในการที่จะศึกษาค้นคว้า ด้วยตนเองอยู่อย่างสม่ำเสมอ อย่างไรก็ดี บริษัทส่วนใหญ่ยังไม่มีการอบรมด้านการตลาดพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แก่พนักงาน นอกจากนั้นยังขาดการสำรวจทางการตลาด หรือการทำวิจัยทางการตลาด ซึ่งจะทำให้ธุรกิจขาดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับตลาด และอาจประสบปัญหาในระยะยาวได้

    ในเรื่องของกระบวนการภายในองค์กร ธุรกิจส่วนใหญ่มีวิธีการบริหารจัดการเป็นสากล มีความพยายามในการที่จะนำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาช่วยในการที่จะพัฒนาธุรกิจ และเพื่อช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในส่วนต่างๆ บริษัทมีความพยายามในการที่จะปรับปรุงคุณภาพในการให้บริการ เช่น การจัดส่งสินค้า การลดความผิดพลาดในขั้นตอนการทำงาน เป็นต้น

    ในเรื่องการเงิน บริษัทโดยรวมเริ่มการทำธุรกิจจากการใช้เงินของตนเอง เป็นจุดเริ่มต้น ดังนั้นขนาดของธุรกิจจะมีขนาดเล็ก และไม่มีค่าใช้จ่ายมากนัก ซึ่งเป็นผลดีสำหรับการริเริ่มธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ อย่างไรก็ดี การเริ่มต้นในลักษณะนี้มักมีข้อเสีย ในแง่ของรูปแบบธุรกิจ ที่ไม่ได้รับการพิจารณาไตร่ตรองโดยครบถ้วน เนื่องจากไม่จำเป็นจะต้องมีการเขียนแผนงานธุรกิจ (Business Plan) เพื่อนำเสนอขอเงินสนับสนุน ดังนั้นหากเริ่มธุรกิจในลักษณะนี้ เมื่อสามารถที่จะเลี้ยงตัวได้แล้วระยะหนึ่ง จึงจำเป็นที่จะต้องขอความช่วยเหลือ จากผู้ที่สามารถจะให้คำปรึกษาในการที่จะขยายธุรกิจนั้นๆ ให้เจริญเติบโตยิ่งขึ้น และมีความสามารถในการแข่งขันในระดับที่มากขึ้นได้

 
กลับสู่เมน ู[TOP]
 
  • การประเมินธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทยในด้านอื่นๆ

    จ ากการศึกษา พบว่า พนักงาน และผู้ประกอบการยังขาดความรู้ และการดำเนินงานที่ถูกต้องในเรื่องของการทำตลาด การศึกษาค้นคว้าวิจัยตลาด การทำตลาดในต่างประเทศ การฝึกอบรมในหัวข้อต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนั้น การตั้งงบประมาณในส่วนของการสนับสนุนกิจกรรมด้านการตลาด และการลงทุนในส่วนของเทคโนโลยีสารสนเทศ ก็ยังมีอยู่ค่อนข้างน้อย โดยพบว่าผู้ประกอบการตั้งความหวังไว้กับการสนับสนุนจากทางภาครัฐ ในการจัดกิจกรรมด้านการตลาด และการฝึกอบรมต่างๆ เหล่านี้ รวมไปจนถึงการสนับสนุนด้านนโยบายในการลดราคาค่าบริการโทรคมนาคม หรืออุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆ ทั้งฮาร์ดแวร์ และซอฟท์แวร์ อีกด้วย อย่างไรก็ดี การศึกษาพบว่า ธุรกิจให้ความสำคัญกับเรื่องเทคโนโลยี ค่อนข้างมาก และพยายามที่จะทำความเข้าใจ และใช้ประโยชน์จากจุดนี้อย่างเต็มที่ ถึงแม้จะมีข้อจำกัดในเรื่องของเงินลงทุน ดังนั้น หากผู้ประกอบการได้รับการสนับสนุนในแนวทางที่ถูกต้อง ก็จะทำให้การพัฒนาธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพสูง ทั้งนี้เนื่องจากการตื่นตัวของผู้ประกอบการในเบื้องต้นอยู่แล้ว

    สำหรับปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 5 ลำดับแรก พบว่า อุปสรรคต่อการดำเนินธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ลำดับที่ 1 คือขาดบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ รองลงมา ลำดับที่ 2 คือลูกค้า/คู่ค้า ไม่พร้อมที่จะใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ลำดับที่ 3 คือ งบประมาณที่ได้รับการสนับสนุนไม่เพียงพอ ลำดับที่ 4 คือ ไม่เชื่อมั่นในระบบความปลอดภัย และ ลำดับที่ 5 คือ มีปัญหาด้านการตลาด / ประชาสัมพันธ์

    สำหรับสิ่งที่รัฐบาลควรเร่งส่งเสริมเพื่อสนับสนุนการทำธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นลำดับแรก ได้แก่ การพัฒนาระบบที่เกี่ยวข้องกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ให้เป็นสากล ลำดับที่ 2 คือ การจัดให้มีหน่วยงานที่ให้การรับรองความน่าเชื่อถือให้แก่ผู้ประกอบการ เพื่อให้ความเชื่อมั่นต่อผู้บริโภคในการดำเนินธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ลำดับที่ 3 คือ การส่งเสริมและผลิตบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ลำดับที่ 4 คือ การกำหนดตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้มีความชัดเจน และลำดับที่ 5 คือ การเร่งพัฒนาให้มีการศึกษาด้านสารสนเทศตั้งแต่ปฐมวัย

 
กลับสู่เมน ู[TOP]
 
  • กลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่น่าสนใจสำหรับผู้ประกอบวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

    จ ากการพิจารณาแนวโน้มการเติบโตของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในระดับโลก ระดับภูมิภาคและระดับประเทศ ตลอดจนนโยบายสนับสนุนจากภาครัฐ ในการดำเนินธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในด้านต่า
    ๆ ประกอบกับปัจจัยต่างๆ ด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ อันได้แก่ โครงสร้างทางทฤษฎี ความสามารถในการสร้างคุณค่าของสินค้าและบริการ ความเหมาะสมสำหรับผู้ประกอบวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และความสอดคล้องกับทิศทางธุรกิจระดับนานาชาติและระดับประเทศ คณะผู้วิจัยได้สรุปเสนอรูปแบบธุรกิจทั้งสิ้น 5 ประเภท พร้อมทั้งได้นำเสนอหลักการในการวิเคราะห์และเหตุผลที่ใช้ประกอบการพิจารณา รวมทั้งได้เสนอแนะกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจต่างๆ เหล่านั้น ตลอดจนปัจจัยสู่ความสำเร็จสำหรับแต่ละธุรกิจ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ประกอบการที่สนใจจะประกอบธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ได้ ศึกษาและใช้เป็นแนวทางในการประกอบธุรกิจต่อไป

 
กลับสู่เมน ู[TOP]
 
