<![CDATA[
1.3 ล้านล้านบาท (36.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ณ อัตราแลกเปลี่ยนที่ 35 บาท) ตัวเลขมหาศาลนี้ คือมูลค่าคาดการณ์สำหรับโฆษณาออนไลน์ปี 2554 ที่มีแนวโน้มการเติบโตขึ้น 87% ภายใน 5 ปี ระหว่างปี 2550-2554
++++++++++++++++++++++
และถ้าหากมองตัวเลขอัตราการเติบโตใน รอบ 10 ปี หรือ 1 ทศวรรษ มูลค่าโฆษณาออนไลน์ มี 6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อปี 2545 ซึ่งถ้าใช้อัตราแลกเปลี่ยนช่วงปีนั้นคูณ จะตกประมาณ 101,800 ล้านบาท เรียกได้ว่ามูลค่าเติบโตจนต้องจับตามองเป็นพิเศษ และเป็นสิ่งไม่น่าพลาดที่จะโดดเข้ามีส่วนร่วมชิงเค้กขนาดอภิมหามหึมานี้
ตัวเลขข้างต้น แม้จะมีที่มาจากสหรัฐอเมริกา ผู้เป็นต้นแบบความศิวิไลซ์แห่งเทคโนโลยีสมัยใหม่ แต่ อุไรพร ชลสิริรุ่งสกุล กรรมการผู้จัดการ และที่ปรึกษาอาวุโส บริษัท ธอมัสไอเดีย จำกัด บอกว่า เทรนด์ที่เกิดขึ้นที่อเมริกา ไม่นานเกินรอก็ต้องมาสู่ไทย นั่นคืออนาคตของโฆษณาออนไลน์ ย่อมต้องมีบทบาทสูงขึ้นในตลาดไทย
"เชื่อว่าอีกไม่นาน กลุ่มธุรกิจต่างๆ จะต้องใช้ระบบจัดการตลาดออนไลน์ และให้บริการออนไลน์เสมือนเป็นการทำงานปกติขององค์กร โดยเฉพาะเมื่อนักการตลาดได้ตระหนักถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ใช้สื่อออนไลน ์มากขึ้น"
ทั้งนี้ การเติบโตของการใช้สื่อออนไลน์สหรัฐอเมริกา จากปี 2548 ถึง 2549 เติบโตเพิ่มกว่า 30% และยังมีอัตราการเติบโตอย่างไม่หยุดยั้ง ซึ่งการใช้สื่อออนไลน์มีข้อดีที่เงินลงทุนต่ำกว่าเป็นร้อยเท่า ด้วยงบประมาณเท่าๆ กัน ใช้ผ่านสื่ออื่นอาจหมดได้ใน 1 สัปดาห์ หรือ 1 เดือน แต่โฆษณาผ่านสื่อออนไลน์ ผ่านเวบไซต์ ใช้ได้หลายเดือน หรือนานนับปี
เฉพาะการโฆษณาในไทย ผ่านสื่อทีวีคิดค่าออนแอร์นาทีละ 2-3 แสนบาท ซึ่งหากบริษัทมีงบประมาณ 20 ล้านบาท ใช้ไม่ถึง 1 เดือนก็หมด แต่ถ้าเป็นสื่อออนไลน์ งบประมาณเท่านี้อยู่ได้เป็นปี
"แถมโฆษณาผ่านสื่อออนไลน์ ยังมีผลตอบรับทันที เป็นอินเตอร์แอคทีฟ แอดเวอร์ไทซิ่ง ขณะเดียวกัน ก็ยังมีฐานข้อมูลที่มาจากระบบไอทีให้เก็บเกี่ยว นำไปปรับปรุงการลงทุนใหม่ๆ ได้ด้วย เช่น ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่โฆษณาออนไลน์ จะมีข้อมูลความสนใจของผู้เข้าเลือกซื้อหาบ้าน หรือที่อยู่อาศัย ซึ่งจะนำข้อมูลนี้ไปประกอบการตัดสินใจลงทุนต่อ ได้แก่ การเลือกซื้อที่ดินแปลงต่อๆ ไปเพื่อต่อยอดธุรกิจ" อุไรพรบอก
สำหรับประเทศไทย บริษัทห้างร้านที่อยู่ในธุรกิจต่างๆ โดยเฉพาะบริษัทข้ามชาติ และบริษัทที่ต้องการหาลูกค้าต่างประเทศ เริ่มให้ความสนใจสื่อออนไลน์กันมากขึ้น เพราะเป็นช่องทางโฆษณาที่ใช้งบประมาณไม่สูงนัก แถมเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ทั่วโลก
กระทั่งบริษัทไทยๆ หลายแห่ง ก็เริ่มจัดสรรงบประมาณให้สื่อออนไลน์ แม้เป็นตัวเงินไม่สูงนัก เมื่อเทียบกับการใช้เงินผ่านสื่อหลัก แต่ก็แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มที่กำลังเกิดขึ้นว่า สื่อออนไลน์กำลังมา!!!
