<![CDATA[
การเลือกตั้งในเมืองไทยตอนนี้กำลังขับเคี่ยวกันอย่างหนัก ยิ่งโค้งสุดท้ายของการเลือกตั้ง ผู้ลงสมัครเลือกตั้ง และพรรคการเมือง ต่างใช้กลยุทธต่างๆ ในการหาเสียงเพื่อที่จะทำให้ตัวเองและพรรค เป็นที่รู้จักในทุกๆ กลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ และทั่วประเทศ
ปีนี้ทุกพรรคการเมือง ต่างมุ่งทำการประชาสัมพันธ์ลงทุกสื่อ โดยเม็ดเงินมากมายได้ลงไปกับสื่อสิ่งพิมพ์, ป้ายต่างๆ โทรทัศน์ วิทยุ และอินเทอร์เน็ต
สื่ออินเทอร์น็ตคราวนี้เงียบเหงากว่าคราวก่อน
การเลือกตั้งปี 2548 นี้ สื่ออินเทอร์เน็ตดูจะไม่ตื่นเต้นและมีบทบาทเท่ากับ การเลือกตั้งของผู้ว่ากรุงเทพฯ ครั้งที่ผ่านมาเท่าไร เพราะในการเลือกตั้งผู้ว่าฯ ครั้งที่มีผ่านมา ผู้สมัครฯ ชิงตำแหน่งผู้ว่าฯ กรุงเทพฯ หลายๆคน ใช้สื่ออินเทอร็เน็ตเป็นสื่อในการหาเสียงกันมาก โดยจะสามารถเห็นชื่อเว็บไซต์ ของผู้สมัครฯ ปรากฏอยู่ตามแผ่นป้ายโฆษณาหาเสียง หรือสื่ออื่นๆ อยู่เกือบทุกๆ สื่อ และนอกจากการมีเว็บไซต์ของผู้สมัครฯ แล้ว มีผู้สมัครหลายคน ได้ทำมีการทำโฆษณาผ่านสื่อโฆษณาออนไลน์ โดยเลือกลงโฆษณาผ่านเว็บไซต์ หลายๆ แห่ง เพื่อที่จะดึงให้คนเข้าไปดูข้อมูลผู้สมัครหรือนโยบายในเว็บไซต์ของตน ซึ่งถือว่าเป็นการเริ่มต้นการใช้สื่อออนไลน์ในการโฆษณาและหาเสียงสำหรับการเมืองของไทย
มองดูการเลือกตั้งครั้งนี้
การเลือกตั้งคราวนี้ อินเทอร์เน็ตดูจะไม่ค่อยบทบาทมากเท่าไร ในการนำเสนอ ความคิด และนโยบายของแต่ละพรรค ออกไปยังคนทั่วไปซักเท่าไร เพราะสังเกตุได้จาก ไม่ค่อยนำชื่อเว็บไซต์ไปติดร่วมกับสื่อต่างๆ ที่ใช้ลงหาเสียงเท่าไร และการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ผ่านเว็บไซต์อื่นๆ ก็แทบจะไม่ได้เห็นเลย เหมือนกับว่า การเลือกตั้งครั้งนี้ สื่ออินเทอร์เน็ตจะไม่ได้ถูกใช้เลือกเป็นสื่อหลักในการนำเสนอข้อมูลและหาเสียงของแต่ละพรรคเหมือนกับการเลือกตั้งของผู้ว่าฯ กรุงเทพฯ ครั้งที่ผ่านมา แต่พอได้ลองเข้าไปดูเว็บไซต์ของพรรคการเมืองต่างๆ ก็มีการปรับปรุงข้อมูลเว็บไซต์ ไว้รองรับการเลือกตั้งครั้งนี้ ซึ่งสาเหตุที่ไม่ได้มีการนำเว็บไซต์ไปใช้ร่วมกับสื่อต่างๆ อาจจะเกี่ยวข้องกับกลุ่มเป้าหมายของการเลือกตั้งคราวนี้เป็นกลุ่มคนทั่วประเทศ ซึ่งไม่ค่อยใช้อินเทอร์เน็ตเท่าไร แต่จริงๆ แล้วมันก็น่าจะถูกนำมาใช้บ้าง ในพื้นที่ของคนกรุงเทพฯ ที่ๆ มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจำนวนมาก
ข้อดีของการใช้เว็บไซต์เป็นช่องทาง
ข้อดีของเว็บไซต์ในการหาเสียง คือผู้ที่สนใจสามารถเข้ามารับชมข้อมูลของผู้สมัคร, นโยบาย, กิจกรรม และความเคลื่อนของผู้สมัครได้อย่างรวดเร็ว ครบถ้วนและเต็มที่มากกว่าสื่ออื่นๆ เพราะ เว็บไซต์สามารถใส่ข้อมูลต่างๆ ได้อย่างมากมายทั้งในรูปแบบของตัวหนังสือ ภาพและเสียง และยังสามารถใส่ภาพวีดีโอลงไปในเว็บไซต์ได้อีกด้วย และยังเปิดโอกาสให้คนประเทศหรือทั่วโลกสามารถเข้ามาชมข้อมูลได้ตลอดเวลา ซึ่งถือว
าเป็นช่องทางที่ สามารถสื่อสารได้ตรงกับกลุ่มประชาชนที่สนใจได้อย่างง่ายและสะดวก ในการหาข้อมูลเพิ่มเติมของผู้สมัครฯ และพรรคการเมือง
ได้ผลและตรงกลุ่มเป้าหมาย