  • ธุรกิจผู้ให้บริการคอนเทนต์ผ่านสื่ออินเทอร์เน็ต

    ธุรกิจผู้ให้บริการคอนเทนต์ เป็นรูปแบบธุรกิจที่คล้ายคลึงกับธุรกิจการผลิตข้อมูลข่าวสารอื่นๆ โดยที่สินค้าของธุรกิจผู้ให้บริการคอนเทนต์สามารถที่จะเป็นได้หลายรูปแบบ เช่น ข่าว บทความ หนังสือ รูปภาพ บทเพลง ภาพยนตร์ ภาพการ์ตูนแอนิเมชั่น เกมส์ เสียงเรียกเข้าโทรศัพท์ ภาพพักหน้าจอ (Screen Saver) โปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือคอนเทนต์ลักษณะอื่นๆ โดยมีเงื่อนไขว่าสิ่งต่างๆ เหล่านั้นต้องสามารถถูกแปลงให้อยู่ในรูปแบบดิจิตอลได้ การที่คอนเทนต์เหล่านี้อยู่ในรูปแบบดิจิตอลจะทำให้ธุรกิจสามารถได้รับประโยชน์จากพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากประสิทธิภาพของกลไกทางการตลาดที่เพิ่มสูงขึ้น

    ธ ุรกิจผู้ให้บริการคอนเทนต์เป็นที่น่าสนใจต่อการประกอบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากการเติบโตของตลาดในวงการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นไปในอัตราที่สูง ซึ่งทำให้ธุรกิจต่างๆ เริ่มให้ความสำคัญกับการมีคอนเทนต์เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับธุรกิจของตน ดังจะเห็นได้จากการปรับกลยุทธ์ของบริษัทที่เป็นผู้นำในด้านธุรกิจอิเล็กทรอน ิกส์ เช่น Yahoo! (www.yahoo.com) eBay (www.ebay.com) และ AOL (www.aol.com) เป็นต้น นอกจากนั้น คอนเทนต์ที่อยู่ในรูปแบบดิจิตอล จะได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่จากรูปแบบการดำเนินธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ เพราะสามารถที่จะจัดเก็บ จัดส่ง และนำเสนอได้อย่างสะดวกและมีต้นทุนต่ำ

    การดำเนินกลยุทธ์สำหรับธุรกิจนี้ ผู้ประกอบการควรเน้นในเรื่องของการสร้างพันธมิตรกับกลุ่มธุรกิจที่จำเป็นต้องใช้คอนเทนต์ในการสร้างคุณค่าเพิ่ม เช่นธุรกิจการให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง หรือธุรกิจการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ เป็นต้น ควรมีการเน้นพัฒนาคอนเทนต์ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความบันเทิง เช่น เกมส์ แอนิเมชั่น เสียงเพลงเรียกเข้า โดยเน้นกลุ่มเป้าหมายที่เป็นกลุ่มวัยรุ่น และผู้นำด้านเทคโนโลยีแฟชั่น ซึ่งจะเป็นกลุ่มที่ยอมรับสิ่งใหม่ๆ ก่อนใคร (Early adopters) การร่วมมือกับพันธมิตรที่มีชื่อเสียง จะช่วยผู้ประกอบการในแง่ของการตลาดโดยช่วยเพิ่มฐานลูกค้า และช่องทางการจัดจำหน่าย ทำให้สามารถสร้างความน่าเชื่อถือและตราสินค้าได้เร็วขึ้น สำหรับตลาด B2B ผู้ประกอบการควรเน้นผลิตคอนเทนต์ในลักษณะของข่าวสาร ที่จำเป็นต่อการดำเนินธุรกิจในอุตสาหกรรมหนึ่งๆ โดยให้มีความถูกต้อง และความลึกของข้อมูล
    ที่ดี และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความสามารถในการผลิตคอนเทนต์ภาษาอังกฤษ

    กลยุทธ์ในระดับส่วนงานที่สำคัญคือการออกแบบเว็บไซต์ให้ใช้งานได้ง่าย และมีความสามารถในการค้นหาข้อมูล หรือคอนเทนต์ได้รวดเร็ว มีการจัดหมวดหมู่ของคอนเทนต์เป็นอย่างดี และที่สำคัญคือมีคอนเทนต์ที่ทันสมัยและเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสมและความต้องการของตลาดอยู่ตลอดเวลา การเพิ่มความสามารถในการให้บริการในลักษณะรายบุคคลก็จะช่วยเพิ่มความจงรักภักดีของลูกค้า และทำให้มีการกลับมาใช้เพิ่ม

    สำหรับปัจจัยสู่ความสำเร็จของธุรกิจนี้จะขึ้นอยู่กับความหลากหลายของคอนเทนต์ และกิจกรรมเสริม ที่จะช่วยเพิ่มคุณค่าให้กับธุรกิจ ทำให้เกิดความแตกต่างจากผู้ประกอบธุรกิจรายอื่นๆ ความสามารถในการทำให้เกิดการซื้อซ้ำ ซึ่งแสดงถึงความจงรักภักดีของลูกค้า และความสามารถในการสร้างชุมชนออนไลน์เพื่อกระตุ้นให้เกิดกิจกรรมที่สามารถทำร่วมกันระหว่างลูกค้าด้วยกัน และสุดท้าย คือการรักษาคุณภาพของคอนเทนต์ให้มีความถูกต้อง ความทันสมัย และความน่าเชื่อถืออยู่อย่างสม่ำเสมอ

 
กลับสู่เมน ู[TOP]
 
  • ธุรกิจตัวกลางข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

    ธ ุรกิจตัวกลางข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เป็นลักษณะของการจัดการข้อมูล โดยมีการสร้างคุณค่าทางธุรกิจจากการเป็นผู้รวบรวม ค้นหา ประมวลผล นำเสนอ ตลอดจนบริหารจัดการข้อมูลให้กับผู้บริโภค ซึ่งในหลายๆกรณี ธุรกิจตัวกลางข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ก็จะทำหน้าที่เป็นผู้จับคู่ระหว่างผู้ขาย และผู้ซื้อได้เช่นกัน ข้อได้เปรียบของธุรกิจนี้ในแง่ของการประกอบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เกิดจากการ บริหารจัดการข้อมูลซึ่งอยู่ในรูปแบบดิจิตอล ดังนั้นจึงสามารถใช้ประโยชน์จากระบบอิเล็กทรอนิกส์ในการดำเนินการได้มาก เช่น การรวบรวมข้อมูลโดยอาศัยโปรแกรมประยุกต์และทำผ่านอินเทอร์เน็ต หรือการบริหารจัดการข้อมูลโดยใช้ระบบฐานข้อมูล เป็นต้น การดำเนินการเหล่านี้สามารถกระทำได้โดยมีต้นทุนที่ต่ำ นอกจากนั้น แนวโน้มการเพิ่มขึ้นของข้อมูลข่าวสารต่างๆ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทำให้เกิดความจำเป็นในการประมวลผลข้อมูลก่อนการนำเสนอ ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นการเพิ่มคุณค่าสำหรับธุรกิจตัวกลางข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์