แถม ณ วันนี้ ยอดใช้จ่ายผ่านสื่อออนไลน์แซงหน้าสื่อวิทยุ ที่เป็นหนึ่งในสื่อหลักไปแล้ว
ส่วนของ "ธอมัสไอเดีย" ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางกลยุทธ์ธุรกิจออนไลน์ เป็นผู้นำด้านการออกแบบและพัฒนาเวบไซต์แถวหน้าของไทย ด้วยพนักงานเฉียด 40 คน ซึ่งกำลังจะครบรอบ 12 ปีของการก่อตั้งเดือนเมษายนนี้ ไม่ยอมตกกระแสธุรกิจ โดยได้ปรับกลยุทธ์ธุรกิจสู่อินเตอร์แอคทีฟ เอเยนซี เน้นให้บริการการตลาดดิจิทัล มาร์เก็ตติ้ง และแน่นอนว่า ต้องเข้าไปมีส่วนร่วมกับการซื้อสื่อโฆษณาออนไลน์ด้วย เป็นการรองรับการเติบโตธุรกิจบนโลกออนไลน์ที่มีแนวโน้มขยายฐานกว้างขึ้นรับก ารแข่งขันรุนแรง
"บริษัทมีเป้าหมายมุ่งให้บริการครบวงจรอย่างแท้จริง เป็นอินเตอร์แอคทีฟ เอเยนซี รับวางแผนกลยุทธ์การทำตลาดออนไลน์ หรือดิจิทัล มาร์เก็ตติ้ง ให้คำปรึกษา นอกเหนือจากการออกแบบพัฒนาเวบไซต์เช่นเดิม เพราะปัจจุบันลูกค้าและบริษัทชั้นนำต่างๆ ได้เล็งเห็นประโยชน์ และความคุ้มค่าของการใช้สื่อออนไลน์ เจาะตลาดคนยุคใหม่ที่ขยายฐานอายุเป็นวงกว้างขึ้น" อุไรพรบอก
ทั้งเพื่อให้สอดรับกับกลยุทธ์ธุรกิจที่วางไว้ ปีนี้บริษัทปรับสัดส่วนรายได้ของบริการให้คำปรึกษาวางกลยุทธ์ออนไลน์ 30% ดิจิทัล มาร์เก็ตติ้ง เป็น 20% และการออกแบบพัฒนาเวบไซต์ 50% จากปีที่ผ่านมา มีสัดส่วน 20-10-70% ตามลำดับ หรือเท่ากับลดสัดส่วนการออกแบบพัฒนาเวบไซต์ที่มีลูกค้าประมาณ 200 บริษัท และเป็นแหล่งรายได้หลักของบริษัทลง
บริษัทตั้งเป้าอัตราการเติบโตปีนี้ 20% ซึ่งลดลงกว่าปีที่ผ่านมาที่เติบโต 30% เพราะสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจทำให้ลูกค้าชะลอการตัดส
นลง แต่ในที่สุดบริษัทขนาดใหญ่ที่วางแผนต้องการรุกตลาดออนไลน์ก็ยังเดินหน้าทำอย ู่ โดยใช้งบลงทุนรายละ 7-10 ล้านบาท ไม่รวมงบซื้อสื่อ มีโอกาสคืนทุนใน 1-1 ปีครึ่ง กระนั้น สื่อออนไลน์วันนี้ก็ปรับราคาสูงขึ้นเช่นกัน
สำหรับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายยังคงเป็นลูกค้าเดิมๆ ที่ให้บริษัทออกแบบและพัฒนาเวบไซต์ให้ และต้องการขยายสู่ออนไลน์มาร์เก็ตติ้ง มีทั้งบริษัทสาขาต่างประเทศ และโรงงานผู้ผลิต กว่า 60 แห่ง
ขณะเดียวกัน บริษัทยังมีลูกค้าต่างประเทศ 10-20% ของลูกค้าทั้งหมด ซึ่งงานที่บริษัทผลิตให้ต่างประเทศ จะมีราคาต่ำกว่าการว่าจ้างงานในต่างประเทศกว่า 20-100% ขึ้นกับเป็นการสร้างงานจากประเทศใด
"บริษัทมีกำไรติดต่อกันทุกปี การลงทุนใหญ่ๆ อยู่ที่คน ซึ่งต้องส่งไปฝึกอบรมที่ต่างประเทศ เพราะถ้าเป็นในไทยนั้น บริษัทชำนาญการมากที่สุด นอกจากนั้นเป็นการลงทุนอาร์แอนด์ดี ที่ต้องรีเสิร์ชเทคโนโลยีใหม่ๆ สม่ำเสมอ หรือใช้งบประมาณ 10-20% ของยอดลงทุนรวม ที่ส่วนใหญ่เป็นค่าซอฟต์แวร์และการฝึกอบรมคน" อุไรพรบอก
]]>