<![CDATA[การสร้างหน้า “แลนด์ดิ้งเพจ” (Landing Pages)

แลนด์ดิ้งเพจ คือ หน้าเว็บไซต์ที่ได้มีการจัดทำขึ้นไว้พิเศษสำหรับต้อนรับลูกค้าที่คลิกเข้ามาที่หน้านี้ ซึ่งลูกค้าเหล่านั้นอาจจะมาจากโฆษณาที่คุณที่ได้ไปลงไว้ที่เว็บไซต์อื่นๆ โดยในหน้าเว็บไซต์หน้านี้จะมี การเน้น การนำเสนอข้อมูลสินค้าหรือบริการที่ “คุณต้องการให้ลูกค้าซื้อหรือใช้บริการอย่างครบถ้วน” โดยจะมีวิธีการที่และการนำเสนอรูปแบบต่างๆ เพื่อนำไปสู่การปิดการขายอย่างรวดเร็ว ภายในหน้าเดียว”

เจ้าของเว็บไซต์หลายๆ แห่งมักคิดว่า ลูกค้าที่เข้ามาในเว็บไซต์มักจะมีพฤติกรรมการเข้ามาที่เว็บไซต์ในรูปแบบ

1. ลูกค้าเข้ามาที่หน้าแรกของเว็บไซต์ (Home Page)
2. คลิกเลือกจากข้อมูลที่นำเสนอหรือเมนูต่างๆ ในหน้าเว็บไซต์
3. ลูกค้ามาถึงหน้าที่นำเสนอสินค้า หรือบริการ
4. ลูกค้าทำการคลิกซื้อสินค้า

จริงๆ แล้วมัน “อาจจะ” เกิดเป็นขั้นตอนดังกล่าวก็ได้ เมื่อมีลูกค้าเข้ามาในเว็บไซต์ของคุณ แต่จากประสพการณ์ของผม ลูกค้ามักไม่ได้ผ่านเข้ามาจากหน้าแรก (Home Page) ของเว็บไซต์ของคุณเสมอไป บางครั้งเค้าอาจจะ “หลุด” ตรงเข้ามาที่หน้าสินค้าของคุณทันที โดยที่ไม่ได้ผ่านหน้าเว็บไซต์ ต่างๆ ที่คุณได้เตรียมเอาไว้ ซึ่งหมายถึงข้อมูลบางอย่างที่คุณต้องการให้ลูกค้า “รับรู้หรือเห็น” อาจจะตกหล่นและไม่ผ่านสายตาของลูกค้ามาก่อน และอาจจะทำให้การรับข้อมูลของลูกค้าไม่ครบถ้วน และเกิดความไม่เข้าใจ เมื่อลูกค้าได้ตรงเข้ามาสู่หน้าที่ขายสินค้าทันที

จากการศึกษาข้อมูลจากหลายๆ เว็บไซต์ที่ผมได้ทำ พบกว่าลูกค้าส่วนใหญ่มักผ่านเข้าตรงเข้ามาที่หน้าสินค้าทันที จากการค้นหาของ Search Engine ต่างๆ ซึ่งมักนำลูกค้าส่งตรงถึงหน้าที่มีข้อมูลที่ค้นหาทันที ซึ่งหมายความว่าลูกค้าไม่ได้ผ่านมาจากหน้าแรกของเว็บไซต์ และเกือบ 80% ของการเข้าดูเว็บไซต์ส่วนใหญ่ จะเป็นหน้าเว็บอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน้าแรกของเว็บไซต์
ดังนั้นการออกแบบหน้าเว็บไซต์ ในหน้าที่คุณต้องการขายสินค้าให้เป็นแลนด์ดิ้งเพจ นั้น จะช่วยทำให้คุณสามารถนำเสนอข้อมูลสินค้าหรือบริการได้ครบถ้วน ซึ่งจะช่วยทำให้เกิดการซื้อสินค้าจากลูกค้าที่เข้ามายังในหน้าๆ นั้นได้อย่างง่ายมากขึ้น

หลักการออกแบบ แลนด์ดิ้งเพจ

โดยปกติแล้ว หน้าแลนด์ดิ้งเพจ จะเป็นหน้าที่สรุปข้อมูลทั้งหมด ของหน้าที่ต่อเนื่องกับหน้าสินค้าหรือบริการของคุณ รวมเอาไว้ เพื่อเปลี่ยน “ผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์” ให้เป็น “ลูกค้า” ให้เร็วที่สุดในหน้านี้ การออกแบบหน้า แลนด์ดิ้งเพจที่ดีควร ในหน้าที่ต้องการทำควรมีข้อมูลที่เน้นและโฟกัสไปที่ข้อมูลเฉพาะของสิ่งที่ต้องการนำเสนอ โดยเฉพาะ

มีคำถามง่ายๆ ที่คุณจะต้องตอบก่อน ทำหน้าแลนด์ดิ้งเพจ ได้แก่

  • อะไรคือสิ่งที่คุณต้องการนำเสนอ ในหน้าๆนี้ ? (What)
  • ใครคือกลุ่มที่คุณต้องการดึงเค้าเหล่านั้นเข้ามาดู ? (Who)
  • ทำไมเค้าต้องสนใจสิ่งที่คุณนำเสนอ ? (Why)
  • เค้าต้องทำอย่างไร เมื่อต้องการสั่งซื้อหรือติดต่อ ? (How)