    ก ารดำเนินกลยุทธ์ของธุรกิจตัวกลางข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ควรจะเน้นในเรื่องของการสร้างความเชื่อมั่นของผู้บริโภค เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถที่จะสร้างฐานข้อมูลของลูกค้าได้ภายในเวลาอันสั้ น ทั้งนี้เมื่อผู้ประกอบการมีฐานลูกค้าเป็นจำนวนที่เพียงพอ ก็จะเป็นที่สนใจต่อผู้ขายรายต่างๆ ที่จะมาเข้าร่วมในเครือข่ายของตัวกลางข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เมื่อผู้ประกอบการมีจำนวนของผู้ขายเพิ่มมากขึ้นก็จะเกิดประโยชน์ต่อผู้ใช้บร ิการหรือลูกค้าเพิ่มขึ้น ซึ่งเท่ากับเป็นการเพิ่มคุณค่าให้กับธุรกิจตัวกลางข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และเป็นผลให้มีจำนวนของลูกค้าเพิ่มมากขึ้น เป็นผลพวงสืบเนื่องต่อไป การดำเนินธุรกิจในลักษณะของตัวกลาง ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญกับความเป็นส่วนตัว และความลับของข้อมูลของลูกค้า ทั้งนี้เนื่องจากสิ่งเหล่านี
    ถือเป็นคุณค่าสำคัญสำหรับผู้ใช้บริการ

    ก ลุ่มลูกค้าของธุรกิจตัวกลางข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ จะเป็นกลุ่มผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่ให้ความสำคัญกับเรื่องของเวลา ความสะดวกสบาย และการได้รับบริการที่ครบวงจร เนื่องจากบุคคลกลุ่มนี้ ต้องการให้ผู้ประกอบธุรกิจตัวกลางเป็นผู้แทนในการบริหารจัดการเรื่องของข้อม ูลให้กับพวกเขา ผู้ประกอบธุรกิจนี้ ควรจะเริ่มจากการเน้นการบริการที่เฉพาะเจาะจงลงไปในอุตสาหกรรมหนึ่งๆ โดยเน้นที่จะแก้ปัญหาเฉพาะอย่าง เช่น การให้บริการเปรียบเทียบราคาสินค้าที่ใช้ในการผลิตสินค้าใดสินค้าหนึ่งในอุต สาหกรรมหนึ่งๆ เป็นต้น ทั้งนี้ เนื่องจากผู้ใช้บริการธุรกิจตัวกลางข้อมูลมักจะขาดความรู้หรือความชำนาญในส่ วนนี้ หากผู้ประกอบการเริ่มจากการให้บริการที่กว้างเกินไปจะทำให้ข้อมูลขาดความลึก และความน่าสนใจ อีกทั้งยังมีค่าใช้จ่ายสูงในการจัดหารวบรวมข้อมูล ซึ่งจะไม่เป็นผลดีต่อทั้งผู้ประกอบการและลูกค้าที่หวังพึ่งบริการ และทำให้คุณค่าของธุรกิจลดลง

    ส ำหรับในแง่ของกลยุทธ์ระดับส่วนงาน ผู้ประกอบธุรกิจตัวกลางข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ควรจะหาสมดุลระหว่างกลุ่มผู้ใช้ บริการและผู้ขาย ทั้งนี้โดยให้ความสำคัญกับด้านผู้ใช้บริการเป็นพิเศษ เนื่องจากการเติบโตของธุรกิจนี้ จำเป็นต้องอาศัยปริมาณฐานลูกค้า จึงจำเป็นที่ผู้ประกอบการจะต้องทราบความต้องการ หรือปัญหาที่ตัวกลางพยายามจะเข้ามาแก้ไขเป็นอย่างดีเสียก่อน เพื่อให้เกิดคุณค่าสูงสุดกับลูกค้า นอกจากนั้น การสร้างสรรค์เนื้อหาที่จูงใจผู้ใช้บริการก็นับเป็นสิ่งจำเป็น ตัวกลางข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ควรจะจัดหาสิ่งที่น่าสนใจไว้บริการลูกค้า เพื่อให้บุคคลเหล่านี้ใช้บริการเว็บไซต์หรือชุมชนอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น และถ้าตัวกลางข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์สามารถทำให้ลูกค้าใช้เวลาเพิ่มขึ้นได้ ก็จะทำให้มีโอกาสในการเก็บข้อมูลหรือลักษณะพฤติกรรมการใช้งานของลูกค้าเพิ่ม มากขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ขายและต่อผู้ประกอบการเอง ในการนำเสนอสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับลูกค้า นอกจากนั้น ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญกับการคัดเลือกผู้ขายที่มีคุณภาพเข้าสู่ระบบ รวมถึงการคัดสรรข้อมูลที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้บริการ โดยคำนึงถึงความจริงที่ว่าการมีข้อมูลจำนวนมากที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ จะไม่เกิดผลดีกับฝ่ายใดเลย รวมถึงตัวผู้ประกอบการเองด้วย

    ปัจจัยสู่ความสำเร็จของธุรกิจตัวกลางข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ประกอบไปด้วย ความสามารถในการเพิ่มจำนวนผู้ใช้บริการอย่างรวดเร็ว เพื่อสร้างให้เกิดความสนใจจากด้านผู้ขาย ความสามารถในการสร้างความเชื่อมั่นต่อกลุ่มผู้ใช้บริการ ความสามารถในการสร้างคุณค่าเพิ่มที่ชัดเจนให้กับทุกฝ่าย และความสามารถในการสร้างพันธมิตรกับผู้ร่วมค้าที่มีความชำนาญในอุตสาหกรรม ทั้งนี้ เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน และเป็นการเพิ่มคุณค่าให้กับธุรกิจของตนให้มากที่สุด

 
กลับสู่เมน ู[TOP]
 
  • ธุรกิจสร้างสรรค์งานศิลปะ/งานพิมพ์ผ่านสื่ออินเทอร์เน็ต

    ธ ุรกิจสร้างสรรค์
    งานศิลปะ/งานพิมพ์ผ่านสื่ออินเทอร์เน็ต หรือธุรกิจงานศิลปะออนไลน์เป็นการรับออกแบบงานทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งอาจเป็นงานออกแบบอาร์ตเวิร์ค โฆษณา เว็บไซต์ หรืองานมัลติมีเดียอื่นๆ ซึ่งอยู่ในรูปแบบดิจิตอล ข้อได้เปรียบของธุรกิจนี้คือการที่สินค้าหรือผลิตภัณฑ์อยู่ในรูปแบบดิจิตอล ทำให้สามารถใช้ข้อได้เปรียบในกระบวนการทางอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างเต็มที่ในท ุกๆ ขั้นตอน เป็นต้นว่า การสั่งซื้อ การร่วมมือประสานงาน การออกแบบ การจัดส่ง และการชำระเงิน นอกเหนือไปจากนั้น ธุรกิจประเภทนี้ยังสามารถสร้างคุณค่าเพิ่มในแต่ละกิจกรรมหรือการดำเนินงานใน แต่ละขั้นตอนโดยอาศัยคุณลักษณะของอินเทอร์เน็ต ทำให้มีข้อได้เปรียบเมื่อเทียบกับธุรกิจในลักษณะเดียวกันที่ยังดำเนินการอยู ่ในลักษณะเดิม อีกทั้งการตื่นตัวของธุรกิจแอนิเมชั่นในประเทศไทย และการสนับสนุนจากภาครัฐในเรื่องของการฝึกอบรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้ผู้ประกอบการขนาดเล็กสามารถเข้าร่วมในธุรกิจนี้ได้โดยง่าย