สำหรับการโฆษณาหาเสียงผ่านทางอินเทอร์เน็ตนั้น หากนำมาใช้จริงๆ จะเป็นช่องทางที่มีประสิทธิภาพมาก เพราะสามารถเข้าตรงถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างดีมาก เพราะเราสามารถเลือกกลุ่มเป้าหมายได้อย่างชัดเจน ว่าต้องการทำการประชาสัมพันธ์ไปยังกลุ่มไหน เพศ หรืออายุเท่าไร และสามารถสื่อสารไปหากลุ่มคนเหล่านั้นผ่านทางอินเทอร์เน็ตด้วยวิธีต่างๆ เช่น เว็บไซต์, อีเมล์, การโฆษณาแบนเนอร์, การทำตลาดแบบไวรัส (Viral Marketing), การตลาดผ่านเสริช์เอ็นจิ้น และวิธีอื่นๆ อีกมากๆ และนอกจากนี้เรายังสามารถนำสื่อดิจิตอล อื่นๆ เข้ามาใช้ร่วมกันได้อีกด้วย เช่น การหาเสียงผ่าน เอสเอ็มเอส (SMS), เอ็มเอ็มเอส (MMS) ซึ่งการโฆษณาประชาสัมพันธ์ในรูปแบบต่างๆ นี้เมื่อเทียบ โฆษณาแบบอื่นๆ อาจจะดูได้ผลคุ้มค่ากว่า เพราะสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่าตรงและชัดเจน ได้ประสิทธิภาพมากกว่าสื่ออื่นๆ
แต่สื่อทางอินเทอร็เน็ตก็อาจจะมีจุดอ่อนบ้าง อย่างที่กล่าวมาในตอนต้น ในด้านการเข้ากลุ่มเป้าหมาย เพราะประชากรใช้อินเทอร์เน็ตในเมืองไทยตอนนี้เกือบ 8 ล้านคน ส่วนใหญ่จะเป็นคนในกรุงเทพและเมืองใหญ่ๆ ซะส่วนใหญ่ และกลุ่มที่ใช้อยู่ส่วนใหญ่ เป็นกลุ่มวัยรุ่น และกลุ่มคนทำงานยุคใหม่ ซึ่งอาจจะไม่สามารถครอบคลุมและเข้าถึงได้ทุกกลุ่มเป้าหมาย แต่หาก พรรคการเมืองหรือผู้สมัครฯ ต้องการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายเหล่านี้ อินเทอร์เน็ตก็ดูเหมือนเป็นช่องทางที่น่าสนใจช่องทางหนึ่งในการนำมาเลือกใช้เป็นวิธีหนึ่งในการเข้าถึงคนเหล่านี้ได้เช่นกัน
ใช้เป็นสื่อในการสร้างกระแส และสร้างข่าวโจมตี
อินเทอร์เน็ตนอกจากใช้เป็นช่องทางในการหาเสียงแล้ว ยังสามารถใช้เป็นช่องในการโจมตีคู่แข่งได้อีกด้วย โดยมีหลายครั้งที่มีการใช้สื่ออินเทอรเน็ตเพื่อเป็นการสร้างกระแสข่าว ปลุกปั้นสร้างข่าวหลอกล่วงต่างๆ หรือนำมาเป็นช่องทางโจมตีคู่แข่ง แต่หากจะใช้จริง ๆ ก็ต้องขอให้คิดให้ดีเพราะสื่ออินเทอร์เน็ต เป็นช่องทางที่สามารถสืบที่มาที่ไปของข้อมูลได้อย่างไม่ยากเย็นนัก ดังนั้นผมว่าอย่าเสี่ยงดีกว่า เอาไปใช้ใน
างสร้างสรรค์ดีกว่าครับ
อนาคตของการหาเสียงผ่านเว็บไซต์
อนาคตการโฆษณาหาเสียง ผ่านทางสื่ออินเทอร์เน็ต กำลังจะเริ่มขยายตัวและนิยมใช้กันมากขึ้น โดยเฉพาะในหลายๆ ประเทศ ได้มีการนำอินเทอร์เน็ตมาใช้เป็นสื่อหลักในการ ประชาสัมพันธ์และหาเสียง เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของตน เพราะอินเทอร์เน็ตจะเริ่มกลายเป็นช่องทางใหม่ในการนำเสนอมุมมองและข้อมูลของผู้สมัครเลือกตั้งได้อย่างดี ครบถ้วน ตรงสู้กลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ทั้งนี้และทั้งนั้นคงต้องระวังถึงเนื้อหาในการนำเสนอ จะต้องไม่เข้าข่าย ผิดกฎหมายเลือกตั้ง ทั้งในแง่เข้าข่ายการสัญญาว่าจะให้ ใส่ร้ายป้ายสี การข่มขู่หรือจูงใจด้วยข้อความอันเป็นเท็จเป็นต้น ซึ่งถึงตอนนั้น กกต. เองก็อาจจะต้องเริ่มเข้ามาดูและตรวจสอบการหาเสียงผ่านอินเทอร์เน็ต กันมากขึ้น และ หากพรรคการเมืองและผู้สมัครฯ สนใจหันมาใช้สื่ออินเทอร์เน็ตกันมากขึ้น ผมเองก็หวังว่าคงจะไม่มีการซื้อเสียงผ่านอินเทอร็เน็ตนะครับ อืม.! หรือว่ามันจะทำได้?
]]>