เขียนคำตอบทั้งหมด และ พยายามสรุปรวบรวมข้อมูลหลักๆ นำมาสร้างเป็นข้อมูลที่มีแรงจูงใจ เพื่อทำให้ลูกค้าเกิด การตอบสนองการขายอย่างรวดเร็ว

สิ่งที่ควรมีในหน้าแลนด์ดิ้งเพจ

  1.  ใช้คำพูดกระตุ้นและเร้าใจ (Call to Action)
    ควรมีคำพูดที่ตื่นเต้น เพื่อกระตุ้นและสร้างความเร้าใจ ให้คนสนใจ อยู่ด้านบนของหน้าเว็บ และควรจะทำลิงค์ไปยัง หน้าสั่งซื้อสินค้า หรือหน้าสมัครสมาชิก โดยข้อความที่นำมาใช้ได้แก่  “ลดพิเศษ..!” “ด่วน..!” 
  2. ความยาวของหน้าควรพอดีกับสิ่งที่ต้องการนำเสนอ
    ความละเอียดของข้อมูลที่ต้องการนำเสนอ จะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับ ประเภทของสินค้า หรือบริการที่ต้องการนำเสนอ เพราะหากสิ่งที่ต้องการนำเสนอเป็นสิ่งใหม่, ของเฉพาะทาง, ของที่ไม่ค่อยมีคนเข้าใจมากนัก อาจจะต้องอาศัยการอธิบายที่ละเอียดเพื่อสร้าง แรงจูงใจให้ลูกค้าซื้อ แต่ก็ไม่ควรยืดยื้อหรือยาวจนเกินไปนัก 
  3. สร้างหัวข้อที่สร้างความน่าสนใจ
    บางครั้งหากมีข้อมูลมาก คุณอาจจะเขียน หัวข้อหรือข้อความสั้นๆ ตัวใหญ่ๆ เด่นๆ เพื่อสรุปและเป็นหัวข้อให้กับข้อมูลจะนำเสนอ ซึ่งอาจจะมีมากเกินจะอ่านในครั้งเดียว 
  4. ตั้งคำถาม และตอบ
    พยายามใช้การตั้งคำถามที่คนส่วนใหญ่มักจะสนใจ และสร้างคำตอบทื่เชิญชวน เช่น “อยากเพิ่มยอดขายให้กับธุรกิจคุณหรือไม่? ลดราคา 50% – เว็บไซต์อีคอมเมริซ์สำเร็จรูป เปิดตลาดสู่ตลาดโลก ! 
  5. ใช้ภาพเข้าช่วย
    การอ่านเว็บไซต์ส่วนใหญ่ ลูกค้าจะจับสายตากับสิ่งที่ภาพเป็นอย่างแรก ดังนั้นควรจะเลือกภาพที่มีความโดดเด่น หลักๆ 1-2 ภาพ และไม่ความีภาพมากจนเกินไป จนทำให้ทุกภาพดูเด่นไปหมด และบริเวณภาพควรมีข้อมูลที่คุณต้องการสื่อ หรือนำเสนออยู่บริเวณนั้น
  6. มีแบบฟอร์มกรอกข้อมูลผู้ที่สนใจ หรือ ช่องให้ซื้อได้ทันที
    เมื่อมีการกระตุ้น ลูกค้าจนสนใจอยากซื้อสินค้าในขณะนั้นแล้ว การปิดการขายทันที ด้วยปุ่มให้ลูกค้าทำการชำระเงินทันที หรือจะเป็นการขอข้อมุลผู้ที่สนใจเอาไว้ และทำการติดต่อกลับทีหลังด้วยแบบฟอร์ม เพื่อปิดการขายทางโทรศัพท์ (Tele-Sale) จากข้อมูลที่ได้มาก 

             สิ่งสุดท้ายที่คุณจะต้องทำคือการทดสอบหน้าแลนด์ดิ้งเพจของคุณว่า เมื่อมีการนำเสนอต่อลูกค้าแล้ว ความสนใจ เมื่อลูกค้าเข้าสู่หน้านั้นๆ แล้ว เกิดการอยากสั่งซื้อสินค้าในหน้านั้นๆ มากน้อยแค่ไหน โดยอาจจะให้เพื่อนของคุณ เข้ามาดูหน้าเว็บที่ทำเอาไว้ ภายใน 5 วินาที โดยไม่ต้องมีการบอกก่อน ว่าหน้าที่ต้องการให้นำเสนอเกี่ยวกับอะไรบ้าง หลังจากนั้น ถามว่าอะไรคือสิ่งที่เค้าจำได้ในหน้าเว็บไซต์นั้นหลังจากดู อะไรคือสิ่งที่หน้าเว็บหน้านั้นต้องการจะถ่ายทอด หรือสื่อสาร ถ้าเพื่อนของคุณสามารถเข้าใจในสิ่งที่ “สิ่งที่คุณต้องการนำเสนอ” ก็แสดงว่าคุณก็มาถูกทางแล้วครับ

ผมเอาตัวอย่างหน้า Landing Page ของ Wall Street มาให้ดูนะครับ จะเห็นได้ว่าหน้านี้จะพยายามกระตุ้นให้คน สนในใน แคมเปญของ WallStreet และตอนจบ จะมีการกรอกข้อมูลของผู้เข้าเยี่ยมชม เพื่อจะได้ทำการ Tele-Sale โทรกลับไปให้ข้อมูลเพื่อปิดการขายอีกทีครับ

 


แอบชอบ Landing Page นี้ – ตัวหน้าที่กรอกข้อมูลจะ scollor ตามไปด้วย


 ]]>