    การดำเนินกลยุทธ์สำหรับผู้ประกอบการรายเล็ก ควรเริ่มจากการพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการออกแบบผลงานต่างๆ ซึ่งจะเน้นในเรื่องของการใช้โปรแกรม อย่างไรก็ดี เนื่องจากการออกแบบจำเป็นต้องอาศัยความสามารถพิเศษในแต่ละตัวบุคคล จึงเป็นไปได้ที่ผู้ประกอบการอาจต้องจัดหาผู้มีความสามารถนี้จากภายนอก การพัฒนาทักษะหรือจัดหาบุคลากรควรเน้นไปที่สิ่งที่กำลังเป็นความต้องการของตลาดในปัจจุบัน เช่น แอนิเมชั่น หรือโปรแกรมแฟลช ผู้ประกอบการควรต้องมองหาพันธมิตรที่จะมีทักษะ หรือความสามารถที่จะช่วยเสริมศักยภาพในการแข่งขันของธุรกิจโดยรวม เพื่อให้ขอบเขตของการบริการไม่ถูกจำกัดในวงแคบ

    ผู้ประกอบการควรเน้นการสร้างคุณค่าจากการใช้ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต เช่น ความสามารถในการติดต่อประสานงานระหว่างการออกแบบ การนำเสนอผลงานในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ความสามารถในการทำงานร่วมกันออนไลน์ ซึ่งจะทำให้ต้นทุนบริการอยู่ในระดับต่ำ นอกจากนี้ การส่งงานในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์จะช่วยให้ลูกค้าสามารถที่จะนำผลงานไปปรับปรุงด้วยตนเองได้สะดวกยิ่งขึ้น

    การดำเนินกลยุทธ์ในด้านราคาสำหรับผู้ประกอบการขนาดเล็ก ควรจะใช้การแข่งขันด้านราคาที่ต่ำกว่าคู่แข่ง เนื่องจากค่าใช้จ่ายที่จะน้อยกว่า ส่วนผู้ประกอบการอื่นๆ อาจจะดำเนินกลยุทธ์การทำตลาดเฉพาะเจาะจง โดยอาศัยข้อได้เปรียบจากความรู้ความเข้าใจในอุตสาหกรรม หรือตลาดที่จำเพาะเจาะจงลงไป ซึ่งจะทำให้คุณค่าของตนเพิ่มขึ้น ในด้านการขายและการตลาด ผู้ประกอบการควรเน้นการทำรายการส่งเสริมการขายผ่านเว็บไซต์ เช่น นำเสนอตัวอย่างงานผ่านอินเทอร์เน็ต การแจกตัวอย่างฟรี (Free template) หรืออาจใช้เทคนิคการตลาดแบบบอกต่อ (Viral marketing) โดยใส่ชื่อและข้อมูลประชาสัมพันธ์ของบริษัท ในสิ่งที่แจกฟรีไปกับลูกค้า

    ส ำหรับปัจจัยสู่ความสำเร็จจะประกอบไปด้วย การตอบสนองที่รวดเร็ว ซึ่งหมายถึงการมีกระบวนการที่รัดกุม มีพนักงานที่มีทักษะสูง มีความสามารถในการเข้าใจความต้องการของลูกค้าได้อย่างดี นอกจากนั้น การมีคุณภาพงานที่สูงและเชื่อถือได้ จะเป็นการเพิ่มความมั่นใจของลูกค้า และทำให้เกิดการซื้อซ้ำ และสร้างความจงรักภักดีของลูกค้า การกำหนดราคาที่เหมาะสมสำหรับแต่ละรูปแบบของงานจะทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าได้รั บคุณค่าเพิ่มขึ้น และการบริการหลังการขายที่ดี เพื่อให้ลูกค้าสามารถใช้ประโยช
    ์จากผลงานที่ส่งมอบได้สูงสุด จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีของการบริหารความสัมพันธ์ของลูกค้า

 
กลับสู่เมน ู[TOP]
 
  • ธุรกิจร้านดอกไม้ผ่านสื่ออินเทอร์เน็ต

    ธ ุรกิจร้านดอกไม้ออนไลน์ มีความน่าสนใจสำหรับการประกอบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เนื่องจากคุณค่าต่างๆ ที่ถูกจำกัดอยู่จากการมีหน้าร้านกายภาพเพียงอย่างเดียว ได้ถูกปลดปล่อยจากผลของการมีอินเทอร์เน็ต ทำให้ธุรกิจนี้มีคุณค่าเพิ่มขึ้นในมุมมองของลูกค้า ยกตัวอย่างเช่น ความสามารถในการสั่งซื้อได้ตลอด 24 ชั่วโมง การจัดรูปแบบสินค้าเพื่อนำเสนอผ่านเว็บไซต์ ลดความจำเป็นในการเดินทาง เป็นต้น นอกจากนั้น ดอกไม้เป็นสินค้าซึ่งโดยปกติมักจะเป็นการสั่งซื้อเพื่อส่งให้กับผู้อื่น ดังนั้น การสั่งซื้อที่สามารถดำเนินการผ่านอินเทอร์เน็ตตั้งแต่ต้นจนจบถึงการส่งของแ ละการจ่ายเงินจึงถือเป็นความสะดวกสบายที่เพิ่มให้กับลูกค้า อีกทั้งการเปิดร้านดอกไม้ออนไลน์ ทำให้ผู้ประกอบการสามารถขยายฐานลูกค้าออกสู่ต่างประเทศในแง่ของการสั่งซื้อไ ด้เพิ่มขึ้นอีกด้วย

