เมื่อคุณอยากจะซื้อสินค้าหรือบริการอะไรซักอย่าง.! หลายครั้งคุณมักจะเลือกเข้าไปหาข้อมูลจากหลายแหล่งที่มาเพื่อประกอบการตัดสินใจใช่ไหมครับ? และแน่นอนส่วนใหญ่คุณก็มักจะนึกถึง “เว็บไซต์ของเจ้าของสินค้า (Brand Site)” เป็นเว็บไซต์แรกๆ ที่จะเข้าไปค้นหาข้อมูล เช่น ผมอยากซื้อโทรศัพท์มือถือของ HTC ผมก็จะเข้าเว็บของ HTC ก่อนเป็นเว็บแรกๆ เพราะคาดว่าจะได้รับข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าที่ถูกต้อง เชื่อถือได้ จากผู้ขายโดยตรง ซึ่งส่วนใหญ่ (ส่วนใหญ่น่ะ) เว็บไซต์ของสินค้า-บริการหรือขององค์กรต่างๆ มักให้ความสำคัญกับการให้ข้อมูลสินค้าและบริการเพียงอย่างเดียว แต่ไม่สามารถทำให้ลูกค้าสามารถสั่งซื้อสินค้าได้ทันที พูดง่ายๆ คือเป็นเว็บไซต์ในรูปแบบเว็บแค็ตตาล๊อก (Catalogue) มากกว่าที่จะเป็นขายสินค้าเต็มรูปแบบ (E-Commerce) ด้วยเหตุผลหลายๆ อย่าง เช่น องค์กรยังไม่มีความพร้อมในการขายสินค้าผ่านเว็บไซต์ หรือบางครั้งองค์กรบางแห่งก็ไม่สามารถขายสินค้าได้โดยตรง เพราะอาจจะไปขายแข่งกับตัวแทนจำหน่ายของตัวเอง ที่มีอยู่ทั่วประเทศ แต่คุณเชื่อไหมว่าเรามีหลายวิธีการที่จะสามารถทำให้เว็บไซต์ของเราสามารถขายสินค้าในรูปแบบวิธีต่างๆ เราลองมาดูกัน
![]() |
เชื่อไหมครับว่าปัจจุบันนี้ เว็บไซต์ขององค์กร หรือสินค้าหลายๆ แห่ง (แต่ยังไม่มาก) เริ่มหันมาสนใจที่อยากจะทำการขายสินค้าออนไลน์ หรือ E-Commerce ของตนเองขึ้นมาเพื่อขยายช่องทางการขายออกไปยังทั่วประเทศ หรือทั่วโลกง่ายๆ ผ่านทางเว็บไซต์ เพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายและสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่ส่วนใหญ่มักมีความต้องการซื้อ สินค้าทางออนไลน์ทันที ดังนั้นจะดีไหมหนอ “หากสินค้าและบริการของคุณสามารถขายสินค้าได้ทันที ที่ลูกค้ามีความต้องการอยากซื้อสินค้า ซึ่งจะสามารถสร้างความพึงพอใจให้กับลุกค้าสุงสุด รวมถึงยอดขายของธุรกิจของคุณได้ทันที”
ผมขอหยิบยกตัวอย่าง กรณีศึกษาของเว็บไซต์ที่มีการเพิ่มการขายสินค้าออนไลน์เข้ามาในเว็บไซต์ได้อย่างน่าสนใจ เช่น กรณีของเว็บไซต์ของทาง Microsoft ที่เมื่อก่อนนี้ ไม่สามารถซื้อสินค้าของ Microsoft ทางออนไลน์ได้เลย หากสนใจจะซื้อ ทาง Microsoft จะมีรายชื่อและเบอร์ติดต่อของตัวแทนที่ขายให้เท่านั้น หากลองมองกลับกัน หากเราเป็นลูกค้า ที่มีความต้องการซื้อสินค้าของ Microsoft ทันที (เพราะ มะรืนนี้จะมีคนมาตรวจซอฟแวร์ลิขสิทธิ์ในบริษัท) แต่พอไปเจอว่า หากจะซื้อต้องไปติดต่อตัวแทนของทาง Microsoft อีกที เราคงเซ็งไม่ใช่น้อย เพราะการซื้อผ่านตัวแทนมันคงใช้เวลาและขั้นตอนไม่ใช่น้อยเลย ซึ่งเราเองก็ต้องการซื้อทันที และอยากซื้อเต็มแก่แล้ว พอมาเจอแบบนี้ อาจจะทำให้การตัดสินใจซื้อสินค้าหายไปได้เช่นกัน
ซึ่งหลังจากที่ทาง Microsoft ได้วิเคราะห์ดูแล้วพบว่า ลูกค้าส่วนใหญ่ที่เข้ามาในเว็บไซต์ ส่วนใหญ่มีความต้องการซื้อซอฟต์แวร์ทันที ดังนั้นทาง Microsoft จึงได้เปิดการขายสินค้าซอฟต์แวร์ของทาง Microsoft ทางออนไลน์ได้ทันที ผ่านเว็บไซต์ http://www.msonlinestore.com ซึ่งหลังจากเปิดตัวก็ได้รับความสนใจจากลูกค้ามากมาย เพราะลูกค้าจะมั่นใจมากกว่า เพราะเค้าได้ซื้อกับเว็บไซต์ของ Microsoft โดยตรง ซึ่งหลังจากที่เปิดให้บริการไปทำให้ Microsoft สามารถสร้างรายได้จากการขายซอฟต์แวร์ผ่านช่องทางๆเว็บไซต์ได้มากขึ้น และเป็นกลุ่มลูกค้ากลุ่มใหม่ ที่อยู่ในพื้นที่ทาง Microsoft ไม่สามารถเข้าถึงได้ในช่องทางปกติ เช่น ลูกค้าในต่างจังหวัด ตำบลไกลๆ ที่ไม่มีตัวแทนสินค้าของ Microsoft ขาย โดยลูกค้าสามารถเลือกชำระเงินผ่านช่องทางออนไลน์ได้แก่ บัตรเครดิต เพย์พาว หรือ เพย์สบาย หรือเคาเตอร์เซอร์วิสได้อย่างง่ายดาย โดยหลังจากที่ทาง Microsoft ได้รับการสั่งซื้อจากเว็บไซต์ ก็ได้ส่งรายการสั่งซื้อนี้ ให้กับ ตัวแทนขายที่มีความพร้อมในการรองรับที่จะส่งสินค้าให้กับลูกค้าที่อยู่ในพื้นที่ๆ ใกล้ที่สุด ซึ่งการค้าในรูปแบบนี้เอง ก็เป็นการช่วยเหลือ และสนับสนุนตัวแทนขายไปได้ด้วยเช่นกัน
สื่อสารผ่านโซเชียลเน็ตมีเดียเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า Facebook และ Twitter
![]() |