    แนวทางในการดำเนินกลยุทธ์ ควรเป็นไปในลักษณะของการสร้างเครือข่ายเพื่อขยายบริการให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ โดยจำเป็นที่จะต้องหาพันธมิตรในลักษณะของผู้ประกอบการในพื้นที่ทั้งที่เป็นผู้ปลูกดอกไม้ และร้านดอกไม้ทั่วไป นอกจากนั้น ผู้ประกอบการควรพิจารณาการขยายสินค้าบริการให้รวมถึงสินค้าทดแทนบางประเภท เช่นของขวัญ ของชำร่วย เพื่อลดการแข่งขันจากสินค้าเหล่านั้น หรือในอีกกรณีหนึ่ง การเข้าร่วมกับร้านค้าออนไลน์อื่นๆ ในลักษณะพันธมิตรที่อาจเป็นร้านค้าออนไลน์ที่เสนอสิ่งทดแทนได้ เช่นร้านเค้ก ร้านหนังสือ เพื่อเสนอส่งดอกไม้ร่วมในโอกาสเดียวกันนั้น ทำให้ผู้ประกอบกิจการกลายเป็นที่รู้จักของลูกค้าร้านค้าออนไลน์อื่นๆอีกด้วย นอกจากนั้น ผู้ประกอบการอาจเน้นการสร้างความแตกต่างในส่วนของสินค้า หรือบริการ โดยกำหนดวิธีการต่างๆ เช่น การปรับปรุงและออกผลิตภัณฑ์ใหม่อยู่เสมอ หรืออาจจะเป็นในเรื่องของการบริการตอบกลับ หรือจะเน้นในเรื่องความแตกต่างของตัวผลิตภัณฑ์เองก็ได้

    การสร้างรายได้จากธุรกิจร้านดอกไม้ออนไลน์สามารถกระทำได้จาก 2 ทางหลัก ได้แก่ รายได้จากการขายสินค้า หรือรายได้จากการเก็บค่านายหน้า โดยวิธีแรกจะเหมาะกับผู้ประกอบการซึ่งมีหน้าร้านกายภาพที่ดำเนินธุรกิจขายดอกไม้อยู่แล้ว ส่วนวิธีที่ 2 จะเหมาะกับผู้ประกอบการที่มีความถนัดในเรื่องการทำตลาดและมีเครือข่ายที่ดี

    ใ นแง่ของการขายและการตลาด ผู้ประกอบการควรเน้นในเรื่องความสวยงามของเว็บไซต์ และง่ายต่อการสั่งซื้อ เนื่องจากสินค้าเป็นประเภทของสวยงาม และควรมีการนำเสนอสินค้าต่างรูปแบบตามเทศกาล และพิจารณาความเหมาะสมของแต่ละกลุ่มเป้าหมาย มีการใช้กลยุทธ์สร้างความแตกต่าง เช่น การร้องเพลงอวยพรวันเกิดขณะส่งมอบดอกไม้ การใช้เครื่องแต่งกายต่างๆ มาให้บริการจัดส่ง อันเป็นการสร้างความประทับใจและจดจำต่อผู้รับมอบ เป็นต้น ในส่วนของด้านปฏิบัติการ สินค้าควรได้รับการตรวจสอบเพื่อให้เกิดความมั่นใจในคุณภาพอย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้คุณภาพส
    ินค้าที่ดีจะช่วยเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้า และช่วยลดค่าใช้จ่ายอันเกิดจากการสูญเสียในสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน เช่น ดอกไม้ที่เน่าเสียเร็วกว่าปกติ

    ปัจจัยสู่ความสำเร็จของธุรกิจร้านดอกไม้ออนไลน์ จะขึ้นอยู่กับคุณภาพและมาตรฐานของสินค้า รูปแบบของสินค้าที่เปลี่ยนแปลงให้เข้ากับยุคสมัย ราคาที่เหมาะสมกับสินค้า การบริการที่น่าประทับใจโดยเฉพาะอย่างยิ่งความตรงต่อเวลาในการจัดส่งสินค้าตามที่ลูกค้าระบุ

 
กลับสู่เมน ู[TOP]
 
  • ธุรกิจการค้าปลีก/ส่ง สินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ผ่านสื่ออินเทอร์เน็ต

    สินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (One Tambon One Product: OTOP) นับเป็นสินค้าที่ได้รับการยอมรับจากคนทั่วโลก ในแง่ของงานฝีมือที่มีความละเอียดอ่อน และความสวยงามที่หาเปรียบได้ยาก อีกทั้งยังได้รับการสนับสนุนอย่างจริงจังจากทางภาครัฐ เพื่อให้อุตสาหกรรมนี้สามารถที่จะแข่งขันได้ในตลาดโลก ดังนั้น การเลือกสินค้านี้ เพื่อนำมาเป็นสินค้าสำหรับผู้ประกอบการจึงถือได้ว่าเหมาะสม และสอดคล้องกับนโยบายของรัฐอีกด้วย การนำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เข้ามาส่งเสริมการขาย และการประชาสัมพันธ์สินค้า OTOP จะช่วยให้ตลาดต่างประเทศได้รู้จัก และสามารถเข้าถึงสินค้านี้ได้ง่ายยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นผลดีกับทั้งผู้ประกอบการและชุมชนผู้ผลิตสินค้า

    การดำเนินธุรกิจการค้าปลีก/ส่งสินค้า OTOP ผู้ประกอบการจำเป็นที่จะต้องมีความสามารถในการคัดสรรสินค้า และมีความสามารถในการต่อรองกับผู้ผลิตสินค้า ทั้งนี้ เนื่องจากอุปสรรคสำคัญในการขายสินค้าประเภทนี้ คือการตรวจสอบและรับประกันคุณภาพ ตลอดจนความสามารถในการรองรับการสั่งซื้อในปริมาณมากๆในแต่ละครั้ง ดังนั้น จึงจำเป็นที่ผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จะต้องสามารถมีแผนสำรอง หรือผู้ผลิตสำรอง สำหรับแต่ละผลิตภัณฑ์ เพื่อรองรับในกรณีที่ผู้ผลิตสินค้าหลักไม่สามารถที่จะส่งของตามเวลา หรือตามจำนวนที่ต้องการได้ นอกจากนี้ เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากสินค้าทดแทน เช่นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากพลาสติก หรือวัสดุสังเคราะห์ ผู้ประกอบการจำเป็นที่จะต้องศึกษาสินค้าทดแทนอย่างละเอียด เพื่อที่จะสามารถเปรียบเทียบ จุดแข็ง และจุดอ่อน ให้สามารถวางกลยุทธ์เพิ่มเติมได้อย่างถูกต้อง

    คุณค่าของการบริการ (Value proposition) ของธุรกิจการค้าปลีก/ส่งสินค้า OTOP อยู่ที่ความสวยงามของสินค้า และคุณภาพที่ได้มาตรฐาน ตลอดจนความหลากหลายของสินค้า ซึ่งผู้ประกอบการต้องสามารถสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าที่เข้ามาซื้อสินค้าได้ นอกจากนั้น การเน้นเสริมสร้างเนื้อเรื่องของสินค้า ความสำคัญ หรือความเป็นมา การให้ความสำคัญกับเรื่องของการคัดเลือกบรรจุภัณฑ์ และการออกแบบสินค้า จะเป็นการเพิ่มคุณค่าให้กับสินค้าได้ทั้งสิ้น

    ในด้านการขายและการตลาด ควรเน้นในเรื่องการเปิดตลาดออกสู่ต่างประเทศ โดยขอการสนับสนุนจากภาครัฐ เช่น การเข้าร่วมงานมหกรรมแสดงสินค้าซึ่งจัดขึ้นในตลาดต่างประเทศ การเน้นในเรื่องของคุณภาพสินค้าที่ดีกว่าคู่แข่งอื่นๆ ในด้านปฏิบัติการ สิ่งสำคัญคือการพัฒนาวิธีที่จะใช้ในการ
    รวจสอบสินค้า เพื่อให้ได้สินค้าที่ได้มาตรฐาน เนื่องจากจุดอ่อนของสินค้า OTOP เกิดจากการเป็นสินค้าที่ผลิตด้วยมือ ทำให้การควบคุมคุณภาพและมาตรฐานสินค้าเป็นไปโดยยาก ผู้ประกอบการควรมีวิธีในการจัดการกับสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน เช่น ใช้วิธีประมูลสินค้าออนไลน์ ซึ่งจะสามารถช่วยให้ผู้ประกอบการกำจัดสินค้าตกค้างอันเกิดจากคุณภาพที่ด้อยกว่าได้ นอกจากเรื่องของมาตรฐานสินค้า ผู้ประกอบการต้องสร้างความน่าเชื่อถือให้กับเว็บไซต์ของตน เช่นการขอตราหรือสัญลักษณ์รับรองจากหน่วยงานของรัฐ รวมถึงการขอการรับรองจากหน่วยงานที่เป็นสากลอีกด้วย นอกจากนั้น ความหลากหลายของสินค้า ก็จะทำให้เว็บไซต์เป็นที่น่าสนใจสำหรับคนทั่วไปมากยิ่งขึ้น

    ส ำหรับปัจจัยสู่ความสำเร็จของธุรกิจการค้าปลีก/ส่งสินค้า OTOP ได้แก่ การได้รับการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจากภาครัฐ ทั้งในแง่ของการทำประชาสัมพันธ์ออกสู่ต่างประเทศ และการควบคุมดูแลคุณภาพสินค้าและวิธีการผลิตให้ได้มาตรฐาน ในขณะที่อีกปัจจัยหนึ่งคือการมีมาตรการในการสร้างความมั่นใจในคุณภาพสินค้า ทั้งนี้เพื่อลดปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากการซื้อขายสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพ และทำให้ธุรกิจไม่ประสบความสำเร็จในที่สุด

 
กลับสู่เมน ู[TOP]
 
  • รายนามคณะผู้วิจัย
    1. ดร.ราม ปิยะเกต หัวหน้าคณะวิจัย
    2. ดร.ศิริพงศ์ พฤทธิพันธุ์ หัวหน้าทีมงานวิจัย
    3. ดร.ประสบโชค ประมงกิจ หัวหน้าทีมงานวิจัย
    4. นายธีระพงศ์ บุศรากูล ผู้ช่วยวิจัย
    5. นายบรรพต นามพลกรัง ผู้ช่วยวิจัย
    6. นายอัครพงษ์ ทองนวล ผู้ช่วยวิจัย
    7. นายกษมพงศ์ โพธิสุนทร ผู้ช่วยวิจัย
    8. นางสาวอนรรฆภรณ์ วุฒิไกรรัตน์ ผู้ช่วยวิจัย
    9. นางสาววรรณา เภทพ่อค้า ผู้ช่วยวิจัย
    10. นางสาวเบญจพร ศรีวนาสณฑ์ ผู้ช่วยวิจัย
    11. นางสาวเมลดา หรุ่นเริงใจ ผู้ช่วยวิจัย
    12. นางสาวชวลัน โอสรประสพ ผู้ช่วยวิจัย
    13. นางสาวเปรมมิศา หนูเรืองงาม ผู้ช่วยวิจัย
 
กลับสู่เมน ู[TOP]

RAM PIYAKET, PH.D.

12/677 M. 15 Soi Premruetai Bangna-Trad Rd. Bang Pli, Samutprakarn 10540
Tel: +66 2 298 3721, Fax: +66 2 273 0677, Email: ram@th.ibm.com

BACKGROUND SUMMARY

Over fifteen years of experience in telecommunications and IT management with eight years of experience in the management level with leading organizations in ICT industry. Professional experience includes strategic planning, business development, project management, and consulting work relating to ICT, e-commerce and e-business. Recent work involves developing research and e-business curriculum for a well-known public university. Area of expertise includes strategic IT planning, e-business development, ICT consulting, and e-commerce applications. Regularly provide consulting service to both public and private sectors through business advisory, training, and seminar on telecommunications, Information Technology, and e- business.

RECENT ACCOMPLISHMENTS.

  • Member of a working committee on “Trustmark issuance” to support e-commerce business development organized by the Department of Business Development, Ministry of Commerce.
  • Member of a reviewing committee to develop an e-commerce case study database organized by E-Commerce Resource Center, NECTEC.
  • Developed the Master’s degree program in Electronic Commerce Management for the College of Management, Mahidol University.
  • Invited to organize and conduct a Mini Master in Modern Management program for the National Defense College, Ministry of Defense.
  • Appointed as the Advisor to the Information Technology Committee of the Ministry of Interior.
  • Invited by a Deputy Permanent Secretary for Interior to provide a lecture on Electronic Commerce Technology to their technical staffs.
  • Chosen by the National Electronics and Computer Technology Center, Ministry of Science, Technology, and Environment to organize and conduct a series of three-day seminar on “Leadership Training in Electronic Commerce Applications” for executives from all government agencies and public sectors.
  • Invited to serve as a member of an advisory committee of a National E-Commerce Development project organized by Thailand Development Research Institute.

AWARDS

  • Excellent Teaching Award, College of Management, Mahidol University
  • JICA fellowship in Satellite Communication Engineering
  • Research assistantship at University of California, San Diego
  • Teaching assistantship at University of California, San Diego
  • Teaching assistantship at University of Minnesota
  • Master’s degree scholarship from the Communications Authority of Thailand


PROFESSIONAL EXPERIENCE

Advisory Project Manager, Business Consulting Services Present
IBM Global Services

  • Project advisory, facilitating, managing, and coordinating within and among the regional and local resources and teams.
  • Providing an end-to-end IT solutions consultation, including strategic planning, conceptual and detailed design, implementation and quality assurance for post implementation
  • Developing customer solutions in e-Business areas such as eCRM, Call Center Technology, Data mining, and Data warehouse
  • Coordinating with technology alliances such as Siebel, Oracle, Microsoft, Computer Associates, Compaq, SUN Microsystems, to ensure smooth implementation and highest customer satisfaction


Director, Information & Learning Technologies 2001-2003
College of Management, Mahidol University

  • Develop the IT Master Plan and layout the foundation of computer and network requirements including all IT facilities to serve academic requirements.
  • Develop strategic and tactical plans for departmental operations.
  • Oversee and manage IT resources and facilities, namely servers, PCs, DBMS, networking equipment, and backoffice applications for an entire campus.
  • Responsible for department strategic management such as budget planning and controlling, resource management, recruitment, salary determination, and training identification.


Vice President, Operations and Technology 1999-2001
Thailand.com

  • Identified critical success factors relating to strategic IT and network planning, then designed and developed responsive systems that supported various business processes and business transactions within each functional department.
  • Made final recommendation on the technology selection of computer and networking systems by performing technology assessment and cost-benefits analysis.
  • Led the technology team in developing a network infrastructure that can be integrated seamlessly with legacy systems, then designed and implemented corporate intranets systems and applications that support e-commerce operations.
  • Constantly monitored efficiency level of network and bandwidth utilization, regularly performed system evaluation and assessment.
  • Responsible for telecommunications technology assessment, evaluation, selection, and implementation.
  • Managed the entire back-end operation team consisting of Web hosting production, order fulfillment, inventory control and management, logistics, supply-chain management, and customer relationship management.


Senior Manager, Transmission Planning 1996-1999
Telecom Asia Corporation Public Company Limited

  • Responsible for the engineering design, specifications, planning, and administration of the entire transmission network.
  • Managed transmission network expansion project starting from project design, contract signing, approval of Bill of Quantities (BOQ), custom clearance of equipment, site preparation, implementation, approval of as-built drawings, Provisional Acceptance Test, Final Acceptance Test, and project closing details.
  • Planned, designed, controlled, and managed several teams for an implementation of transmission network relocation and optimization projects, including budget allocation and management, project assessment and project evaluation.
  • Managed and controlled equipment inventory, assignment of telecommunication resources, tracking of equipment relocation and system alteration.
  • Responsible for a preparation of As-built Drawings and Asset-Transfer documents for the transfer of equipment’s ownership to the Telephone Organizations of Thailand (TOT).


Engineering Manager, International Transmission Engineering 1987-1996
Communications Authority of Thailand

  • Facilitated and coordinated for an implementation of international telecommunication links such as voice, data via INTELSAT and INMARSAT or via optical submarine cables.
  • Conceptual design, transformation of concept into engineering specifications, and proposal evaluation of several SDH networks.
  • Project implementation coordinator, project assessment and evaluation.
  • Business development of new telecommunication services.

ACADEMIC EXPERIENCE


Director 2001-2003
College of Management, Mahidol University – Nakhon Sawan Campus

  • Develop a strategic plan for an academic institution operating in a provincial area
  • Build a highly skilled management and operational teams for the campus
  • Oversee the entire operation of the Nakhon Sawan Campus
  • Establish a relationship with organizational units within the area

Director, Information & Learning Technologies 2001-2003
College of Management, Mahidol University

  • Lead the team in developing a back-office system which facilitates data exchange among numerous academic applications.
  • Work with various departments to determine suitable applications to be integrated onto a single platform.
  • Develop a systematic approach in providing IT support to academic institution.
  • Oversee the operation and maintenance of a wide range of computers in a client-server environment.
  • Plan and supervise the system integration of an online payment with the College financial system.

Program Chair, Electronic Commerce Management 2000-2001
College of Management, Mahidol University

  • Conduct and deliver certain Foundation and Specialization classes in Electronic Commerce Management program.
  • Continuously monitor market industry and develop and/or modify curriculums to respond to current needs.
  • Develop relationships with e-business firms to create a linkage between an academic program and an e-business industry.
  • Enhance program competitiveness through selected admission of both students and lecturers.

Lecturer 1999-2000
College of Management, Mahidol University

  • Classes conducted and delivered for an International Master’s degree program included Management Information System, Principles of Telecommunications Management, Principles of Electronic Commerce, Corporate Communications and Networking, and Electronic Business Management.

Visiting Lecturer 1996-1999
College of Business, University of Thai Chamber of Commerce

  • Classes conducted and delivered for a Master’s degree program included Management Information System, Telecommunications, Data communications, and Computer Networking and Security.

EDUCATION

  • Doctor of Philosophy in Electrical Engineering (Photonics)
    University of California, San Diego (GPA 3.76)
  • Master of Science in Electrical Engineering (Communications)
    University of Minnesota, Minneapolis (GPA 3.77)
  • Bachelor of Engineering (Electrical Engineering)
    Chulalongkorn University (GPA 3.05)

PRASOPCHOKE PRAMONGKIT, PH.D.

CURRENT POSITION:

  • Dr.Prasopchoke is a Strategic Account Manager with Sun Microsystems.

EDUCATION:

  • Doctor of Philosophy (Computer and Engineering Management), Assumption University, Thailand, 1999. (Outstanding Performance of Pro
    f.Dr.Srisakdi Charmornman Prize)
  • Master of Science (Computer and Engineering Management), Assumption University, Thailand, 1993. (Outstanding Performance of Prof.Dr.Srisakdi Charmornman Prize)
  • Master of Economics, Chulalongkorn University, Thailand, 1993.
  • Bachelor of Business Administration, Assumption University, Thailand, 1988.


RANGE of EXPERIENCE:

  • Dr.Prasopchoke leverages his knowledge assets to consulting at Andersen, in charge for FSI in Thailand. At Andersen, he serves as an Experienced Manager specializing in IT Consolidations, Banking solutions and Integrated Customer Solutions with extensive experience in developing call center technology architectures for financial services industry. His experience spans multiple industries with an emphasis in financial activities, Call Center and CRM technology environments.
  • Dr.Prasopchoke has worked extensively over 15 years of direct working experiences in FSI Industry with extensive knowledge and experiences in banking regulatory environment and business practices. Key area of practices are from supervisory role to implementation role with supra national institutions and leading banks and FSI companies. They are corporate banking, retail banking, investment banking, portfolio management, fund mobilization, equity financing, corporate research and economic research, asset management, risk management, bank credit operations, and loans restructuring.


IT CONSOLIDATION AND PROJECT MAMANAGEMENT SKILLS

  • On Strategic Account, identify opportunities and provide solutions, IT Consolidation to broad, complex, and critical work and customer problems and issues. Using a degree of insight, research and analytical skill, develop new or enhanced methods and techniques to resolve problems and offers options, alternatives, effects, and implications based on areas of expertise to customers.
  • Led work teams on engagements; plan and organize the work for the team; determine, track, and report on priorities and project status; manage engagement scope and customer expectations.
  • Develop and foster a collaborative working relationship with customers. Work collaboratively with consultants, project managers, to develop consulting and project methodology, techniques, tools, and solutions.

IT SKILLS

  • IT Consolidation
  • Data Warehousing/ Data Center Design
  • E-Business Solutions
  • Customer Relationship Management
  • Supply Chain Management
  • Business Intelligence.
  • Financial Services Applications
  • Solution Development and Implementation
  • Speech Recognition Technologies

    His responsibilities include:

  • Provide business and IT consultancy and expertise in the area of E-Commerce, E-Business Applications, Data Center, IT Consolidation.
  • Design, develop and deliver integrated systems solutions to meet specific customer needs.
  • Assist customers in the definition and implementation of technological solutions to obtain strategic business advantage within their selected market place.
  • Ensure full customer satisfaction through quality and contributive consultancy.


PROFESSIONAL AND BUSINESS HISTORY

  • Sun Microsystems (Thailand)

    January 2004 – Present Strategic Account Manager
    • Manage strategic FSI accounts

  • College of Management, Mahidol University

    February 2002 – January 2004 Program Chair, E-Business Management
    • Manage E-Business Program

  • IT Apps Limited

    August 2001 – January 2002 Practice Leader
    • Managing Business Operations and Consulting Practice in Thailand with proven effective communication and negotiation skills. Successfully negotiated partnership agreements with other Service Support providers. Managed Contact Center/ CRM business practice, developed solutions, IT strategies for the key accounts.

  • Andersen THAILAND

    March 2000 – July 2001 Experienced Manager, Business Consulting
    • Of his extensive knowledge and experiences in banking regulatory environment and banking business practices, Dr.Prasopchoke has been assigned for FSI projects business consulting as primary responsibility whom specializing in Integrated Customer Solutions (Siebel) in the Bangkok office with extensive experience in developing call center technology architectures for financial services industry.

    With Andersen, he had made 2 success stories for FSI business consulting practices. They are Thai Military Bank Public Company Limited and Export-Import Bank of Thailand.

  • Bangkok Capital Alliance (BCA)

    January 1999 – February 2000 Asset Manager

    • Asset management portfolio worth Baht 2.0 billion in total for GE and Goldman Sachs

  • International Finance Corporation (IFC), a member of the World Bank Group

    January 1995 – December 1998 Project Manager

    • Projects promotion: identification, investment identification and analysis and project financing. Arrange a US$500 million long-term syndicated loan to Thai Petrochemical Industry Public Company Limited
    • Mobilizing funds: Issue US$180 million worth of US commercial paper for Finance One Public Company Limited. Structure a US$270 million long-term loan to National Finance and Securities Public Company Limited
    • Restructuring: Finance One Public Company Limited under the rehabilitation plan
    • Advising the Authority: Provide a technical assistance to Thai SEC for Futures and Option Market in Thailand, SPV Act for Securitization.

  • Capital Nomura Securities PCL

    January 1994 – December 1995 AVP-Investment Banking

    • Investment Banking Activities: Mobilizing funds and financial advisory services
    • SET listing: Delta Electronics (Thailand) Public Company Limited
    • Fund Raising: Issuing bonds for Supalai Public Company Limited

  • Siam Sanwa Industrial Credit PCL

    January 1992 – December 1994 Assistant Manager

    • Company Research: Finance and Property Sector
    • Economic Research: Macro-economic model and forecast

  • Citibank, Bangkok

    January 1989 – December 1991 Lending Officer

    • Managing clients’ lending portfolios and providing appropriate means and sources of financing for corporate clients


TECHNICAL REFERENCES:

Product Expertise: Siebel

Operating Systems: Sun Solaris, Linux, Windows 2000/NT 4.0

Programming Languages: C, C++, Java, J2EE, JavaScript, etc.


RECOGNITION AND CERTIFICATION:

Siebel Bootcamp, Kuala Lumpur, Malaysia, July 16-August 5, 2000.


KEY SUCCESS STORIES:

  • Managed a combined value of Baht2 billion of assets for a joint venture asset management company of GE Capital and Goldman Sachs. The projects assigned are entitled under the scope of asset valuation, settlements, monitoring and supervision and implementation. Being involved in the formulation of strategic operations and organizational planning of the firm in asset management.
  • Managed financial and investment activities in Indochina region for the International Finance Corporation (IFC), a member of the World Bank Group, regional mission in Bangkok, Thailand. Project promotions are well diversified in terms of industry classification from agribusiness to petrochemicals, from financial services to manufacturing industry (including Oil and Gas). Key developmental roles as part of the technical team from the head quarters in Washington D.C. for the business and technical assessment and due diligence.
  • Structured a US$500 million long-term syndicated loan for TPI PCL, the largest syndicated loan as ever for Thai conglomerate.
  • Issued a “AAA” rating by S&P and Moody’s Commercial Paper for Finance One PCL worth US$180 million.
  • Structured a US$280 million long-term loan for National Finance PCL, the largest and longest maturity loan facilities for second tiered bank.
  • Structured Euro-Yen 90 billion for Phatra Thanakit PCL as part of fund raising program.
  • At the financial crisis, loans restructuring program were conducted and assigned to the mission field in Bangkok for loan rehabilitation: Finance One PCL and TPI PCL.
  • Of the technical skills, assist Thai SEC drafting the Special Purpose Vehicle Act (SPV) and the developmental guidelines for Futures & Option market in Thailand as part of the securitization program.
  • With Capital Nomura Securities, due assigned as an financial advisor for the Initial Public Offering worth of Baht1.5 billion for Delta Electronics (Thailand) PCL to be listed on the SET. Key success under the fund raising program for the clients are to issue convertible debentures for Supalai PCL worth of Baht800 million.
  • With Siam Sanwa Industrial Credit PCL, produce and create quality assured research papers on banking as well as developing econometric model for economic forecasts for Thai economy.


PUBLICATIONS:

  • E-Business Applications and Learning Dynamic, Proceedings, the 6th International Conference in Electronic Commerce Research, Dallas, Texas, U.S.A., October 2003.
  • Technology Acquisition, A Measure of Technology Discontinuities: A Case Study of Thai Technology-based Manufacturing Industry, PICMET’99 Proceedings, Engineering Management, Portland International Conference on Management of Engineering and Technology, P-P357, July 1999.
  • Analysis of Technological Learning for Thai Manufacturing Industry, Technovation, The International Journal of Technological Innovation, Entrepreneurship and Technology Management, Volume 20, Number 4, April 2000.
  • Productivity Growth and Learning Potentials of Thai Industry, Technological Forecasting & Social Change, An International Journal, Volume 64, pp 1-13, 2001.
  • Strategic IT Framework for Modern Enterprise by using Information Technology Capabilities (ITCAP), Proceedings, 2002 IEEE International Engineering Management Conference (IEMC-2002), Cambridge, United Kingdom, 2002.
  • Mobile Commerce: Key Success Factors for WAP services in Thailand, NCEB2002, Bangkok, Thailand, October 24-25, 2002.
  • The Future of Mobile Commerce, Challenges and Lesson Learned, NCEB2002, Bangkok, Thailand, October 24-25, 2002.


ACTIVE MEMBERSHIPS:

IEEE, ACM

CONTACT INFO:

Prasopchoke Pramongkit, Ph.D.
Sun Microsystems (Thailand)
23rd Floor, Sathorn City Tower, 179 South Sathorn Road, Tungmahamek
Bangkok 10120 Thailand
Tel: Office: (+66)-2344-6882 Mobile: (+66)-9 922-8422 Fax: (+66)-23446777
Prasopchoke.pramongkit@sun.com

]]>